วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเรียนแบบร่วมมือในวิชาวิทยาศาสตร์

                                                         การเรียนแบบร่วมมือในวิชาวิทยาศาสตร์

เป็นรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนร่วมมือกัน รูปแบบการสอนที่สำคัญและจำเป็นในการสอนวิทยาศาสตร์ดังนี้

1. การทำงานในชีวิตจริง เป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่น ในห้องเรียน ผู้เรียนควรมีโอกาสได้ฝึกการทำงานแบบร่วมมือกันเพื่อเป็นการเตรียมผู้เรียนให้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น

2. การทำงานเป็นทีม เป็นลักษณะหนึ่งของการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจึงควรมีประสบบการณ์ในการร่วมมือทำงานกับผู้อื่น

3. การเรียนแบบร่วมมือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกคน และต้องลงมือทำงานกับเพื่อนสมาชิกอย่างจริงจัง นับว่าเป็นการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่ง

4. การเรียนแบบร่วมมือทำให้ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และช่วยกันทำความเข้าใจสิ่งที่เรียน เป็นวิธีการทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง

5. การเรียนแบบร่วมมือ อาจจัดเป็นกิจกรรมย่อยของวิธีสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ ได้เป็น

อย่างดี

ขั้นตอนการเรียนแบบร่วมมือ

ในแต่ละกลุ่มมีขั้นตอนในการเรียนโดยใช้เวลาเรียนแต่ละครั้งประมาณ 50-60 นาทีดังนี้

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ใช้เวลาประมาณ 8-15 นาที เพื่อทบทวนเรื่องที่เรียนมาแล้ว และทบทวนในเรื่องบทบาทของสมาชิก ภายในกลุ่มการทำงาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2. ขั้นทำงานกลุ่ม

ใช้เวลา 25-30 นาที เป็นขั้นที่ครูแจกอุปกรณ์และสื่อการเรียน ผู้เรียนปฏิบัติตามบทบาทที่

ได้รับมอบหมาย

3. ขั้นระดมสมอง

ใช้เวลา 10-15 นาที ขั้นนี้เป็นการเสนอผลงาน เสนอแนะร่วมกันทั้งห้อง ให้แต่ละกลุ่มได้มี

โอกาสแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่และอย่างทั่วถึง

หน้าที่ของครูในการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ

1. จจัดกลุ่มผู้เรียนให้มีสมาชิกแตกต่างกัน กลุ่มละประมาณ 3-5 คน

2. ทบทวนเรื่องบทบาทของการทำงานกลุ่ม หน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่ม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น

3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเรียน ให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างชัดเจน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนที่ผู้เรียนจะต้องศึกษา

4. ให้ความร่วมมือกลุ่มในการทำงาน ขณะที่ผู้เรียนเรียนหรือทำงานเป็นกลุ่ม

5. วัดและประเมินผล ในการเรียนแต่ละครั้งเมื่อจบบทเรียนทุกคนจะต้องได้รับการวัดและประเมินผล เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราประสบผลสำเร็จในการเรียนมากน้อยเพียงใด และนำคะแนนที่ได้มาคิดเป็นคะแนนของกลุ่ม

6. การให้การเสริมแรง เป็นการยอมรับในผลสำเร็จของผู้เรียนและของกลุ่ม การเสริมแรงอาจใช้คำพูด วุฒิบัตร สิ่งของ เป็นต้น เพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้เรียน และกลุ่มตตามความเหมาะสม

บทบาทของครูผู้สอน

บทบาททางตรง

1. การให้ความรู้กับผู้เรียนในเรื่องบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งฝึกทักษะทางสังคม เพื่อให้งานกลุ่มมีประสิทธิภาพ

2. ติดตามควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มว่าทุกคนแสดงบทบาทหน้าที่ที่ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด

3. ให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เรียนไม่ได้อภิปรายในส่วนที่เป็นเรื่องหรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในการสอนแต่ละครั้ง

4. เก็บผลงานของผู้เรียนมาศึกษาปัญหาข้อบกพร่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขในชั่วโมงต่อไป

บทบาททางอ้อม

1. คอยติดตามสังเกตการทำงานของแต่ละกลุ่ม

2. ให้คำแนะนำเมื่อเด็กแต่ละกลุ่มมีปัญหา

3. พยายามให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงาน หากมีการไม่ยอมรับสมาชิกคนใดคนหนึ่งของกลุ่ม

4. ให้กำลังใจและให้คำชมเชยแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนสามารถทำงานได้ประสบผลสำเร็จ

การประเมินผล

1. การเสนอผลงานของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ

2. การทดสอบ

3. การสังเกตการทำงานของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม

4. การแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนในขั้นระดมสมอง

ครูควรคำนึงถึงในการจัดกิจกรรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ

ครูควรคำนึงถึงกิจกรรมที่จะใหห้เรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ต้อง

1. เป็นกิจกรรมที่เอื้อต่อการที่จะให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้มากและทั่วถึง

2. เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ข้อมูล และเรียนรู้จากคนอื่นๆ ในกลุ่ม

3. เป็นกิจกรรมที่ต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพบคำตอบ ด้วยตนเอง

4. เป็นกิจกรรมที่ต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กกระบวนการทำงานร่วมกันควบคู่กับผลงานที่ทำ

5. เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง

ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ

1. บรรยากาศในห้องเรียนจะมีความเป็นกันเองมากขึ้น ผู้เรียนจะรู้สึกปลอดภัย

2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน เพราะสมาชิกทุกคนภายในกลุ่มรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญต่อกลุ่มเท่ากัน ความเชื่อมั่นในตนเองก็จะถูกกระตุ้นใหห้มีเพิ่มมากขึ้น และช่วยกันแก้นิสัยขี้อายให้กับผู้เรียนบางคน

3. ฝึกความมีระเบียบวินนัย













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น