วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

            แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 11 ชั่วโมง
เรื่อง กระบวนการทางวิทยาสาสตร์ เวลา 3 ชั่วโมง
บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ .17-21...เดือน ....พฤษภาคม.....พ.ศ. ....2554....... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1


สาระสำคัญ

วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่สามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ โดยจาการสังเกตประเด็นที่ต้องการหา คำตอบ

นำไปสู้การตั้งสมมติฐาน การทดลอง รวบรวมข้อมูล เพื่อสรุป หรืออธิบายประเด็นนั้นๆ ในการค้นคว้าหาความรู้ หรือแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น ต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาสาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สังเกต สำรวจตรวจสอบ อธิบายและวิเคราะห์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทาง

วิทยาศาสตร์


จุดประสงค์ปลายทาง

สรุปเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ได้


จุดประสงค์นำทาง

1. ระบุวิธีการทางวิทยาสาสตร์ได้อย่างเป็นขั้นตอนและถูกต้องได้

2. บอกและอธิบายทักษะทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 13 ทักษะได้


เนื้อหาสาระ

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นกำหนดปัญหา (Problem)
2.
ขั้นตั้งสมมติฐาน (
Hypothesis)
3.
ขั้นการรวบรวมข้อมูล
(Gathering Data)
4.
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (
Analysis)
5.
ขั้นสรุป (Conclusion)

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ

1. ทักษะการสังเกต ( Observation)
2.
ทักษะการวัด ( Measurement)
3.
ทักษะการคำนวณ ( Using numbers)

4. ทักษะการจำแนกประเภท ( Classification)
5.
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ( Space/space Relationship and Space/Time Relationship)

6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Organizing data and communication)

7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring)

8. ทักษะการพยากรณ์ ( Prediction
9.
ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ( Formulating hypothesis)
10.
ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining operationally)

11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)

12. ทักษะการทดลอง ( Experimenting)

13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ( Interpretting data and conclusion)


กิจกรรมการเรียนการสอน

1. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวปฏิบัติในการเรียนเกณฑ์การผ่านและวิธีการซ่อมเสริมเมื่อนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์

2. ครูและนักเรียนสนทนาถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ช่วยกับบอกความหมายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์พร้อมศึกษาใบความรู้ เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นกำหนดปัญหา (Problem)
2.
ขั้นตั้งสมมติฐาน (
Hypothesis)
3.
ขั้นการรวบรวมข้อมูล
(Gathering Data)
4.
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (
Analysis)
5.
ขั้นสรุป (Conclusion)

3. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 13 ทักษะ ช่วยกันบอกขั้นตอนวิธีการทั้ง 13 ทักษะ พร้อมศึกษาใบความรู้เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ

4. นักเรียนทำกิจกรรม ทักษะการสังเกต พร้อมตอบคำถามจากกิจกรรม

5. นักเรียนร่วมกันสรุปถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์


สื่อ/แหล่งเรียนรู้


1. ใบความรู้เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์

2. ใบความรู้เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3. ใบกิจกรรม เรื่อง การสังเกต

4. อินเตอร์เน็ต

5. Power Point


การวัดผลประเมินผล



วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน
1. สังเกตพฤติกรรม
2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน
3. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4. ตรวจผลงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรม
แบบบันทึกการตรวจ
ผลการปฏิบัติงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60


กิจกรรมเสนอแนะ

ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน



บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

1 ผลการจัดการเรียนรู้

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................

นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............

2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................

3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................

4 การปรับปรุงและพัฒนา

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................


ชื่อ ............................................ผู้สอน

(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)

ครูอัตราจ้าง

ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ ............................................

(นางทิพวดี อัครฮาด)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ ............................................

(นายสุชาติ อาจศัตรู)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ






























ใบความรู้

เรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นกำหนดปัญหา (Problem) เป็นการรวบรวมข้อมูลของปัญหา และกำหนดปัญหาหรือคำตอบที่ต้องการทราบขึ้นมา
2.
ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) เป็นขั้นตอนการทดลองคิดหาคำตอบของปัญหาโดยวิธีการอนุมาน (วิธีการอนุมาน เป็นการคาดคะเนสมหลักเหตุผล โดยหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อเท็จจริงหลักกับข้อเท็จจริงย่อย แล้วสืบหาข้อเท็จจริงย่อยมาเสริมข้อเท็จจริงหลัก เป็นการมองจากข้อเท็จจริงใหญ่สู่ข้อเท็จจริงย่อย แล้วทำการสรุป เช่น นกทุกชนิดมีปีก นกเอี้ยงเป็นนกชนิดหนึ่ง สรุปว่านกเอี้ยงมีปีก)
3.
ขั้นการรวบรวมข้อมูล (Gathering Data) เป็นขั้นการออกแบบการวิจัยและการรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างประชากรที่ต้องการศึกษา
4.
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นวิธีการนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและวิเคราะห์ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ เป็นการใช้เหตุผลแบบอุปมาน (วิธีการอุปมาน เป็นการวิเคราะห์ข้อเท็จจรองย่อยที่รวบรวมได้ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปหลัก เช่น จากการสังเกตพบว่า นกแต่ละชนิดมีปีก สรุปว่านกทุกชนิดมีปีก)
5.
ขั้นสรุป (Conclusion) สรุปความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์มาเขยนรายาน สรุปผลการศึกษาที่ค้นพบ










ใบความรู้

เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

--------------------------------------------------------------------------

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 13 ทักษะ

1. ทักษะการสังเกต ( Observation) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ โดยไม่ลงความเห็นของผู้สังเกต 2. ทักษะการวัด ( Measurement) หมายถึงความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม และความสามารถในการอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้องรวดเร็วและใกล้เคียงกับความจริงพร้อมทั้งมีหน่วยกำกับเสมอ 3. ทักษะการคำนวณ ( Using numbers) หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร หรือจัดกระทำกับตัวเลขที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การทดลองโดยตรง หรือจากแหล่งอื่น ตัวเลขที่คำนวณนั้นต้องแสดงค่าปริมาณในหน่วยเดียวกัน ตัวเลขใหม่ที่ได้จากการคำนวณจะช่วยให้สื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการและชัดเจนยิ่งขึ้น 4. ทักษะการจำแนกประเภท ( Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดจำแนก เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจัดสิ่งที่มีสมบัติบางประการร่วมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน 5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ( Space/space Relationship and Space/Time Relationship) สเปส ( Space) ของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างบริเวณที่วัตถุนั้นครอบครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างและลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไป สเปสของัตถุจะมี 3 มิติ (Dimensions) ได้แก่ ความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัตถุทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา หมายถึง ความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้ คือ
1)
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติ

2)
สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร

3)
ตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง 4) การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือสเปสของวัตถุ ที่เปลี่ยนแปลงไปกับเวลา
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Organizing data and communication) หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นมาจัดกระทำใหม่โดยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดเรียงลำดับ การแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจมากขึ้น อาจนำเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ สมการ เป็นต้น 7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring) หมายถึง ความสามารถในการอธิบายข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลที่มีอยู่อาจได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง คำอธิบายนั้นได้ มาจาก ความรู้หรือประสบการณ์เดิมของ ผู้สังเกตที่พยายามโยงบางส่วนที่เป็นความรู้หรือประสบการณ์เดิม ให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ 8. ทักษะการพยากรณ์ ( Prediction) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นมาช่วยในการทำนาย การทำนายอาจทำได้ภายในขอบเขตข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตข้อมูล ( Extrapolating) 9. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ( Formulating hypothesis) หมายถึง ความสามารถในการให้คำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ ต่อไป สมมุติฐานเป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายของสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบโดยการสังเกตได้ หรืออาจเป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ที่คาดคะเนว่าจะเกิดขึ้นระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ข้อความของสมมุติฐานนี้สร้างขึ้นโดยอาศัยการสังเกตความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน การคาดคะเนคำตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน ข้อความของสมมุติฐานต้องสามารถทำการตรวจสอบโดยการทดลองและแก้ไขเมื่อมีความรู้ใหม่ได้ 10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining operationally) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำ หรือตัวแปรต่างๆ ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตและวัดได้ คำนิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นความหมายของคำศัพท์เฉพาะ เป็นภาษาง่ายๆ ชัดเจน ไม่กำกวม ระบุสิ่งที่สังเกตได้ และระบุการกระทำซึ่งอาจเป็น การวัด การทดสอบ การทดลองไว้ด้วย 11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมุติฐานหนึ่ง การควบคุมตัวแปรนั้นเป็นการควบคุมสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนถ้าหากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนกัน 12. ทักษะการทดลอง ( Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบหรือทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ในการทดลองจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ
12.1
การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนลงมือทดลองจริง เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินการทดลองซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีดำเนินการทดลองซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดและควบคุมตัวแปร และวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการทดลอง

12.2
การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริงๆ

12.3
การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งอาจเป็นผลของการสังเกต การวัด และอื่นๆ
13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ( Interpretting data and conclusion) หมายถึง ความสามารถในการบอกความหมายของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ และอยู่ในรูปแบบที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว ซึ่งอาจอยู่ในรูปตาราง กราฟ แผนภูมิหรือรูปภาพต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการบอกความหมายข้อมูลในเชิงสถิติด้วย และสามารถลงข้อสรุปโดยการเอาความหมายของข้อมูลที่ได้ทั้งหมด สรุปให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาภายในขอบเขตของการทดลองนั้นๆ







ใบกิจกรรม

เรื่องทักษะการสังเกต

-------------------------------------------------------------------------------------

อุปกรณ์

1. ไม้ขีดไฟ

ให้นักเรียนเขียนบรรยายผลการสังเกตไม้ขีดไฟ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทั้งก่อนและจุดไม้ขีดไฟ แล้วบันทึกผลลงในตารางบันทึกผล


ตารางบันทึกผลการสังเกตไม้ขีดไฟ

ก่อนจุดไฟ
เชิงคุณภาพ
เชิงปริมาณ
การเปลี่ยนแปลง
หลังจุดไฟ
เชิงคุณภาพ
เชิงปริมาณ
การเปลี่ยนแปลง
1.
1.
2.
2.
3.
3.
4.
4.
5.
5.
6.
6.
7.
7.
8.
8.
9.
9.
10.
10.


ตอบคำถาม

1. สีของไม้ขีดไฟก่อนและหลังจุดไฟเป็นอย่างไร

2. ก่อนจุดไฟก้านไม้ขีดไฟมีกลิ่นหรือไม่ และเมื่อจุดไฟแล้วกลิ่นเปลี่ยนไปหรือไม่

3. ก่อนจุดก้านไม้ขีดมีขนาดเท่าไร อัตราการเปลี่ยนความยาวของก้านไม้ขีดไฟขณะติดไฟ

4. ลักษณะของผิวของก้านไม้ขีดเป็นอย่างไร

5. ไม้ขีดไฟติดไฟอยู่นานประมาณเท่าใดจึงดับ

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น