กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สารและการจำแนก เวลา 49 ชั่วโมง เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว เวลา 3 ชั่วโมง บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ...1-6...เดือน ....สิงหาคม.....พ.ศ. ....2554............... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1 |
สาระสำคัญ
สารเนื้อเดียวประเภทสารละลายที่มีสารต่างชนิดกันมาผสมกันในการแยกให้บริสุทธิ์ ขึ้นอยู่กับว่าลักษณะองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวชนิดนั้น ซึ่งในการทำให้บริสุทธิ์จะมีวิธีการต่าง ๆ เช่น การระเหยแห้ง การกลั่น การกลั่นลำดับส่วน การตกผลึก โครมาโทกราฟี การสกัดด้วยตัวทำละลาย การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นต้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การกลั่น การตกผลึก การสกัด และโครมาโทกราฟี และนำวิธีการแยกสารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง
ทดลองและสรุปวิธีการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวได้
จุดประสงค์นำทาง
1. ทดลองและสรุปวิธีการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวโดยวิธีโครมาโทกราฟี
ด้วยชอล์กและกระดาษกรองได้
2. บอกหลักการของโครมาโทกราฟีได้
3. สรุปวิธีการแยกสารเนื้อเดียวโดยวิธีกลั่นได้
4. สรุปวิธีการแยกสารเนื้อเดียวโดยวิธีการตกผลึกได้
เนื้อหาสาระ
การแยกสารเนื้อเดียว
สารเนื้อเดียวอาจเป็นสารชนิดเดียวหรือมีองค์ประกอบของสารมากกว่าหนึ่งชนิด แต่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน การแยกสารเนื้อเดียวทำได้หลาย
1. การกลั่น
2. การการตกผลึก
3. การระเหยแห้ง
4. โครมาโทกราฟี
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แนวปฏิบัติในการเรียน
การวัดผลประเมินผล/เกณฑ์การผ่าน วิธีการซ่อมเสริมเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์
2. ครูสนทนากับนักเรียน ทบทวนความรู้เดิมโดยร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังนี้
- นักเรียนคิดว่าสารที่เป็นสารเนื้อเดียวนั้นจะมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกหรือไม่
ถ้ามีจะแยกส่วนประกอบของสารเนื้อเดียวได้อย่างไรบ้าง
3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน ศึกษาใบกิจกรรม เรื่องจะแยกสารเนื้อเดียวได้อย่างไร
มอบหมายหน้าที่กันภายในกลุ่ม วางแผน จัดเตรียมอุปกรณ์ สารเคมี ปฏิบัติกิจกรรมตามรายละเอียดในใบกิจกรรม โดยครูคอยให้คำปรึกษาแนะนำ
4. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อร่วมอภิปรายกับกลุ่มอื่น ๆ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม
5. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว
6. นักเรียนทำใบงาน เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว
7. นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสืออ่านประกอบ อินเตอร์เน็ต จากนั้นจัดทำแผนผัง
ความคิดรวบยอดสรุปเกี่ยวกับการแยกสาร ส่งครูผู้สอน ตรวจสอบความถูกต้อง และให้คะแนน
8. ทดสอบหลังเรียน
9. ตรวจและแจ้งผลการสอบ ซ่อมเสริมนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบกิจกรรม เรื่อง จะแยกสารเนื้อเดียวได้อย่างไร
2. ใบความรู้ เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว
3. ใบงาน เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว
4. หนังสืออ่านเพิ่มเติม
5. ห้องสมุด
6. Internet
การวัดผลประเมินผล
กิจกรรมเสนอแนะ
ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
1 ผลการจัดการเรียนรู้
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................
นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............
2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................
3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................
4 การปรับปรุงและพัฒนา
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................
ลงชื่อ ............................................ผู้สอน
(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)
ครูอัตราจ้าง
ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………….…………………………………………………………………………….……
ลงชื่อ ...................................................
(นางทิพวดี อัครฮาด)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………….…
ลงชื่อ ......................................................
(นายสุชาติ อาจศัตรู)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ใบกิจกรรม
เรื่อง จะแยกสารเนื้อเดียวได้อย่างไร
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิธีการแยกสารเนื้อเดียวโดยวิธีโครมาโทกราฟี
2. บอกหลักการของวิธีโครมาโทกราฟีได้
วัสดุ อุปกรณ์ สารเคมี
รายการ | จำนวน/กลุ่ม |
1. สารละลายสีดำ(ได้จากสีเมจิกหลายสีผสมกัน) 2. ชอล์กสีขาว 3. ไม้จิ้มฟัน 4. กระดาษกรองขนาด 2 cm X 5.5 cm 5. กล่องพลาสติกเบอร์ 1 | 10 cm3 1 แท่ง 1 อัน 1 แผ่น 2 ใบ |
กิจกรรมกลุ่ม
การทดลองชุดที่ 1
1. ใส่หมึกดำลงในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดขนาดสูงประมาณ 6 cm (กล่องเบอร์ 1) โดยให้น้ำหมึกสูงประมาณ 0.5 cm
2. วางแท่งชอล์กลงในกล่องพลาสติก ปิดฝากล่องพลาสติก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที สังเกตและบันทึกผล
การทดลองชุดที่ 2
1. ตัดกระดาษกรองให้เป็นแถบขนาด 2 cm x 5.5 cm ใช้ดินสอขีดเส้นห่างจากปลายล่าง 1 cm
2. ใช้ไม้จิ้มฟันจุ่มสารละลายสีดำ มาจุดบนเส้นดินสอ 1 จุด ดังรูป แล้วติดปลาย
ด้านบนของแถบกระดาษเข้ากับฝา กล่องพลาสติก
3. เติมน้ำลงไปในกล่องพลาสติก ปิดฝากล่องพลาสติก ให้ปลายล่างของกระดาษกรอง
จุ่มในน้ำและให้จุดสีดำอยู่เหนือระดับน้ำ ตั้งทิ้งไว้จนกระทั่งน้ำซึมขึ้นมาเกือบถึงขอบบน ของกระดาษ ยกกระดาษออกจากกล่องพลาสติก ทิ้งไว้ให้แห้ง
4. สังเกตการเปลี่ยนแปลงบนกระดาษกรองในกล่องพลาสติก
จากการทำกิจกรรม ร่วมกันคิดตอบคำถาม
1. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดบนแท่งชอล์กและกระดาษกรองเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
2. หมึกสีดำประกอบด้วยสารอย่างน้อยกี่ชนิด ทราบได้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
3. สรุปผลการแยกสารเนื้อเดียวด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………….
4. ระดมความคิดวิธีการแยกสารเนื้อเดียวด้วยวิธีอื่น นอกจากวิธีโครมาโทกราฟี
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
ใบความรู้
เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว
------------------------------------------------------------------------------------------
สารเนื้อเดียวอาจเป็นสารชนิดเดียวหรือมีองค์ประกอบของสารมากกว่าหนึ่งชนิด แต่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน การแยกสารเนื้อเดียวทำได้หลายวิธี
1. การกลั่น เป็นวิธีการแยกสารเนื้อเดียวที่เป็นของเหลวหลายชนิดผสมกันอยู่ และ
แต่ละชนิดมีจุดเดือดต่างกัน โดยการให้ความร้อน สารที่มีจุดเดือดต่ำจะกลายเป็นไอออกมาก่อน จากนั้นไอจะผ่านไปยังเครื่องควบแน่น เกิดการกลั่นตัวกลายเป็นของเหลว
2. การตกผลึก หมายถึง การที่ตัวถูกละลายซึ่งเป็นของแข็งมีมากเกินจุดอิ่มตัว
ณ อุณหภูมิ นั้นจะแยกตัวออกมาจากสารละลาย การตกผลึกจะเกิดขึ้นเมื่อสารละลายอิ่มตัวมีอุณหภูมิลดลงหรือน้ำบางส่วนของสารละลายอิ่มตัวระเหยออกไป
ผลึก หมายถึง ของแข็งที่มีรูปทรงเลขาคณิต ผิวหน้าเรียบ มีเหลี่ยมมุมเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด
3. การระเหยแห้ง เป็นวิธีการแยกสารให้บริสุทธิ์ซึ่งมักจะเป็นสารละลายที่เกิดจาก
ของแข็งผสมกับของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ เป็นต้น โดยการให้ความร้อนแก่สารผสมดังกล่าวจะทำให้น้ำซึ่งเป็นตัวทำละลายระเหยกลายเป็นไอออกไปหมด จะเหลือของแข็งติดอยู่ด้านล่างภาชนะ
4. โครมาโทกราฟี เป็นวิธีการแยกสารให้บริสุทธิ์ออกจากกัน มักใช้กับสารเนื้อเดียว
ที่มีองค์ประกอบของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปละลายอยู่ในตัวทำละลายเดียวกันโดยอาศัยหลักการที่ว่า “สารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายต่างกันและสามารถเคลื่อนที่บนตัวดูดซับบางชนิดได้ไม่เท่ากัน” จึงทำให้แยกสารแต่ละชนิดออกจากกันได้ การใช้เทคนิควิธีนี้จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ตัวทำละลาย ที่จะทำหน้าที่ละลายองค์ประกอบของสารที่ต้องการแยกได้ เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ เฮกเซน คลอโรฟอร์ม เป็นต้น ตัวดูดซับจะทำหน้าที่ให้สารซึมผ่านได้แก่ กระดาษกรอง ชอล์ก อลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งจากข้อมูลจะพบว่า สารใดที่ละลายได้ดีจะอยู่ไกลจุดศูนย์กลางถูกดูดซับได้น้อย ส่วนสารใดที่ละลายได้ไม่ดีจะอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางถูกดูดซับได้มาก
จากวิธีการใช้โครมาโทกราฟีจะพบว่ามีข้อดี คือ สามารถทดสอบความบริสุทธิ์ได้จากสารที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อย และสารที่ผสมปนกันอยู่หลายชนิดได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดกล่าวคือ ใช้ได้กับสารที่มีสีเท่านั้น ซึ่งถ้ามีสารที่ไม่มีสีปนอยู่ การบอกความบริสุทธิ์อาจไม่ค่อยแน่นอน
ใบงาน
เรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว
---------------------------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. การแยกสารเนื้อเดียวโดยการกลั่น ใช้หลักกการใด…………………………………….
………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………..
2. ของแข็งที่เกิดจากสารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง แล้วลดอุณหภูมิลงเรียกว่าอะไร…….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. จงบอกหลักการแยกสารเนื้อเดียว โดยวิธีโครมาโทกราฟี………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. ชอล์กหรือกระดาษกรองที่นำมาใช้ในวิธีโครมาโทกราฟีทำหน้าที่อย่างไร………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. จงบอกประโยชน์ของการแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี…………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แบบทดสอบก่อน เรียน – หลังเรียน
-------------------------------------------------------------------------------------------
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด แล้วเขียนเครื่องหมาย / ทับตัวอักษร ก ข ค หรือ ง
ลงในกระดาษคำตอบให้ตรงกับข้อที่เลือก
ข้อ1. วิธีใดเป็นการแยกสารเนื้อเดียว
ก. การระเหิด
ข. การกรอง
ค. โครมาโทกราฟี
ง. การใช้แม่เหล็กดูด
ข้อ2. การทำโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ กระดาษทำหน้าที่ใด
ก. เป็นตัวทำละลายของสารที่ต้องการแยก
ข. เป็นทางผ่านของสารที่ต้องการจะแยก ทำให้เคลื่อนที่ไปได้
ค. ดูดซับสารไว้มาก ทำให้สารนั้นเคลื่อนที่ได้ดี และแยกออกมาก่อน
ง. ดูดซับสารไว้มาก ทำให้สารนั้นเคลื่อนที่ได้ช้า จึงเคลื่อนที่ออกมาทีหลัง
ข้อ3. ถ้าต้องการแยกเกลือแกงออกจากสารละลายโซเดียมคลอไรด์จะทำได้ด้วยวิธีใด
ก. กรอง ข. ระเหิด ค. กลั่นลำดับส่วน ง. ระเหยแห้ง
ข้อ4. การระเหยแห้งเป็นวิธีการแยกสารชนิดใด
ก. น้ำหมึก
ข. น้ำกับแอลกอฮอล์
ค. น้ำกับเกลือแกง
ง. สารละลายแอมโมเนีย
ข้อ5. ข้อดีของเทคนิคโครมาโทกราฟี คือ
ก. ใช้สารตัวอย่างเพียงเล็กน้อย
ข. แยกองค์ประกอบต่าง ๆ ในของผสมออกจากกันได้
ค. ทดสอบได้ทั้งปริมาณวิเคราะห์และคุณภาพวิเคราะห์
ง. ทุกข้อที่กล่าวมา
เฉลย แบบทดสอบก่อน เรียน – หลังเรียน
-------------------------------------------------------------------------------------------
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด แล้วเขียนเครื่องหมาย / ทับตัวอักษร ก ข ค หรือ ง
ลงในกระดาษคำตอบให้ตรงกับข้อที่เลือก
ข้อ1. วิธีใดเป็นการแยกสารเนื้อเดียว
จ. การระเหิด
ฉ. การกรอง
ช. โครมาโทกราฟี
ซ. การใช้แม่เหล็กดูด
ข้อ2. การทำโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ กระดาษทำหน้าที่ใด
จ. เป็นตัวทำละลายของสารที่ต้องการแยก
ฉ. เป็นทางผ่านของสารที่ต้องการจะแยก ทำให้เคลื่อนที่ไปได้
ช. ดูดซับสารไว้มาก ทำให้สารนั้นเคลื่อนที่ได้ดี และแยกออกมาก่อน
ซ. ดูดซับสารไว้มาก ทำให้สารนั้นเคลื่อนที่ได้ช้า จึงเคลื่อนที่ออกมาทีหลัง
ข้อ3. ถ้าต้องการแยกเกลือแกงออกจากสารละลายโซเดียมคลอไรด์จะทำได้ด้วยวิธีใด
ก. กรอง ข. ระเหิด ค. กลั่นลำดับส่วน ง. ระเหยแห้ง
ข้อ4. การระเหยแห้งเป็นวิธีการแยกสารชนิดใด
จ. น้ำหมึก
ฉ. น้ำกับแอลกอฮอล์
ช. น้ำกับเกลือแกง
ซ. สารละลายแอมโมเนีย
ข้อ5. ข้อดีของเทคนิคโครมาโทกราฟี คือ
จ. ใช้สารตัวอย่างเพียงเล็กน้อย
ฉ. แยกองค์ประกอบต่าง ๆ ในของผสมออกจากกันได้
ช. ทดสอบได้ทั้งปริมาณวิเคราะห์และคุณภาพวิเคราะห์
ซ. ทุกข้อที่กล่าวมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น