กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานภาคเรียนที่1/2552 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สารและการจำแนก เวลา 49 ชั่วโมง เรื่อง ความหมายและสมบัติของสาร เวลา 3 ชั่วโมง บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ..7-11..เดือน .....มิถุนายน.....พ.ศ. .........2554........ โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู 1 |
สาระสำคัญ
สารรอบตัวเรามีจำนวนมากมาย แต่ละชนิดอาจมีสมบัติบางอย่างเหมือนกัน หรือสมบัติบางอย่างต่างกัน สมบัติของสารจึงเป็นลักษณะประจำตัวเฉพาะของสารแต่ละชนิดที่จะบอกให้เราทราบว่า สารนั้นเป็นอย่างไร จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมบัติทางกายภาพ เป็นลักษณะที่สังเกตเห็นภายนอกได้ ตรวจสอบได้ด้วยการ
สังเกตหรือตรวจสอบด้วยเครื่องมือและการทดลองง่าย ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี
2. สมบัติทางเคมี เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในของสาร ตรวจสอบได้
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สังเกต สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์ อภิปรายสมบัติต่าง ๆ ของสาร จำแนกสารออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามเนื้อสารหรือขนาดของอนุภาค
จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง
สรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารได้
จุดประสงค์นำทาง
1. บอกความหมายของสสารและสารได้
2. อธิบายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของสารได้
3. อธิบายเกี่ยวกับสมบัติทางเคมีของสารได้
เนื้อหาสาระ
สสาร (Matter) หมายถึงสิ่งที่มีมวล มีตัวตน ต้องการที่อยู่ และสามารถสัมผัสได้ มีทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่นมนุษย์ พืช สัตว์ รถยนต์โต๊ะ เก้าฮิ้ อากาศ เป็นต้น
สาร หมาย หมาถึง องค์ประกอบของสสารที่ สสารบางชนิดอาจจะประกอบด้วยสารมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งเราสามารถตรวจสอบหรือทดสอบจนทราบ คุณสมบัติและองค์ประกอบของสารที่เป็นสารองค์ประกอบ
สมบัติของสาร คือลักษณะเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด ซึ่งสามารถจำแนกสมบัติของสารได้ 2 ประเภท
1. สมบัติทางกายภาพ เป็นลักษณะที่สังเกตเห็นภายนอกได้ ตรวจสอบได้ด้วยการสังเกต หรือตรวจสอบด้วยเครื่องมือและการทดลองง่าย ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย ลักษณะเนื้อสาร ความแข็ง ความหนาแน่น การนำไฟฟ้า ลักษณะผลึก จุดเดือด เป็นต้น เมื่อสมบัติทางกายภาพเปลี่ยนไปเราเรียกการเปลี่ยนแปลนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
2.สมบัติทางเคมี เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในของสาร สามารถตรวจสอบได้โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น การติดไฟ การเผาไหม้ การระเบิด ความเป็นกรด – เบส การสลายตัวได้สารใหม่ การบูดเน่าของเศษอาหาร และการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับสารชนิดอื่น ๆ เป็นต้น
เมื่อสมบัติทางเคมีเปลี่ยนไปเราเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การวัดผลประเมินผล เกณฑ์
การผ่าน วิธีการซ่อมเสริมเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์
2. ทดสอบก่อนเรียน
3. ครูสนทนากับนักเรียน โดยให้นักเรียนมองรอบ ๆ ตัวเรา จะพบเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายเช่น คน ต้นไม้สีเขียว โต๊ะ เก้าอี้ พัดลม กระดานดำ หลอดไฟ ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เรารับรู้ได้ว่ามีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สสาร
4. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของสสาร โดยครูใช้คำถามนำดังนี้
- นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า อากาศรอบ ๆ ตัวเราเป็นสสารหรือไม่
- ถ้าอากาศเป็นสสาร จะทราบได้อย่างไรว่าอากาศต้องการที่อยู่
- เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อากาศมีมวล
- อากาศสัมผัสได้หรือไม่
1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน ศึกษาใบกิจกรรม เรื่อง ลักษณะสำคัญของสสาร
ปฏิบัติกิจกรรมตามรายละเอียดในใบกิจกรรม วางแผน เตรียมอุปกรณ์ แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม โดยครูคอยให้คำปรึกษาแนะนำ
2. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อร่วมอภิปรายกับกลุ่มอื่น ๆ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปลักษณะสำคัญของสสาร ได้ว่า
1. สสารต้องการที่อยู่
จากกิจกรรมที่ 1 ผ้าเช็ดหน้าที่อัดลงในแก้วไม่เปียกน้ำ เพราะอากาศในแก้วต้องการ
ที่อยู่ จึงดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้ว ผ้าเช็ดหน้าจึงไม่เปียกน้ำ
2. สสารมีมวล
กิจกรรมที่ 2 เมื่อเป่าอากาศเข้าไปในลูกโป่งแล้วนำมาผูกที่ปลายคานเช่นเดิม เราจะ
เห็นว่าคานจะไม่สมดุล คานด้านที่ผูกลูกโป่งที่เป่าให้พองจะเอียงลง นั่นคืออากาศในลูกโป่งมีมวล จึงทำให้คานเอียงลง
3. สสารสามารถสัมผัสได้
กิจกรรมที่ 3 อากาศสามารถสัมผัสได้ จากการที่ลองโบกมือไปมา จะรู้สึกเย็น
3. นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างสสารที่นักเรียนรู้จัก จากนั้นนักเรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับสมบัติของสาร บางชนิดมีประโยชน์ บางชนิดมีโทษ เราจำเป็นต้องศึกษาสมบัติของสาร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อการดำเนินชีวิตของเราและเพื่อจะได้ใช้สารให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่เกิดผลเสียต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง สมบัติของสาร
5. นักเรียนสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับสมบัติของสาร จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม หรือจาก
อินเทอร์เนต แต่ละคนจัดทำแผนผังความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสมบัติของสาร ส่งครู
6. ทดสอบหลังเรียน
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบกิจกรรม เรื่อง ลักษณะสำคัญของสสาร
2. ใบความรู้ เรื่อง สมบัติของสาร
3. หนังสืออ่านเพิ่มเติม
4. Internet
5. Powerpoint
การวัดผลประเมินผล
กิจกรรมเสนอแนะ
ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
1 ผลการจัดการเรียนรู้
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................
นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............
2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................
4 การปรับปรุงและพัฒนา
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................
ชื่อ ............................................ผู้สอน
(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)
ครูอัตราจ้าง
ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..…………………....................................................................................................................
ลงชื่อ ............................................
(นางทิพวดี อัครฮาด)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………………….………
ลงชื่อ ............................................
(นายสุชาติ อาจศัตรู)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ใบความรู้
เรื่อง สมบัติของสาร
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความหมายของสารและสสาร
สสารคือ สิ่งต่าง ๆ ที่มีตัวตน มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้
จากลักษณะที่สำคัญของสสารจะพบว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นจะเป็นภาพหรือคำรวม ๆ ของสิ่งที่เรียกว่า สาร ซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีชื่อเรียกต่างกันไปมีองค์ประกอบ ลักษณะภายนอก สมบัติที่ไม่เหมือนกัน
ตาราง ตัวอย่างสสารต่าง ๆ และสารที่เป็นองค์ประกอบ
สสาร | สารที่เป็นองค์ประกอบ |
เหล็ก | เหล็ก |
เพชร | เพชร |
โต๊ะ - เก้าอี้ | ไม้ + เหล็ก + (ตะปู) |
น้ำเกลือ | น้ำ + เกลือ |
ในชีวิตประจำวันของเรามีสารเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ บางชนิดมีประโยชน์ บางชนิดมีโทษ เราจึงจำเป็นต้องศึกษาสมบัติของสาร เพื่อการนำมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อการดำเนินชีวิตของเราและเพื่อจะได้ใช้สารให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ก่อผลเสียต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ใบความรู้
สารและสมบัติของสาร
สิ่งต่าง ๆที่อยู่รอบตัวเราจัดว่าเป็นสสาร ( Matter ) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีมวลสัมผัสได้โดยใช้ประสาทสัมผัส เช่น น้ำ อากาศ ดิน หิน ไม้ ทราย เป็นต้น ส่วนสารหมายถึงเนื้อของสารที่นำมาศึกษาหรือสิ่งที่นำมาศึกษา ดังนั้นจึงใช้คำว่าสารแทนสสารได้
สมบัติของสาร หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิดที่สามารถบ่งบอกว่าสารชนิดนั้น คืออะไรซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีสมบัติของสารที่สังเกตเห็นได้หลายประการ เช่น สี กลิ่น รส สถานะ เนื้อสาร สมบัติบางประการของสารต้องใช้เครื่องมือในการสังเกตจึงจะทราบ เช่น ความสามารถในการนำไฟฟ้า ความสามารถในการละลาย ความเป็นกรด – เบส จุดหลอมเหลว จุดเดือด ความหนาแน่น เป็นต้น เมื่อสารแต่ละชนิด มีสมบัติหลายประการ ดังนั้นสมบัติบางประการของสารชนิดหนึ่งอาจเหมือนสารชนิดอื่นได้ แต่จะมีสมบัติบางประการที่เป็นสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างจากสารอื่น เช่น น้ำเป็นของเหลวใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี จุดเดือด 100 0C ส่วนเอทานอลเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน มีจุดเดือด 78.5 0C ดังนั้นสมบัติเฉพาะตัวของเอทานอลที่แตกต่างจากน้ำ คือมีกลิ่นฉุน และมีจุดเดือด 78.5 0C
สมบัติของสารจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. สมบัติทางกายภาพ ( Physical properties ) สมบัติทางกายภาพเป็นสมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือใช้เครื่องมือง่าย ๆในการสังเกต ซึ่งเป็นสมบัติไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เช่น สี กลิ่น รส สถานะ ลักษณะของรูปผลึก ความหนาแน่น การนำไฟฟ้า การละลาย จุดหลอมเหลว จุดเดือด ตัวอย่าง เช่น
สาร | สมบัติทางกายภาพ |
ทองแดง กำมะถัน ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู | เป็นของแข็ง สีแดงส้ม ของแข็ง สีเหลือง เป็นของแข็ง สีม่วงปนแดง เป็นของเหลว ไม่มีสีมีกลิ่นฉุน |
ตารางสมบัติทางกายภาพของสาร
สาร | สมบัตทางกายภาพ | |||||
สถานะ | สีลักษณะภานนอก | ความแข็งหรือความเหนียว | การนำไฟฟ้า | จุดหลอมเหลว(c) | จุดเดือด (c) | |
เหล็ก | ของแข็ง | สีเงิน มันวาว | แข็งและเหนียว | นำ | 1,538 | 2,861 |
กำมะถัน | ของแข็ง | สีเหลือง | แข็งและเปราะ | ไม่นำ | 120 | 445 |
โซเดียม | ของแข็ง | สีเงิน มันวาว | อ่อนและเหนียว | นำ | 98 | 883 |
ซิลิกอน | ของแข็ง | สีเงิน มันวาว | แข็งและเปราะ | นำเล็กน้อย | 1,414 | 3,265 |
ปรอท | ของเหลว | สีเงิน มันวาว | - | นำ | -39 | 357 |
โบรมีน | ของเหลว | สีแดงส้ม | - | ไม่นำ | -7 | 59 |
ไฮโดเจน | ก๊าซ | ไม่มีสี | - | ไม่นำ | -259 | -253 |
ออกซิเจน | ก๊าซ | ไม่มีสี | - | ไม่นำ | -219 | -183 |
คลอรีน | ก๊าซ | สีเขียวตองอ่อน | - | ไม่นำ | -102 | -35 |
2. สมบัติทางเคมี ( Chemical Properties ) สมบัติทางเคมีเป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างภายในของสาร เป็นสมบัติที่สังเกตได้เมื่อปฏิกิริยาเกิดขึ้น เช่น ความเป็นกรด – เบส การเกิดสนิม ความเป็นโลหะ – อโลหะ เป็นต้น
ตาราง 2 แสดงสมบัติทางเคมีของสารบางชนิด
สารประกอบ | สมบัติทางเคมี ( ความเป็นกรด – เบส ) | |
ชื่อสามัญ | ชื่อเคมี | |
เกลือแกง น้ำตาลทราย ดินประสิว น้ำตาลกลูโคส โซดาซักผ้า โซดาแผดเผา โซดาน้ำนม น้ำปูนใส ปูนขาว หินอ่อน กรดน้ำส้ม กรดดินประสิว กรดกำมะถัน กรดเกลือ กรดมด ผงชูรส ลูกเหม็น | โซเดียมคลอไรด์ ซูโคส โพแทสเซียมไนเตรต กลูโคส โซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต แคลเซียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมออกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต กรดแอซีติก กรดไนตริก กรดซัลฟิวริก กรดไฮโดรคลอริก กรดฟอร์มิค โซเดียมกลูตาเมต แนพทาลีน | กลาง กลาง กลาง กลาง เบส เบส เบส เบส เบส กลาง กรด กรด กรด กรด กรด กลาง กลาง |
ใบกิจกรรม
เรื่อง ลักษณะสำคัญของสสาร
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญของสสาร
กิจกรรมที่ 1 สสารต้องการที่อยู่
ให้แต่ละกลุ่มศึกษาและทำการทดลองในประเด็นดังนี้
1. เราสามารถวัดได้ว่า สสารแต่ละชนิด ต้องการที่อยู่เท่าใด โดยการบอกเป็นปริมาตรของสสารชนิดนั้น เช่น น้ำหนึ่งแก้ว ข้าวหนึ่งถ้วย
2. นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า อากาศรอบ ๆ ตัวเรา เป็นสสารหรือไม่ ถ้าอากาศ
เป็นสสาร จะทราบได้อย่างไรว่าอากาศต้องการที่อยู่
3. เตรียมแก้วน้ำ 1 ใบ ใส่ผ้าเช็ดหน้าอัดลงไปในก้นแก้วให้แน่น แล้วคว่ำลงใน
กล่องที่ใส่น้ำ แล้วสังเกตผล
กิจกรรมที่ 2 สสารมีมวล
ให้แต่ละกลุ่มศึกษาและทำการทดลองในประเด็นดังนี้
1. เราสามารถวัดมวลของสสารหรือน้ำหนักของสสารได้เสมอ เช่น เราสามารถ
ชั่งน้ำหนักของหนังสือ ผลไม้ น้ำหนักของตัวเรา ฯลฯ
2. นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่า อากาศมีมวล
3. นำลูกโป่งที่ยังไม่เป่าสองลูก ผูกเชือกไว้ที่ปลายคานสองข้าง จากนั้นนำลูกโป่ง
4. ข้างหนึ่งไปเป่าลมเข้าไป แล้วนำมาผูกใหม่สังเกตผลดูว่า จะเป็นอย่างไร
กิจกรรมที่ 3 สสารสามารถสัมผัสได้
ให้แต่ละกลุ่มศึกษาและทำการทดลองในประเด็นดังนี้
1. เราสามารถใช้ประสาทสัมผัสสสารได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ หนังสือ ล้วนแล้วแต่มีตัวตน สามารถสัมผัสได้
2. นักเรียนลองโบกมือไปมา จะรู้สึกอย่างไร สัมผัสอากาศได้หรือไม่ อย่างไร
ใบงาน
ชื่องาน การวิเคราะห์สิ่งที่จัดว่าเป็นสาร
คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาสิ่งที่กำหนดให้ในตารางแล้ววิเคราะห์ว่าข้อใดจัดเป็นสาร โดยเขียน เครื่องหมาย ( P) ลงในช่องว่างที่ตรงกับความเข้าใจของนักเรียน
สิ่งที่กำหนดให้ | สาร | ไม่ใช่สาร |
1. นม 2. ควันธูป 3. เสียงนกหวีด 4. ตั๊กแตน 5. แสงแดด 6. น้ำ 7. ความร้อน 8. เก้าอี้ 9. ต้นไม้ 10. เสื้อผ้า 11. เสียงแตรรถยนต์ 12. ปากกา | | |
เฉลยใบงาน
ชื่องาน การวิเคราะห์สิ่งที่จัดว่าเป็นสาร
คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาสิ่งที่กำหนดให้ในตารางแล้ววิเคราะห์ว่าข้อใดจัดเป็นสาร โดยเขียน เครื่องหมาย ( P ) ลงในช่องว่างที่ตรงกับความเข้าใจของนักเรียน
สิ่งที่กำหนดให้ | สาร | ไม่ใช่สาร |
1. นม 2. ควันธูป 3. เสียงนกหวีด 4. ตั๊กแตน 5. แสงแดด 6. น้ำ 7. ความร้อน 8. เก้าอี้ 9. ต้นไม้ 10. เสื้อผ้า 11. เสียงแตรรถยนต์ 12. ปากกา | P P P P P P P | P P P P P |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น