วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ที่15

                                                    แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย เวลา 49 ชั่วโมง
เรื่อง การทดสอบสารละลายกรด - เบส เวลา 5 ชั่วโมง
บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ..6-20....เดือน ....กันยายน.....พ.ศ. ....2554............... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1


สาระสำคัญ

การตรวจสอบสารละลายกรด – เบส

1. สารละลายลิตมัส

2. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

3. การไทเทรต

4. ผลกระทบของสารละลายกรด เบสที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง


สำรวจ ตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายการตรวจสอบสารละลายกรด – เบส สารละลายลิตมัส ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ การไทเทรต และผลกระทบของสารละลายกรด เบสที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง


สรุปเกี่ยวกับการตรวจสอบสารละลายกรด – เบส สารละลายลิตมัส ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ การไทเทรต และผลกระทบของสารละลายกรด เบสที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้


จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง


1. อธิบายและบอกสมบัติของสารละลายกรด เบสได้

2. ทดสอบสมบัติของสารละลายโดยใช้กระดาษลิตมัส ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ หรือไทเทรตได้

3. ตรวจสอบค่า pH ของสารละลายได้

4. บอกผลกระทบของสารละลายกรด เบสที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

เนื้อหาสาระ


การตรวจสอบสารละลายกรด – เบส

สารละลายกรด – เบส ส่วนมากเป็นสารละลายที่ใส ไม่มีสีจึงไม่สามารถแยกออกจากกันด้วยตาเปล่าได้ ส่วนมากเป็นสารที่เป็นอันตราย เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่สามารถทดสอบด้วยการชิมหรือสัมผัสได้ มีวิธีทดสอบดังนี้

1. สารละลายลิตมัส

สารละลายลิตมัส ทำมาจากสิ่งมีชีวิตพวกไลเคนส์ ตัวสารละลายมีสีม่วง เมื่อหยดลิตมัสในสารละลายที่เป็นกรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าหยดลงในสารละลายที่เป็นเบสจะได้สีน้ำเงิน

กระดาษลิตมัสมี 2 สี คือสีแดงกับสีน้ำเงิน ถ้านำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจุ่มลงในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง และเมื่อจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

2. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ มีทั้งเป็นแบบที่เป็นสารละลายและเป็นแบบกระดาษ ที่อยู่ในรูปสารละลายเป็นกลางจะมีสีเขียว ส่วนที่เป็นกระดาษจะเป็นสีน้ำตาล ใช้เทียบความเป็นกรด – เบส กับแถบสีซึ่งบอกได้เพียงว่าสารใดเป็นกรด – เบส น้อยมากกว่ากัน

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ แบบใช้วัดค่า pH โดยเทียบสี

3. การไทเทรต

ผลกระทบของสารละลายกรด เบสที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


กิจกรรมการเรียนการสอน


1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แนวปฏิบัติในการเรียน

การวัดผลประเมินผล /เกณฑ์การผ่าน วิธีการซ่อมเสริมเมื่อนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์

2. ทดสอบก่อนเรียน

3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงสารเคมีที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยครูใช้

คำถามนำดังนี้

- สารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร

- สมบัติของสารที่ใช้ในบ้านเหล่านั้นเป็นอย่างไรบ้าง

4. นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงการทดสอบสารละลายกรด – เบส โดยศึกษาจากใบความรู้เรื่องการทดสอบสารละลายกรด – เบส

5. นักเรียนทำกิจกรรมเรื่อง การทดสอบสารละลายกรดเบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส

สื่อ/แหล่งเรียนรู้


1. ใบความรู้เรื่อง ความหมายของสารละลายกรด – เบส

2. ใบงานการตรวจสอบสารโดยใช้กระดาษลิตมัส

3. Power point

4. หนังสืออ่านเพิ่มเติม


การวัดผลประเมินผล



วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน
1. สังเกตพฤติกรรม
2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน
3. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4. ตรวจผลงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรม
แบบบันทึกการตรวจ
ผลการปฏิบัติงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60


กิจกรรมเสนอแนะ

ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน


บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

1 ผลการจัดการเรียนรู้

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................

นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............

2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................



3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................

4 การปรับปรุงและพัฒนา

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. ........................


ลงชื่อ ............................................ผู้สอน

(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)

ครูอัตราจ้าง


ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………..………

ลงชื่อ ...................................................

(นางทิพวดี อัครฮาด)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………..……


ลงชื่อ ......................................................

(นายสุชาติ อาจศัตรู)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ


ใบความรู้

เรื่อง การทดสอบสารละลายกรด – เบส

----------------------------------------------------------------------------------------------------

การตรวจสอบสารละลายกรด – เบส

สารละลายกรด – เบส ส่วนมากเป็นสารละลายที่ใส ไม่มีสีจึงไม่สามารถแยกออกจากกันด้วยตาเปล่าได้ ส่วนมากเป็นสารที่เป็นอันตราย เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่สามารถทดสอบด้วยการชิมหรือสัมผัสได้ มีวิธีทดสอบดังนี้

1. สารละลายลิตมัส

สารละลายลิตมัส ทำมาจากสิ่งมีชีวิตพวกไลเคนส์ ตัวสารละลายมีสีม่วง เมื่อหยดลิตมัสในสารละลายที่เป็นกรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าหยดลงในสารละลายที่เป็นเบสจะได้สีน้ำเงิน

กระดาษลิตมัสมี 2 สี คือสีแดงกับสีน้ำเงิน ถ้านำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินจุ่มลงในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง และเมื่อจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

2. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ มีทั้งเป็นแบบที่เป็นสารละลายและเป็นแบบกระดาษ ที่อยู่ในรูปสารละลายเป็นกลางจะมีสีเขียว ส่วนที่เป็นกระดาษจะเป็นสีน้ำตาล ใช้เทียบความเป็นกรด – เบส กับแถบสีซึ่งบอกได้เพียงว่าสารใดเป็นกรด – เบส น้อยมากกว่ากัน

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ แบบใช้วัดค่า pH โดยเทียบสี เช่น

สีส้มมีค่า pH อยู่ระหว่าง 3 – 4 เป็นกรด

สีเขียวมีค่า pH = 7 เป็นกลาง

สีม่วงมีค่า pH อยู่ระหว่าง 13 – 14 เป็นเบส

3. การไทเทรต

การรู้ค่าที่แน่นอนของกรด สามารทำได้โดยการหยดเบสลงไปทีละหยด จนสารละลายผสมเป็นกลางโดยดูจากสีของอินดิเคเตอร์

เมื่อหยดสารละลายเบสลงไปในสารละลายกรดที่มีลิตมัสผสมอยู่ สีของสารละลายจะเปลี่ยนไป หยดเบสลงไปจนกระทั้งสีของสารละลายเปลี่ยนเป็นสีม่วง แสดงว่าปฏิกิริยาเป็นกลาง

ถ้าหยดสารละลายกรดลงไปในสารละลายที่มีอินดิเคเตอร์ผสมอยู่ สีจะเปลี่ยนไปจนได้สีม่วงซึ่งแสดงว่าปฏิกิริยาเป็นกลาง

ปฏิกิริยาของกรดกับเบส เมื่อเป็นกลางจะได้สารละลายเกลือกับน้ำ เรียกปฏิกิริยานี้ ว่า ปฏิกิริยาสะเทิน ( Neutraliation reaction)
























ใบความรู้

เรื่อง ผลกระทบของสารละลายกรด เบสที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

-----------------------------------------------------------------------------

กรดเป็นสารที่มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์ เพราะมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน เช่น สามารถกัดกร่อนผิวหนังให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และถ้าสูดดมเอาไอของกรดเข้าไปจะเป็นพิษต่อระบบหายใจ ดังนั้น ในการใช้สารที่มีฤทธิ์เป็นกรดในชีวิตประจำวันจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะภาชนะที่นำมาบรรจุสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วหรือกระเบื้องเคลือบ เนื่องจากกรดสามารถกัดกร่อนดลหะพวกสังกะสี อะลูมิเนียม และสแตนเลสได้ รวมทั้งสามารถละลายสารบางอย่างในพลาสติกได้

การใช้สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสเปรี้ยว เราต้องแน่ใจว่าสารนั้นไม่มีอันตราย เพราะผู้ผลิตบางรายได้นำกรดกำมะถันซึ่งเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงมากมาทำให้เจือจางด้วยน้ำ แล้วปลอมปนนำมาขายแทนน้ำส้มสายชู เมื่อผู้ใดบริโภคเข้าไปจะทำให้สารเคลือบฟันถูกกัดกร่อน กระเพาะอาหาร และลำไส้จะถูกกัดกร่อนเป็นแผล ดังนั้นการใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะขามเปียกมาปรุงแต่งรสเปรี้ยวของอาหารแทนน้ำส้มสายชูจะมีความปลอดภัยมากกว่า

เบสต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้ให้ถูกวิธี เช่น ผงซักฟอกใช้ซักล้างเสื้อผ้า ไม่ควรนำผงซักฟอกมาใช้ล้างถ้วยจาน ชาม ถ้วยแก้ว กระทะ หม้อบรรจุอาหาร เพราะอาจจะมีสารตกค้างจากผงวักฟอก ซึ่งเป็นอันตรายเมื่อบริโภคเข้าไปและไม่ควรนำมาใช้สระผม เพราะเบสในผงซักฟอกกัดกร่อนหนังศีรษะ และเส้นผมได้









ใบงาน
เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด - เบส
ของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส

คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติ ดังนี้
1. อ่านวิธีทำกิจกรรมการทดลองให้เข้าใจ 2. ตอบคำถามก่อนทำกิจกรรม
3. ทำกิจกรรมและบันทึกผล 4. ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม


กิจกรรมที่ 3.6 การทดสอบสมบัติกรด - เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส

วัสดุอุปกรณ์

1. แท่งแก้วคนสาร 1 แท่ง

2. กระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงินชนิดละ 11 แผ่น

3. กระดาษขาวขนาด A4 1 แผ่น

4. หลอดทดลอง 11 หลอด

5. บีกเกอร์ขนาด 100 cm3 1 ใบ

6. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (ผงฟู) 1 cm3

7. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) 1 cm3

8. สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (น้ำปูนใส) 1 cm3

9. น้ำอัดลม 1 cm3

10. น้ำมะนาว 1 cm3

11. น้ำมะขาม 1 cm3

12. น้ำส้มสายชู 1 cm3

13. น้ำขี้เถ้า 1 cm3

14. น้ำสบู่ 1 cm3

15. สารละลายผงซักฟอก 1 cm3

16. น้ำยาล้างห้องน้ำ 1 cm3



วิธีทำ

1. นำแท่งแก้วคนสารที่สะอาดมาจุ่มลงในสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต จากนั้นนำมาแตะกับกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงินที่วางอยู่บนกระดาษขาว สังเกตและบันทึกผล

2. ล้างแท่งแก้วคนสารให้สะอาดและเช็ดด้วยกระดาษชำระหรือผ้าให้แห้ง

3. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1 และข้อ 2 แต่ใช้สารละลายโซเดียมคลอไรด์ สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ น้ำอัดลม น้ำมะนาว น้ำมะขาม น้ำส้มสายชู น้ำขี้เถ้า น้ำสบู่ สารละลายผงซักฟอก และน้ำยาล้างห้องน้ำแทนสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ตามลำดับ


แท่งแก้วคนสาร

แท่งแก้ว

แท่งแก้ว

แท่งแก้วคนสาร


สารละลายตัวอย่าง

กระดาษชำระ

น้ำ

กระดาษลิตมัสสีแดง

กระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน

กระดาษสีขาว


การทดสอบสมบัติกรด เบสของสารละลาย การทำความสะอาดแท่งแก้วคนสาร













คำถามก่อนทำกิจกรรม
1. ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร __________________________________________________

_________________________________________________________________________________

2. ลองคาดคะเนว่าสารต่างๆ ที่ใช้ในการทดลองนี้เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสอย่างไร

_________________________________________________________________________________


ผลบันทึกการทำกิจกรรม

ตาราง การเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส เมื่อหยดด้วยสารละลายชนิดต่างๆ


สารละลาย

11. น้ำยาล้างห้องน้ำ

10. สารละลายผงซักฟอก

4. น้ำอัดลม

7. น้ำส้มสายชู

3. สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์

การเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส

สีแดง สีน้ำเงิน

9. น้ำสบู่

8. น้ำขี้เถ้า

6. น้ำมะขาม

5. น้ำมะนาว

2. สารละลายโซเดียมคลอไรด์

1. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต


คำถามหลังกิจกรรม

1. ผลการทดลองเป็นไปตามที่คาดคะเนไว้หรือไม่ อย่างไร_______________________________

____________________________________________________________________________

2. เมื่อนำสารละลายแต่ละชนิดมาทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสทั้งสองสี จะให้ผลแตกต่างกัน

หรือไม่ อย่างไร _______________________________________________________________

3. สารใดบ้างเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน _______________________________

____________________________________________________________________________

สารเหล่านี้จัดเป็นสารประเภทใด __________________________________________________

4. สารใดบ้างเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง ______________________________

____________________________________________________________________________

สารเหล่านี้จัดเป็นสารประเภทใด __________________________________________________

5. สารใดบ้างไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส ___________________________________________

____________________________________________________________________________

สารเหล่านี้จัดเป็นสารประเภทใด __________________________________________________

6. นักเรียนจะจำแนกสารในการทดลองนี้ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง และใช้เกณฑ์อะไร ____________________________________________________________________________ ____________________________________________________________________________

7. นักเรียนจะบอกสมบัติความเป็นกรด เบสของสารละลายได้อย่างไร

____________________________________________________________________________

____________________________________________________________________________

8. นักเรียนจะสรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร _________________________________________

____________________________________________________________________________

____________________________________________________________________________

9. นักเรียนได้นำสารอื่นๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมาทดสอบกับกระดาษลิตมัสอีกบ้างหรือไม่ ผลการทดสอบเป็นอย่างไร ______________________________________________________________________________

____________________________________________________________________________

____________________________________________________________________________





แบบทดสอบ

เรื่อง การทดสอบสารละลายกรด – เบส

---------------------------------------------------------------------------------------------

คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ปฏิกิริยาเคมีของกรดข้อใดถูกต้อง

ก. รวมกับไขมันสัตว์แล้วได้สบู่ ข. ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ

ค. รวมกับหินปูนได้น้ำอย่างเดียว ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

2. สารในข้อใดมีสมบัติเป็นกรด

ก. น้ำสบู่ ข. น้ำนมสด

ค. น้ำมะขาม ง. น้ำขี้เถ้า

3. ข้อใดไม่ใช้สารละลายกรด

ก. มี pH น้อยกว่า 7 ข. มี pH มากกว่า 7

ค. นำไฟฟ้าได้มีรสเปรี้ยว ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

4. สารใดต่อไปนี้เมื่อทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นผลิตภัณฑ์สบู่

ก. โซดาแผดเผา ไขมัน ข. โซดาไฟ เกลือแกง

ค. โซดาไฟ กรดเกลือ ง. โซดาไฟ ด่างคลี

5. กรดในข้อใดใช้ทำน้ำส้มสายชู

ก. กรดเกลือ ข. กรดซิตริก

ค. กรดแอซิติก ง. กรดคาร์บอนิก

6. ข้อใดไม่ใช้ปฏิกิริยาเคมีของเบส

ก. โซดาไฟร่วมกับแอมโมเนียมไนเตรตได้แก๊สแอมโมเนียม

ข. โซเดียมไอดรอกไซด์ไม่ทำปฏิกิริยากับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

ค. โซเดียมแผดเผารวมกับอะลูมิเนียมได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

ง. โซเดียมไอดรอกไซด์เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

7. สารชนิดใดที่นำมาทดสอบสารที่เป็นกรด

ก. น้ำเปล่า ข. เจนเชียวไวโอเลต

ค. คริสตัลไวโอเลต ง. ซัลฟิวริก

8. สารในข้อใดต่อไปนี้เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

ก. น้ำขี้เถ้า ข. น้ำอัดลม

ค. เกลือแกง ง. น้ำส้มสายชู

เฉลยแบบทดสอบ

เรื่อง การทดสอบสารละลายกรด – เบส

---------------------------------------------------------------------------------------------

คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ปฏิกิริยาเคมีของกรดข้อใดถูกต้อง

ก. รวมกับไขมันสัตว์แล้วได้สบู่ ข. ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ

ค. รวมกับหินปูนได้น้ำอย่างเดียว ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

2. สารในข้อใดมีสมบัติเป็นกรด

ก. น้ำสบู่ ข. น้ำนมสด

ค. น้ำมะขาม ง. น้ำขี้เถ้า

3. ข้อใดไม่ใช้สารละลายกรด

ก. มี pH น้อยกว่า 7 ข. มี pH มากกว่า 7

ค. นำไฟฟ้าได้มีรสเปรี้ยว ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

4. สารใดต่อไปนี้เมื่อทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นผลิตภัณฑ์สบู่

ก. โซดาแผดเผา ไขมัน ข. โซดาไฟ เกลือแกง

ค. โซดาไฟ กรดเกลือ ง. โซดาไฟ ด่างคลี

5. กรดในข้อใดใช้ทำน้ำส้มสายชู

ก. กรดเกลือ ข. กรดซิตริก

ค. กรดแอซิติก ง. กรดคาร์บอนิก

6. ข้อใดไม่ใช้ปฏิกิริยาเคมีของเบส

ก. โซดาไฟร่วมกับแอมโมเนียมไนเตรตได้แก๊สแอมโมเนียม

ข. โซเดียมไอดรอกไซด์ไม่ทำปฏิกิริยากับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

ค. โซเดียมแผดเผารวมกับอะลูมิเนียมได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

ง. โซเดียมไอดรอกไซด์เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

7. สารชนิดใดที่นำมาทดสอบสารที่เป็นกรด

ก. น้ำเปล่า ข. เจนเชียวไวโอเลต

ค. คริสตัลไวโอเลต ง. ซัลฟิวริก

8. สารในข้อใดต่อไปนี้เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

ก. น้ำขี้เถ้า ข. น้ำอัดลม

ค. เกลือแกง ง. น้ำโซดา















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น