สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้น 3 ต่อ...
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 : เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย และการอธิบายเกี่ยวกับสารพันธุกรรม ในนิวเคลียสที่ควบคุมลักษณะและกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์ 1.2 การสืบค้นข้อมูล การสำรวจและการอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลาน 1.3 การนำความรู้ด้านพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ข้อ 2 2.1 การสำรวจ การสืบค้นข้อมูล และการอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล 2.2 การอภิปรายผลของความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์ และโทษ โดยเฉพาะโรคที่มีผลต่อสังคม | 1.1 อธิบายเกี่ยวกับสารพันธุกรรมในนิวเคลียสที่ควบคุมลักษณะและกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์ได้ 1.2 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานได้ 1.3 นำความรู้ด้านพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ 2.1 อธิบายและวิเคราะห์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่อย่างสมดุลได้ 2.2 อธิบายผลของความหลากหลายทางชีวภาพในท้อง-ถิ่นที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์ และโทษ โดยเฉพาะโรคที่มีผลต่อสังคมได้ |
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การสำรวจ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน วัฏจักรของสาร และการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร | 1.1 ตรวจสอบและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศได้ 1.2 อธิบายและเขียนภาพแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ในด้านการถ่ายทอดพลังงาน วัฏจักรของสาร และการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรได้ |
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การสำรวจ การอภิปราย และการวิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น 1.2 การอภิปรายแนวคิดในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลรักษาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม | 1.1 ตรวจสอบปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้ 1.2 นำเสนอแนวคิดในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ 1.3 ลงมือปฏิบัติในการดูแลรักษาและแก้ปัญหาสิ่งแวด ล้อมในท้องถิ่นได้ |
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การสังเกต และการอภิปรายสมบัติต่างๆ ของสาร 1.2 การทดลอง การอภิปราย และการจำแนกความแตกต่างระหว่างสมบัติ และลักษณะเนื้อสารของสารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม สารแขวนลอย และสารละลาย ข้อ 2 2.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายความแตกต่างของสมบัติของสารทั้งสามสถานะ จากการจัดเรียงและการเคลื่อนไหวของอนุภาคของสาร 2.2 การอธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจำลอง ( model ) หรือสถานการณ์จำลอง ข้อ 3 3.1 การทดสอบความเป็นกรด – เบส ของสารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์ 3.2 การอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างค่า pH กับระดับความเป็นกรด – เบสของสารละลาย 3.3 การทดลองและการอภิปราย สมบัติของสารละลายกรด – เบส และการนำความรู้เกี่ยวกับกรด – เบสไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน | 1.1 ทดลองและอธิบายสมบัติต่าง ๆ ของสารได้ 1.2 อธิบายและจำแนกความแตกต่างระหว่างสมบัติของสารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม สารแขวนลอย และสารละลายได้ 2.1 อธิบายความแตกต่างของสมบัติของสารทั้งสามสถานะ จากการจัดเรียงและการเคลื่อนไหวของอนุภาคของสารได้ 2.2 อธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจำลองหรือสถานการณ์จำลองได้ 3.1 ทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายโดยใช้ อินดิเคเตอร์ได้ 3.2 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่า pH กับระดับความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย 3.3 ทดลอง และอธิบายสมบัติของสารละลายกรด-เบสและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ |
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 4 4.1 การอภิปรายและการเปรียบเทียบองค์ประกอบและ สมบัติของธาตุ และสารประกอบ 4.2 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย สมบัติของธาตุ -กัมมันตรังสี ธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ 4.3 การอภิปรายประโยชน์ของการนำธาตุต่าง ๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ข้อ 5 5.1 การอภิปรายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การกลั่น การตกผลึก การสกัด และโครมาโทรกราฟี่ 5.2 การทดลอง แยกสารบางชนิดด้วยวิธีการที่เหมาะสม 5.3 การอภิปราย การนำวิธีการแยกสารไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม | 4.1 อธิบายองค์ประกอบและสมบิติของธาตุและสาร-ประกอบได้ 4.2 อธิบายสมบัติของธาตุกัมมันตรังสี ธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะได้ 4.3 อธิบายประโยชน์ของการนำธาตุ และสารประกอบต่าง ๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 5.1 ทดลอง และอธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการกลั่น การกรอง การตกผลึก และโครมาโทกราฟี่ได้ 5.2 ทดลองสกัดสารบางชนิดตามความสนใจได้ 5.3 ตัดสินใจเลือกวิธีการแยกสารไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมได้ |
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย
การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การอธิบายความหมายของปริมาณทางฟิสิกส์ 1.2 การทดลอง และการอภิปรายหาแรงลัพธ์ของแรง หลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกัน ข้อ 2 2.1 การทดลองและการอภิปรายผลของแรงลัพธ์ที่ทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์นั้น | 1.1 อธิบายความหมายของปริมาณทางฟิสิกส์ได้ 1.2 ทดลองและอธิบายวิธีหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกันได้ 2.1 ทดลอง และอธิบายผลของแรงลัพธ์ที่ทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ได้ |
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การทดลองและการอภิปรายเกี่ยวกับแรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในเชิงคุณภาพ 1.2 การอภิปรายวิธีการเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ข้อ 2 2.1 การทดลอง และการอภิปรายหลักการของโมเมนต์ 2.2 การวิเคราะห์โมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ 2.3 การคำนวณโมเมนต์ และการนำความรู้เรื่องโมเมนต์ไปใช้ประโยชน์ ข้อ 3 3.1 การสังเกตการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน 3.2 การอธิบายผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุและลักษณะการเคลื่อนที่รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ | 1.1 ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับแรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในเชิงคุณภาพได้ 1.2 อธิบายวิธีการเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมได้ 2.1 ทดลองและอธิบายหลักการของโมเมนต์ได้ 2.2 วิเคราะห์โมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ 2.3 คำนวณโมเมนต์และนำความรู้เรื่องโมเมนต์ไปใช้ประโยชน์ได้ 3.1 อธิบายการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ 3.2 อธิบายผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุในสถานการณ์ ต่าง ๆ และยกตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์ได้ |
สาระที่ 5 : พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การอธิบายความหมายของงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ และกฎการอนุรักษ์พลังงาน 1.2 การอภิปรายประโยชน์ของพลังงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ข้อ 2 2.2 การสังเกต และการวัดอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ 2.3 การอธิบายความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับระดับหรือสภาพความร้อนในวัตถุ ข้อ 3 3.1 การทดลองและการอภิปรายการถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยการนำ การพา และการแผ่รังสี 3.2 การนำความรู้เรื่องการถ่ายโอนพลังงานความร้อน ไปใช้ประโยชน์ ข้อ 4 4.1 การทดลอง และการอภิปรายการดูดกลืนแสงและการคายความร้อนของวัตถุต่าง ๆ การสืบค้นข้อมูล และการนำความรู้เรื่องการดูดกลืน แสงและการคายความร้อนไปออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ ในกิจกรรมต่าง ๆ | 1.1 อธิบายความหมายของงาน พลังงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ และกฎการอนุรักษ์พลังงานได้ 1.2 อธิบาย และยกตัวอย่าง ประโยชน์ของพลังงานที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2.4 ทดลองและสรุปการวัดอุณหภูมิของสิ่งต่างๆ ได้ 2.5 อธิบายความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับระดับหรือสภาพความร้อนในวัตถุได้ 3.1 ทดลองและอธิบายเรื่องการถ่ายโอนพลังงานความ-ร้อน โดยการนำ การพา และการแผ่รังสีได้ 3.2 นำความรู้เรื่องการถ่ายโอนพลังงานความร้อนไปใช้ประโยชน์ได้ 4.1 ทดลอง และสรุปการดูดกลืนแสง และการคายความร้อนของวัตถุต่างๆ ได้ 4.2 อธิบายและนำความรู้เรื่องการดูดกลืนแสงและการคายความร้อนไปออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ |
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 5 5.1 การทดลอง และการอธิบายสมดุลความร้อน ผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ และ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ข้อ 6 6.1 การทดลองและการอภิปรายสมบัติการสะท้อน และการหักเหของแสง 6.2 การอธิบาย และการคำนวณการเกิดภาพของวัตถุ และการนำความรู้เรื่องการเกิดภาพไปใช้ประโยชน์ ข้อ 7 7.1 การอภิปรายผลของความเข้มของแสงต่อนัยน์ตามนุษย์ และผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ข้อ 8 8.1 การทดลอง และการอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานและการคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้อง ข้อ 9 1.1 การคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ ในชีวิตประจำวัน 1.2 การสืบค้นข้อมูล การอภิปรายเปรียบเทียบ และการ เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม | 5.1 ทดลอง และอธิบายสมดุลความร้อน และผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ 5.2 อธิบายและนำความรู้เรื่องผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ 6.1 ทดลองและอธิบายสมบัติการสะท้อน และการหักเหของแสงได้ 6.2 อธิบายการเกิดภาพของวัตถุและคำนวณค่าตัวแปร ที่เกี่ยวข้องได้ 6.3 นำความรู้เรื่องการเกิดภาพไปใช้ประโยชน์ได้ 7.1 อธิบาย ผลของความเข้มของแสงต่อนัยน์ตามนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆได้ 8.1 ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และคำนวณค่า ปริมาณที่เกี่ยวข้องได้ 9.1 คำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 9.2 อธิบาย เปรียบเทียบ และเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสมได้ |
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 10 10.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายหลักการต่อ วงจรไฟฟ้าในบ้าน การออกแบบและติดตั้งอย่าง ถูกต้อง ปลอดภัย และการนำไปใช้ประโยชน์ ข้อ 11 11.1 การทดลองและการอภิปรายสมบัติเบื้องต้นของชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์บางชนิด เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ไอซี และทรานซิสเตอร์ 11.2 การประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น และ การนำไปใช้ประโยชน์ | 10.1 อธิบายหลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านได้ 10.2 ออกแบบและติดตั้งวงจรไฟฟ้าในบ้านอย่างถูกต้อง และปลอดภัยได้ 11.1 ทดลองและอธิบายสมบัติเบื้องต้นของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ไอซี และทรานซิสเตอร์ได้ 11.2 ประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นอย่างถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้ |
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย และการอธิบาย ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ 1.2 การนำเสนอ และการอภิปรายผลของปฏิสัมพันธ์ใน ระบบสุริยะต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก ข้อ 2 2.1 การสังเกต การอภิปราย และการอธิบายลักษณะ กลุ่มดาวฤกษ์ และการนำความรู้เรื่องกลุ่มดาวฤกษ์ ไปใช้ประโยชน์ | 1.1 อธิบายปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะได้ 1.2 อธิบายผลของปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ 2.1 จำแนกความแตกต่างของกลุ่มดาวฤกษ์ได้ 2.2 นำเสนอประโยชน์จากกลุ่มดาวฤกษ์ได้ |
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.2 : เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ ทรัพยากรธรรมชาติด้านการเกษตร และการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย และการอธิบายความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศที่ใช้สำรวจอวกาศ วัตถุท้องฟ้า สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ในการสื่อสาร | 1.1 อธิบายและนำเสนอความก้าวหน้าของเทคโนโลยี-อวกาศ ที่ใช้สำรวจอวกาศ วัตถุท้องฟ้า สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ในการสื่อสารได้ |
สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 : ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 1 1.1 การตั้งคำถามที่กำหนดประเด็น หรือตัวแปรที่สำคัญ ในการตรวจสอบจากเรื่องที่ศึกษา หรือ ที่สนใจได้ อย่างครอบคลุม ข้อ 2 2.1 การสร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ 2.2 การวางแผนเพื่อการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี ข้อ 3 3.1 การเลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบที่ได้ผล เที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือและวัสดุที่ เหมาะสม ข้อ 4 4.1 การเก็บข้อมูล และการจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ | 1.1 ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการตรวจสอบจากเรื่องที่ศึกษาหรือ ที่สนใจได้อย่างครอบคลุมได้ 2.1 สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบจากเรื่องที่ ศึกษาหรือเรื่องที่สนใจได้ 2.2 วางแผนเพื่อทำการทดลองหรือตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้หลาย ๆ วิธีได้ 3.1 เลือกวิธีเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบที่ได้ผล เที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือและวัสดุที่ เหมาะสมได้ 4.1 เก็บข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ได้ |
สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค |
ข้อ 5 5.1 การวิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนและขัดแย้งกับสมมติฐาน ข้อ 6 6.1 การสร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบที่อธิบายผลหรือแสดงผลการสำรวจตรวจสอบ ข้อ 7 7.1 การสร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง 7.2 การนำความรู้ที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์ใหม่ ๆ ข้อ 8 8.1 การบันทึก และการอธิบายผลการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ 8.2 การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการนำเสนอข้อมูล 8.3 การยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม ข้อ 9 9.1 การจัดแสดงผลงาน การเขียนรายงาน และ/หรือการ อธิบาย เกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของชิ้นงานให้ผู้ อื่นเข้าใจ | 5.1 วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนและขัดแย้งกับสมมติฐานได้ 6.1 การสร้างแบบจำลองหรือรูปแบบที่อธิบายผลหรือแสดงผลการสำรวจตรวจสอบได้ 7.1 สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ 7.3 การนำความรู้ที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์ ใหม่ ๆ ได้ 8.1 บันทึกและอธิบายผลจากการสังเกต การสำรวจตรวจสอบได้ 8.2 การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และนำเสนอข้อมูลได้ 8.3 ยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม 9.1 จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรือ อธิบาย เกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผล ของชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น