กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานภาคเรียนที่1/2552 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สารและการจำแนก เวลา 49 ชั่วโมง เรื่อง การจำแนกสารโดยใช้ขนาดอนุภาค เวลา 5 ชั่วโมง บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ...12-23.....เดือน ........กรกฎาคม.......พ.ศ. ....2554...... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู1 |
สาระสำคัญ
สามารถจำแนกสารตามอนุภาคของสารได้ 3 ประเภท คือ
1. สารละลาย
2. สารคอลลอยด์
3. สารแขวนลอย
การตรวจสอบขนาดอนุภาคของสาร
1. การกรองด้วยกระดาษกรอง
2. การกรองด้วยเซลโลเฟน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สังเกต สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์ การจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร และการตรวจสอบขนาดอนุภาคของสารละลาย สารแขวนลอยด์ สารคอลลอยด์
จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง
อธิบายการจำแนกสารตามขนาดอนุภาคพร้อมทั้งสามารถบอกความแตกต่างระหว่างสารละลาย สารแขวนลอย และสารคอลลอยด์และและการตรวจสอบขนาดอนุภาคของสารละลาย สารแขวนลอยด์ สารคอลลอยด์ ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง
1. อธิบายสมบัติของสารละลาย สารแขวนลอย และคอลลอยด์ได้
2. จำแนกสารละลาย สารแขวนลอย และคอลลอยด์ได้
3. เปรียบเทียบขนาดอนุภาคของสารแขวนลอย คอลลอยด์ และสารละลายได้
4. บอกวิธีและทำการทดลองตรวจสอบขนาดอนุภาคของสารละลาย สารแขวนลอยด์ สารคอลลอยด์ได้
5. ยกตัวอย่างสารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอยในชีวิตประจำวันได้
เนื้อหาสาระ
การจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร สามารถจำแนกสารได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สารละลาย (solution) คือสารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มารวมกันโดยอัตราส่วนผสมของการผสมไม่คงที่ และสารที่เกิดจากการผสมนี้จะแสดงสมบัติไม่คงที่
สารละลายมีขนาดอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 เซนติเมตร จึงสามารถผ่านด้ทั้งกระดาษกรองและเซลโลเฟน เช่น น้ำเกลือ น้ำหวาน อากาศ
2. คอลลอยด์ (colloild) คือ ของผสมที่มีลักษณะขุ่น ประกอบด้วยอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ในตัวกลาง คอลลอยด์มีอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10 – 10 เซนติเมตร จึงสามารถผ่านกระดาษกรองได้แต่ไม่ผ่านเซลโลเฟน
เช่น น้ำนม น้ำสบู่ น้ำแป้งสุก เยลลี่ น้ำสลัด น้ำกะทิ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศ
3. สารแขวนอย (suspension) คือสานเนื้อผสมที่มองเห็นอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ในตัวกลาง เมื่อตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอน และสามารถแยกสารแขวนลอยอยู่ในสารเนื้อผสมออกมาได้โดยการกรอง สารแขวยลอยมีอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร จึงไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ เช่น น้ำแป้ง น้ำโคลน
การตรวจสอบขนาดของอนุภาคของสาร
1. การกรองสารด้วยกระดาษกรอง
2. การกรองด้วยกระดาษเวลโลเฟน
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แนวปฏิบัติในการเรียน
การวัดผลประเมินผล/เกณฑ์การผ่านวิธีการซ่อมเสริมเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสารต่างๆ ในชีวิตประจำวัน พร้อมยกตัวอย่างแล้ว
ช่วยกันบอกว่าสารใดเป็นสารเนื้อเดียว เนื้อผสม
3. ครูและนักเรียนสนทนาถึงการจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร
การจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร สามารถจำแนกสารได้เป็น 2 ประเภทคือ
สารละลาย (solution) คือสารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มารวมกันโดยอัตราส่วนผสมของการผสมไม่คงที่ และสารที่เกิดจากการผสมนี้จะแสดงสมบัติไม่คงที่สารละลายมีขนาดอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 เซนติเมตร จึงสามารถผ่านด้ทั้งกระดาษกรองและเซลโลเฟน เช่น น้ำเกลือ น้ำหวาน อากาศ
คอลลอยด์ (colloild) คือ ของผสมที่มีลักษณะขุ่น ประกอบด้วยอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ในตัวกลาง คอลลอยด์มีอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10 – 10 เซนติเมตร จึงสามารถผ่านกระดาษกรองได้แต่ไม่ผ่านเซลโลเฟน เช่น น้ำนม น้ำสบู่ น้ำแป้งสุก เยลลี่ น้ำสลัด น้ำกะทิ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศ
สารแขวนอย (suspension) คือสานเนื้อผสมที่มองเห็นอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ในตัวกลาง เมื่อตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอน และสามารถแยกสารแขวนลอยอยู่ในสารเนื้อผสมออกมาได้โดยการกรองสารแขวยลอยมีอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร จึงไม่สามารถผ่านได้กระดาษกรองได้ เช่น น้ำแป้ง น้ำโคลนสึก
4. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องการจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร พร้อมทำกิจกรรมเรื่อง ขนาดอนุภาคของสาร
5. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง การตรวจสอบอนุภาคของสาร พร้อมตอบคำถาม
- สารประเภทใดที่สามารถผ่านได้ทั้งกระดาษกรองและเซลโลเฟน เพราะเหตุใด พร้อมยกตัวอย่างสารประกอบ
- สารใดที่สามารถผ่านกระดาษกรองได้แต่ไม่สามารถผ่านเซลโลเฟนได้ เพราะเหตุใด พร้อมยกตัวอย่างสารประกอบ
- สารใดที่ไม่สามาถรผ่ากระดาษกรองได้เพราะเหตุใด พร้อมยกตัวอย่างสารประกอบ
6. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปถึงการจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร และการตรวจสอบขนาดอนุภาคของสารละลาย สารแขวนลอยด์ สารคอลลอยด์
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบความรู้ เรื่อง การจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร
2. ใบความรู้ เรื่อง การตรวจสอบอนุภาคของสาร
3. ใบงาน เรื่อง ขนาดอนุภาคของสาร
4. Power point
5. หนังสืออ่านเพิ่มเติม
6. Inter
การวัดผลประเมินผล
กิจกรรมเสนอแนะ
ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
1 ผลการจัดการเรียนรู้
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................
นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............
2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................
3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................
4 การปรับปรุงและพัฒนา
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
ลงชื่อ ............................................ผู้สอน
(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)
ครูอัตราจ้าง
ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………..……
ลงชื่อ ...................................................
(นางทิพวดี อัครฮาด)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………..…
ลงชื่อ ......................................................
(นายสุชาติ อาจศัตรู)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ใบความรู้
การจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร
------------------------------------------------------------------------
การจำแนกสารตามขนาดอนุภาคของสาร สามารถจำแนกสารได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.สารละลาย (solution) คือสารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มารวมกันโดยอัตราส่วนผสมของการผสมไม่คงที่ และสารที่เกิดจากการผสมนี้จะแสดงสมบัติไม่คงที่
สารละลายมีขนาดอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 เซนติเมตร จึงสามารถผ่านด้ทั้งกระดาษกรองและเซลโลเฟน เช่น น้ำเกลือ น้ำหวาน อากาศ
2. คอลลอยด์ (colloild) คือ ของผสมที่มีลักษณะขุ่น ประกอบด้วยอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ในตัวกลาง คอลลอยด์มีอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10 – 10 เซนติเมตร จึงสามารถผ่านกระดาษกรองได้แต่ไม่ผ่านเซลโลเฟน
เช่น น้ำนม น้ำสบู่ น้ำแป้งสุก เยลลี่ น้ำสลัด น้ำกะทิ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศ
3. สารแขวนอย (suspension) คือสานเนื้อผสมที่มองเห็นอนุภาคของสารชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดลอยกระจายอยู่ในตัวกลาง เมื่อตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอน และสามารถแยกสารแขวนลอยอยู่ในสารเนื้อผสมออกมาได้โดยการกรอง สารแขวยลอยมีอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร เช่น น้ำแป้ง น้ำโคลน
ใบความรู้
เรื่อง การตรวจสอบขนาดอนุภาคของสาร
--------------------------------------------------------------------------
ขนาดอนุภาคของสาร สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้กระดาษกรองซึ่งมีขนาดรูพรุน 10-7 เซนติเมตร กระจายอยู่ตลอดเนื้อสาร ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกระดาษทั่งไป และใช้เซลโลเฟนซึ่งมีขนาดรูพรุน 10-4 เซนติเมตร
1. การกรองด้วยกระดาษกรอง เมื่อกรองของเหลวผ่านกระดาษกรอง ถ้าสารที่อยู่ในของเหลวมีขนาดอนุภาคเล็กกว่ากระดาษกรอง จะสามารถไหลผ่านรูของกระดาษกรองได้ โดยไม่มีสารเหลือค้างบนกระดาษกรอง เช่น นมสด น้ำหวาน ถ้าขนาดอนุภาคสารในของเหลงมีขนาดใหญ่กว่ารูของกระดาษกรอง จะมีสารเหลือค้างบนกระดาษกรอง เช่น น้ำโคลน น้ำแป้ง
2. การกรองด้วยเซลโลเฟน มีสมบัติเช่นเดียวกับกระดาษกรองแต่มีรูพรุนขนาดเล็กกว่าประมาณ 10-4 เซนติเมตร ดังนั้น เมื่อแช่ถุงเซลโลเฟนที่บรรจุสารในน้ำ ถ้าสารที่บรรจุภายในมีขนาดอนุภาคเล็กกว่ารูของเซลโลเฟน สารนั้นก้จะผ่านออกมาได้เช่น น้ำหวาน น้ำเกลือ
ใบความรู้
เรื่อง คอลลอยด์
---------------------------------------------------------------------------------
คอลลอยด์ หมายถึง สารผสมที่ประกอบด้วยสาร 2 ชนิด ซึ่งสารชนิดหนึ่งมีอนุภาค
เล็กกว่าสารแขวนลอย คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 10-7 – 10-4 เซนติเมตร แต่ใหญ่กว่าอนุภาคของสารละลาย สามารถผ่านกระดาษกรองแต่ไม่สามารถผ่านกระดาษเซลโลเฟลได้ เรียกว่า
อนุภาคคอลลอยด์ ซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่อาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ได้เช่นกัน และทำให้มองคล้ายเป็นสารเนื้อเดียว
ชื่อคอลลอยด์ | อนุภาคคอลลอยด์ | สารอีกชนิดหนึ่ง |
หมอก | ละอองน้ำ(ของเหลว) | อากาศ(ก๊าซ) |
ควันไฟ ควันบุหรี่ | ผงถ่าน (ของแข็ง) | อากาศ(ก๊าซ) |
ฝุ่นละอองในอากาศ | ฝุ่นละออง (ของแข็ง) | อากาศ(ก๊าซ) |
สีทาบ้าน | เม็ดสี(ของแข็ง) | น้ำ(ของเหลว) |
ฟองอากาศในน้ำ | ฟองอากาศ(ก๊าซ) | น้ำ(ของเหลว) |
มีคอลลอยด์บางประเภทที่อนุภาคคอลลอยด์ไม่กระจายตัว เช่น น้ำมันพืชกับน้ำ เมื่อเขย่าและตั้งทิ้งไว้สักพักหนึ่ง น้ำกับน้ำมันพืชจะแยกจากกันเป็น 2 ชั้น โดยน้ำมันจะอยู่ข้างบนและน้ำจะอยู่ข้างล่าง เรียกสารผสมนี้ว่า อิมัลชัน
เราสามารถทำให้อิมัลชันกลายเป็นสารผสมที่อยู่ตัวได้ โดยใช้สารที่สามผสมลงไป เพื่อช่วยให้การผสมของสาร 2 สารดีขึ้น เรียกสารที่ 3 นี้ว่า อิมัลซิไฟเออร์ หรือ อิมัลซิไฟอิง เอเจนต์ซึ่งมีหน้าที่ทำให้อนุภาคของคอลลอยด์แตกตัวมีขนาดเล็กลง จึงอยู่ได้นาน เช่น น้ำกับน้ำมันพืชไม่ผสมกัน แต่ถ้าเติมน้ำสบู่ลงไปเล็กน้อย น้ำกับน้ำมันพืชจะผสมกันได้ แสดงว่า น้ำสบู่เป็น
อิมัลซิไฟเออร์
สารคอลลอยด์ในชีวิตประจำวัน
มีสารคอลลอยด์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเรา ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากการผสมสาร เช่น นม น้ำสลัด น้ำกะทิ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศ น้ำสบู่ ผงซักฟอก แชมพูสระผม คอลลอยด์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และใช้ประโยชน์อย่างไร
สบู่หรือผงซักฟอก ในการซักผ้าเราต้องการล้างไขมันและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามเสื้อผ้าให้หลุดออกมากับน้ำที่แช่เสื้อผ้า สบู่หรือผงซักฟอกจะทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์
ใบงาน
เรื่อง ขนาดอนุภาคของสาร
อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ ( สำหรับ 1 กลุ่ม )
1. บีกเกอร์ ขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร 5 ใบ
2. บีกเกอร์ ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 5 ใบ
3. กระดาษกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 เซนติเมตร 5 แผ่น
4. กระดาษเซลโลเฟน ขนาด 15 เซนติเมตร × 15 เซนติเมตร 5 แผ่น
5. กรวยกรอง 5 อัน
6. ยางสำหรับผูกถุงเซลโลเฟน 5 เส้น
7. แท่งแก้วคนสาร 5 อัน
8. น้ำแป้งสุก 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 9. น้ำแป้งดิบ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
10. สารละลายด่างทับทิม 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 11. น้ำสี 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 12. น้ำนมสด 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
13. น้ำกลั่น 600 ลูกบาศก์เซนติเมตร
คำถามก่อนการทดลอง
1. สารที่นำมาทดลองมีคุณสมบัติเหมือนกันหรือไม่อย่างไร..............................................
2. สารใดบ้างที่ไม่สามารถผ่านได้ทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน......................
...................................................................................................................................................................
3. สารใดบ้างที่สามารถผ่านได้เฉพาะกระดาษกรองส่วนกระดาษเซลโลเฟนไม่สามารถผ่านได้..................................................................
4. สารใดบ้างที่สามารถผ่านได้ทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน............................
ขั้นตอนการทดลอง
1. ตวงน้ำแป้งสุกใส่ลงไปในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2 ใบ ขนาด 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. นำแป้งสุกใส่บีกเกอร์ใบที่ 1 ไปกรองผ่านกระดาษกรองแล้วสังเกตบนกระดาษกรอง และลักษณะของของเหลวที่กรองได้ แล้วบันทึกผล
3. นำน้ำแป้งสุกใบบีกเกอร์ใบที่ 2 ไปบรรจุลงในถุงเซลโลเฟน ผูกให้แน่น แล้วนำไปแช่ ในบีกเกอร์ซึ่งบรรจุน้ำกลั่น 30 ลูกบาศก์เซนติเมตรนาน 10 นาที แล้วสังเกตลักษณะของเหลวในบีกเกอร์ บันทึกผล
4. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1– 3 แต่เปลี่ยนจากน้ำแป้งสุกเป็นน้ำแป้งดิบ น้ำสี น้ำนมสด และสารละลายด่างทับทิม ตามลำดับ
การมอบงาน
1. นักเรียนศึกษาใบงาน เรื่อง ขนาดของอนุภาคของสารให้เข้าใจ
2. นักเรียนศึกษาตารางบันทึกผลการทดลองบนกระดานดำ
3. นักเรียนปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอน
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอผลการทดลองบนกระดานดำ
5. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และแยกประเภทสาร โดยใช้ข้อมูลบนกระดานดำ
6. ตอบคำถามหลังการทดลอง
คำถามหลังการทดลอง
1. สารที่นำมาทดลองสามารถแบ่งออกได้เป็น....................กลุ่ม
1.1 กลุ่มที่ 1 ได้แก่............................................มีคุณสมบัติ.........................................
1.1 กลุ่มที่ 2 ได้แก่............................................มีคุณสมบัติ........................................
1.3 กลุ่มที่ 3 ได้แก่............................................มีคุณสมบัติ.........................................
2. จากการทดลองสารใดบ้างเป็นสารเนื้อผสม....................................................................
3. จากการทดลองสารใดบ้างเป็นสารเนื้อเดียว...................................................................
การประเมินผล
1. การวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางการทดลอง โดยใช้แบบประเมินการคิดวิเคราะห์
2. การตอบคำถามหลังการทดลอง โดยใช้แบบประเมินการคิดวิเคราะห์
เฉลยใบงาน
ชื่องาน ขนาดอนุภาคของสาร
คำถามก่อนการทดลอง
1. สารที่นำมาทดลองมีคุณสมบัติเหมือนกันหรือไม่อย่างไร......( ไม่ )................................
2. สารใดบ้างที่ไม่สามารถผ่านได้ทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน..( น้ำแป้งดิบ )
3. สารใดบ้างที่สามารถผ่านได้เฉพาะกระดาษกรองส่วนกระดาษเซลโลเฟนไม่สามารถผ่านได้.....( น้ำแป้งสุก น้ำนม ).............................................................
4. สารใดบ้างที่สามารถผ่านได้ทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน...( น้ำสี น้ำด่างทับทิม )....
คำถามหลังการทดลอง
1. สารที่นำมาทดลองสามารถแบ่งออกได้เป็น....( 3 ).....กลุ่ม
1.1 กลุ่มที่ 1 ได้แก่...( น้ำแป้งดิบ มีคุณสมบัติ คือ เป็นสารที่ไม่สามารถผ่านกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน )....................................................................................................
1.1 กลุ่มที่ 2 ได้แก่...( น้ำแป้งสุก น้ำนม มีคุณสมบัติ คือ เป็นสารที่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ แต่ไม่สามารถผ่านกระดาษเซลโลเฟน )........................................................................
1.3 กลุ่มที่ 3 ได้แก่...( น้ำสี น้ำด่างทับทิม มีคุณสมบัติ คือ เป็นสารที่สามารถผ่านได้ ทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน )........................................................................................
2. จากการทดลองสารใดบ้างเป็นสารเนื้อผสม.......( น้ำแป้งดิบ น้ำแป้งสุก น้ำนม )..........
3. จากการทดลองสารใดบ้างเป็นสารเนื้อเดียว........( น้ำสี น้ำด่างทับทิม )........................
ใบงาน
ชื่องาน อิมัลซิฟายเออร์ในชีวิตประจำวัน
คำชี้แจง
1. ให้นักเรียนสำรวจตรวจสอบสารคอลลอยด์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งนักเรียนสามารถสำรวจตรวจสอบได้จากสารในบ้าน ร้านค้า ฯลฯ
2. นักเรียนบันทึกข้อมูลในตาราง ( นอกเวลาเรียน )
ชื่อสารคอลลอยด์ในชีวิตประจำวัน | ตัวประสาน ( อิมัลซิฟายเออร์ ) |
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. | |
แผนภาพ
แผนผังความคิด ( Concept map ) การจำแนกสาร
สาร
สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม
สารบริสุทธิ์ สารละลาย สารแขวนลอย สารคอลลอยด์
ธาตุ สารประกอบ
ใบความรู้
เรื่อง แบบจำลองอนุภาคของสาร
อนุภาคของสารไม่ว่าจะเป็น ของแข็งของเหลวหรือแก๊ส จะมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาถ้าอนุภาคของสารได้รับความร้อนจำทำให้อนุภาคมีพลังงานเพิ่มขึ้นอนุภาคก็จะสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นการจัดเรียงตัวของอนุภาคจะเปลี่ยนไป แต่รูปร่างหรือมวลไม่เปลี่ยน
สถานะของสาร
สถานะของสารจำแนกได้ 3 สถานะ คือของแข็ง ของเหลว แก๊ส การเปลี่ยนสถานะของสารเป็น
สถานะของสารจำแนกได้ 3 สถานะ คือของแข็ง ของเหลว แก๊ส การเปลี่ยนสถานะของสารเป็น
การทำให้ระยะระหว่างโมเลกุลของสารเปลี่ยนแปลงไป แต่องค์ประกอบของสารยังคงเป็นสารชนิดเดิม สูตรโมเลกุลยังเหมือนเดิม
1. ของแข็ง (solid) คือ สารที่มีรูปร่างและปริมาตรที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะอนุภาค
ชิดกันเป็นระเบียบ มีความหนาแน่นและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าของเหลวและก๊าซของแข็งจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงมาก ทำให้โมเลกุลแต่ละโมเลกุลอยู่ใกล้ชิดกันมาก ดังนั้นจึงมีรูปร่างแน่นอนและมีปริมาตรคงที่พลังงานในการเคลื่อนที่ของโมเลกุลมีค่าน้อยโมเลกุลจึงเพียงแค่สั่นเท่านั้น เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เป็นต้น
ชิดกันเป็นระเบียบ มีความหนาแน่นและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าของเหลวและก๊าซของแข็งจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงมาก ทำให้โมเลกุลแต่ละโมเลกุลอยู่ใกล้ชิดกันมาก ดังนั้นจึงมีรูปร่างแน่นอนและมีปริมาตรคงที่พลังงานในการเคลื่อนที่ของโมเลกุลมีค่าน้อยโมเลกุลจึงเพียงแค่สั่นเท่านั้น เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เป็นต้น
ภาพแสดงการจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง
2. ของเหลว (liquid) คือ สารที่มีปริมาตรแน่นอน แต่มีรูปร่างไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคอยู่ใกล้เคียงกันแต่ไม่เป็นระเบียบ มีการชนกันตลอดเวลา จึงมีความหนาแน่นสูงกว่าก๊าซ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น