กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานภาคเรียนที่1/2552 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สารและการจำแนก เวลา 49 ชั่วโมง เรื่อง สารเนื้อผสม เวลา 4 ชั่วโมง บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ...5-9...เดือน .......กรกฎาคม..........พ.ศ. ....2554......... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู1 |
สาระสำคัญ
สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน โดยมีอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน ซึ่งผลที่ได้จากการรวมกันนี้ อาจจะได้สารใหม่ซึ่งมีสมบัติเป็นสารเนื้อเดียว เช่น น้ำเกลือ น้ำอัดลม ทองเหลือง นาก เป็นต้น หรือได้สารเนื้อผสม เช่น พริกกับเกลือ น้ำกับแป้ง ฝุ่นละอองในอากาศ เป็นต้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สังเกต สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์ อภิปรายสมบัติต่าง ๆ ของสาร จำแนกสารออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามเนื้อสารหรือขนาดของอนุภาค
จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง
อธิบายความแตกต่างระหว่างสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม พร้อมทั้งสามารถบอกความแตกต่างระหว่างสารแขวนลอย และสารคอลลอยด์ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง
1. อธิบายสมบัติของสารเนื้อผสม สารแขวนลอย และคอลลอยด์ได้
2. จำแนกสารเนื้อผสม และนำสารเนื้อผสมมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
เนื้อหาสาระ
สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน โดยมีอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน ซึ่งผลที่ได้จากการรวมกันนี้ อาจจะได้สารใหม่ซึ่งมีสมบัติเป็นสารเนื้อเดียว เช่น น้ำเกลือ น้ำอัดลม ทองเหลือง นาก เป็นต้น หรือได้สารเนื้อผสม เช่น พริกกับเกลือ น้ำกับแป้ง ฝุ่นละอองในอากาศ เป็นต้น
1. คอลลอยด์
2. คอลลอยด์ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แนวปฏิบัติในการเรียน
การวัดผลประเมินผล/เกณฑ์การผ่านวิธีการซ่อมเสริมเมื่อไม้ผ่านเกณฑ์
2. นักเรียนสังเกตสารตัวอย่างที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ เช่น น้ำปลา น้ำอัดลม น้ำสลัด วุ้น
ส้มตำ ลอดช่องน้ำกะทิ แกงเผ็ด ต้มจืด แล้วร่วมกันอภิปรายว่า สารตัวอย่างที่สังเกตเป็นสารเนื้อเดียวหรือสารเนื้อผสม พร้อมกับให้เหตุผลในการจัดจำแนกสารดังกล่าว
3. ครูให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำสลัดและวุ้นว่า สารทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นสารเนื้อผสม
ที่กลมกลืน เรียกว่า คอลลอยด์
4. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน ศึกษาใบความรู้ เรื่อง สารเนื้อผสม ใบความรู้
เรื่อง คอลลอยด์
นักเรียนทำใบงาน เรื่อง สารเนื้อผสม และใบงาน เรื่อง คอลลอยด์ ครูถามคำถามนักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมตอบคำถาม พร้อมกับครูอธิบายไปพร้อมกัน
5. ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายสรุปเรื่องสารเนื้อผสม คอลลอยด์ พร้อมกับ
ยกตัวอย่างเพิ่มเติม
6. นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต
แล้วจัดทำแผนผังความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สารเนื้อผสม คอลลอยด์ ส่งครูในคาบถัดไป
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบความรู้ เรื่อง สารเนื้อผสม
2. ใบความรู้ เรื่อง คอลลอยด์
3. ใบงาน เรื่อง สารเนื้อผสม
4. ใบงาน เรื่อง คอลลอยด์
5. Power point
6. หนังสืออ่านเพิ่มเติม
7. Internet
การวัดผลประเมินผล
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
1 ผลการจัดการเรียนรู้
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................
นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............
2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................
3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
4 การปรับปรุงและพัฒนา
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
ลงชื่อ ............................................ผู้สอน
(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)
ครูอัตราจ้าง
ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ ........................................................
(นางทิพวดี อัครฮาด)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………….……...…
ลงชื่อ ........................................................
(นายสุชาติ อาจศัตรู)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ใบความรู้
เรื่อง สารเนื้อผสม
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
สารเนื้อผสม หมายถึง สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่สังเกตเห็นเนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน มีองค์ประกอบเป็นสารมากกว่า 1 ชนิด และแสดงสมบัติของสารไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วนของสาร อาจเรียกว่า สารผสม
สารผสม หมายถึง สารที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน โดยมีอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน ซึ่งผลที่ได้จากการรวมกันนี้ อาจจะได้สารใหม่ซึ่งมีสมบัติเป็นสารเนื้อเดียว เช่น น้ำเกลือ น้ำอัดลม ทองเหลือง นาก เป็นต้น หรือได้สารเนื้อผสม เช่น พริกกับเกลือ น้ำกับแป้ง ฝุ่นละอองในอากาศ เป็นต้น
สมบัติของสารเนื้อผสม
1. มีเนื้อสารที่ไม่เหมือนกับผสมอยู่
2. มองเห็นความแตกต่างขององค์ประกอบของสาร เนื่องจากเนื้อสารไม่รวมเป็น
เนื้อเดียวกัน
3. สารเนื้อผสมอาจเป็นสารที่อยู่ในสถานะเดียวกันมารวมกัน หรือต่างสถานะกัน
มารวมกันก็ได้ เช่น ดินปนทราย น้ำกับน้ำมัน เป็นต้น
สารแขวนลอย คือ ของผสมที่เกิดจากสาร 2 ชนิดมารวมกัน โดยที่อนุภาคของสาร
ชนิดหนึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 10-4 เซนติเมตร กระจายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางสารแขวนลอยถ้ามองดูด้วยตาเปล่าจะมีลักษณะขุ่น เนื่องจากโมเลกุลของสารที่แขวนลอยมีขนาดใหญ่หักเหแสงได้ไม่เท่ากัน โมเลกุลเหล่านี้จะแขวนลอยอยู่ได้ไม่นาน
คอลลอยด์ หมายถึง สารผสมที่ประกอบด้วยสาร 2 ชนิด ซึ่งสารชนิดหนึ่งมีอนุภาค
เล็กกว่าสารแขวนลอย คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 10-7 – 10-4 เซนติเมตร แต่ใหญ่กว่าอนุภาคของสารละลาย สามารถผ่านกระดาษกรองแต่ไม่สามารถผ่านกระดาษเซลโลเฟลได้ เรียกว่า
อนุภาคคอลลอยด์ ซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่อาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ได้เช่นกัน และทำให้มองคล้ายเป็นสารเนื้อเดียว
ใบงาน
เรื่อง สารเนื้อผสม
----------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. จงบอกความเหมือน และความแตกต่างระหว่างสารผสมกับสารเนื้อผสม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…
2. ให้นักเรียนจัดจำแนกสารในตารางต่อไปนี้ว่าเป็นสารผสมที่เป็นเนื้อเดียว หรือ
สารเนื้อผสมและให้บอกองค์ประกอบของสารนั้นด้วย
สาร | สารเนื้อเดียว | สารเนื้อผสม | องค์ประกอบของสาร |
1. ทับทิมกรอบน้ำกะทิ | | | |
2. ทองเหลือง | | | |
3. ผงตะไบเหล็กผสม ผงกำมะถัน | | | |
4. การบูรกับเกลือแกง | | | |
5. หมอก | | | |
6. น้ำเชื่อม | | | |
7. โคลน | | | |
8. น้ำอัดลม | | | |
9. วุ้น | | | |
10. น้ำส้มสายชู | | | |
ใบความรู้
เรื่อง คอลลอยด์
---------------------------------------------------------------------------------
คอลลอยด์ หมายถึง สารผสมที่ประกอบด้วยสาร 2 ชนิด ซึ่งสารชนิดหนึ่งมีอนุภาค
เล็กกว่าสารแขวนลอย คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 10-7 – 10-4 เซนติเมตร แต่ใหญ่กว่าอนุภาคของสารละลาย สามารถผ่านกระดาษกรองแต่ไม่สามารถผ่านกระดาษเซลโลเฟลได้ เรียกว่า
อนุภาคคอลลอยด์ ซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่อาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ได้เช่นกัน และทำให้มองคล้ายเป็นสารเนื้อเดียว
ชื่อคอลลอยด์ | อนุภาคคอลลอยด์ | สารอีกชนิดหนึ่ง |
หมอก | ละอองน้ำ(ของเหลว) | อากาศ(ก๊าซ) |
ควันไฟ ควันบุหรี่ | ผงถ่าน (ของแข็ง) | อากาศ(ก๊าซ) |
ฝุ่นละอองในอากาศ | ฝุ่นละออง (ของแข็ง) | อากาศ(ก๊าซ) |
สีทาบ้าน | เม็ดสี(ของแข็ง) | น้ำ(ของเหลว) |
ฟองอากาศในน้ำ | ฟองอากาศ(ก๊าซ) | น้ำ(ของเหลว) |
มีคอลลอยด์บางประเภทที่อนุภาคคอลลอยด์ไม่กระจายตัว เช่น น้ำมันพืชกับน้ำ เมื่อเขย่าและตั้งทิ้งไว้สักพักหนึ่ง น้ำกับน้ำมันพืชจะแยกจากกันเป็น 2 ชั้น โดยน้ำมันจะอยู่ข้างบนและน้ำจะอยู่ข้างล่าง เรียกสารผสมนี้ว่า อิมัลชัน
เราสามารถทำให้อิมัลชันกลายเป็นสารผสมที่อยู่ตัวได้ โดยใช้สารที่สามผสมลงไป เพื่อช่วยให้การผสมของสาร 2 สารดีขึ้น เรียกสารที่ 3 นี้ว่า อิมัลซิไฟเออร์ หรือ อิมัลซิไฟอิง เอเจนต์ซึ่งมีหน้าที่ทำให้อนุภาคของคอลลอยด์แตกตัวมีขนาดเล็กลง จึงอยู่ได้นาน เช่น น้ำกับน้ำมันพืชไม่ผสมกัน แต่ถ้าเติมน้ำสบู่ลงไปเล็กน้อย น้ำกับน้ำมันพืชจะผสมกันได้ แสดงว่า น้ำสบู่เป็น
อิมัลซิไฟเออร์
สารคอลลอยด์ในชีวิตประจำวัน
มีสารคอลลอยด์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเรา ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากการผสมสาร เช่น นม น้ำสลัด น้ำกะทิ ควันบุหรี่ ฝุ่นละอองในอากาศ น้ำสบู่ ผงซักฟอก แชมพูสระผม คอลลอยด์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และใช้ประโยชน์อย่างไร
สบู่หรือผงซักฟอก ในการซักผ้าเราต้องการล้างไขมันและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามเสื้อผ้าให้หลุดออกมากับน้ำที่แช่เสื้อผ้า สบู่หรือผงซักฟอกจะทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์
ใบงาน
เรื่อง คอลลอยด์
---------------------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง จงเติมข้อความในตารางให้สมบูรณ์ และหาตัวอักษรเติมลงในช่องปริศนาคำไขว้
โดยใช้ข้อมูลตามที่ให้ไว้
1. จากตารางให้นักเรียนระบุอนุภาค และสารที่เป็นองค์ประกอบของคอลลอยด์
ชื่อคอลลอยด์ | อนุภาคคอลลอยด์ | สารอีกชนิดหนึ่ง |
สีทาบ้าน | | |
ฟองอากาศในน้ำ | | |
น้ำสลัด | | |
นมสด | | |
2. ให้นำตัวอักษรหน้าข้อความด้านขวามือ มาใส่หน้าข้อความด้านซ้ายมือ
ที่มีความสัมพันธ์สอดคล้อง กัน
………1) สารที่ใช้ผสมลงไปเพื่อช่วยให้การผสมของสาร 2 ชนิด ก. อิมัลชั่น
ดีขึ้น
………2) เป็นคอลลอยด์ที่เกิดจากอนุภาคของของแข็ง หรือ ข. อิมัลซิไฟเออร์
ของเหลวกระจายตัวอยู่ในตัวกลางที่เป็นก๊าซ
………3) เป็นสารคอลลอยด์ที่ประกอบด้วยไขมันสัตว์ที่กระจาย ค. หมอก
อยู่ในน้ำ
………4) คอลลอยด์ที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ง. เมฆ
จ. ควันบุหรี่
ฉ.น้ำนม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น