กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย เวลา 49 ชั่วโมง เรื่อง ความหมายของสารละลายกรด -เบส เวลา 3 ชั่วโมง บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ....16-20...เดือน ......สิงหาคม.....พ.ศ. ....2554.......... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1 |
สาระสำคัญ
สารละลายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบส
กรด หมายถึง สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) ได้
เบส หมายถึง สารประกอบที่ทำปฏิกิริยากับกรดแล้วได้เกลือกับน้ำ เบสที่ละลายน้ำจะสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) เบสทุกชนิดจะมีรสฝาด
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สำรวจ ตรวจสอบสารเนื้อเดียว อภิปรายและอธิบายความหมายของสารละลายกรด – เบส นำความรู้เกี่ยวกับกรด – เบสไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง
สรุปเกี่ยวกับความหมายของสารละลายกรด – เบส ได้
จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง
1. บอกความหมายของสารละลายกรด – เบสได้
2. อธิบายลักษณะของสารละลายกรด – เบส ได้
3. ยกตัวอย่างกรด – เบสที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
เนื้อหาสาระ
สารละลายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบส
กรด หมายถึง สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) ได้
เบส หมายถึง สารประกอบที่ทำปฏิกิริยากับกรดแล้วได้เกลือกับน้ำ เบสที่ละลายน้ำจะสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) เบสทุกชนิดจะมีรสฝาด
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แนวปฏิบัติในการเรียน
การวัดผลประเมินผล /เกณฑ์การผ่าน วิธีการซ่อมเสริมเมื่อนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์
2. ทดสอบก่อนเรียน
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงสารเคมีที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยครูใช้
คำถามนำดังนี้
- สารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร
- สมบัติของสารที่ใช้ในบ้านเหล่านั้นเป็นอย่างไรบ้าง
4. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน ศึกษาใบความรู้ เรื่อง สมบัติของสารละลายกรด – เบส
แล้วบอกความเป็นกรด -เบสของสารที่นักเรียนรู้จัก โดยครูคอยให้คำปรึกษาแนะนำ
5. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการศึกษาใบความรู้พร้อมร่วมกันอภิปรายกับเกี่ยวกับสมบัติของ
สารที่เป็นกรด –เบส ได้ดังนี้
1. สารที่มีสมบัติเป็นกรด คือ สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจาก สีน้ำเงินเป็นสีแดง
2. สารที่มีสมบัติเป็นเบส คือ สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจาก สีแดงเป็นสีน้ำเงิน
3. สารที่มีสมบัติเป็นกลาง คือ สารที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตทั้งสองสี
6. นักเรียนร่วมกันสรุปถึงความหมายของสารละลายกรด – เบส
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบความรู้เรื่อง ความหมายของสารละลายกรด – เบส
2. ใบงานการตรวจสอบสารโดยใช้กระดาษลิตมัส
3. Power point
4. หนังสืออ่านเพิ่มเติม
การวัดผลประเมินผล
กิจกรรมเสนอแนะ
ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
1 ผลการจัดการเรียนรู้
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................
นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............
2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
4 การปรับปรุงและพัฒนา
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. .............................
ลงชื่อ ............................................ผู้สอน
(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)
ครูอัตราจ้าง
ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………..……
ลงชื่อ ...................................................
(นางทิพวดี อัครฮาด)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………
ลงชื่อ ......................................................
(นายสุชาติ อาจศัตรู)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ใบความรู้
เรื่อง ความหมายของสารละลายกรด – เบส
--------------------------------------------------------------------------------------------------
สารละลายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะและคุณสมบัติแตกต่างกัน บางชนิดมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง บางชนิดมีกลิ่นบางชนิดรับประทานได้ บางชนิรับประทานไม่ได้ มีรสเปรี้ยว รสฝาด เป็นต้น สมบัติความเป็นกรด – เบส เป็นสมบัติของสารที่เราต้องศึกษา จะทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากสารละลายกรด – เบส ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
กรด(acid) คือสารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออ น (H+) เกิดขึ้น ในสารละลายกรดทุกชนิดจะมีรสเปรี้ยว เช่น น้ำสมสายชูมีกรดแอซีติกเป็นองค์ประกอบ น้ำมะนาวมีกรดซิตริกเป็นองค์ประกอบ กรดมดแดงมีกรดฟอร์มิกเป็นองค์ประกอบ เป็นต้น กรดที่มีอยู่ในผลไม้ต่างๆเป็นกรดอ่อน ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของคนเรามากนักและเมื่อนำมาทดสอบกับน้ำยาเจนเชียลไวโอเลต(ยาสีม่วง )จะไม่เปลี่ยนสี แต่ถ้าเป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุที่คนเราสังเคราะห์ขึ้นจะมีความเข้มข้นสูง เช่นกรดไฮโดรคลอริก(กรดเกลือ) กรดไนตริก(กรดดินประสิว) กรดซัลฟิวริก(กรดกำมะถัน) จะมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง สามารถทำลายวัตถุ เสื้อผ้าผิวหนังและเนื้อเยื่อต่างของร่างกายได้ เมื่อนำมาทดสอบกับน้ำยาเจนเชียลไวโอเลตจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน ดังนั้นภาชนะที่บรรจุกรดจึงนิยมภาชนะที่ทำด้วยแก้ว เช่นขวดแก้ว ซึ่งจะต้องติดป้ายแสดงให้ชัดเจนว่า เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน อีกทั้งการนำสารที่เป็นกรดมาใช้ต้องระมัดระวังและใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้การใช้สารเคมีที่ปลอดภัยด้วยเบส
ใบงาน
การตรวจสอบสารโดยใช้กระดาษลิตมัส
อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ ( สำหรับ 1 กลุ่ม )
1. นมสด น้ำผงซักฟอก สบู่ น้ำอัดลม น้ำชา น้ำคั้นจากผัก ผลไม้ น้ำฝน น้ำยาล้างจาน น้ำยาลดกรด น้ำมะขาม ผงฟู ขี้เถ้า โซเดียมคลอไรด์ ( น้ำเกลือ ) น้ำปูนใส
2. กระดาษลิตมัส
3. แท่งแก้วคนสาร
4. หลอดทดลอง
5. แผ่นกระจก
6. กรรไกร
คำถามก่อนการทดลอง
1. เพราะเหตุใดจึงต้องนำกระดาษลิตมัสมาวางบนกระดาษสีขาวหรือแผ่นกระจกที่แห้งและสะอาด.............................................................................................................................................................
2. การวางกระดาษลิตมัสควรวางแต่ละแผ่นให้อยู่ห่างกันพอสมควรเพื่อ..........................
...................................................................................................................................................................
3. เพราะเหตุใดจึงต้องใช้แท่งแก้วที่สะอาดจุ่มสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ( ผงฟู ) แล้วนำมาแตะกับกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง...............................................................
4. เพราะเหตุใดจึงต้องล้างแท่งแก้วและเช็ดให้สะอาดก่อนนำไปจุ่มในสารละลายอื่น........
...................................................................................................................................................................
ขั้นตอนการทดลอง
1. นำแท่งแก้วที่สะอาดจุ่มลงในสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต แล้วนำมาแตะกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดงที่วางบนกระดาษขาวสังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
2. ล้างแท่งแก้วให้สะอาด
3. ทำการทดลองข้อ 1 , 2 แต่ใช้สารละลายของโซเดียมคลอไรด์ สารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์ ( น้ำปูนใส ) นมสด น้ำผงซักฟอก สบู่ น้ำอัดลม น้ำชา น้ำคั้นจากผัก ผลไม้ น้ำฝน น้ำยาล้างจาน น้ำยาลดกรด น้ำมะขาม ผงฟู ขี้เถ
การมอบงาน
1. นักเรียนศึกษาใบงาน เรื่อง การตรวจสอบสารโดยใช้กระดาษลิตมัสให้เข้าใจ
2. ปฏิบัติตามขั้นตอนในใบงาน
3. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการทดลองและแยกประเภทของสารที่ตรวจสอบ
4. ตอบคำถามหลังการทดลอง
คำถามหลังการทดลอง
1. ในการทดสอบโดยใช้กระดาษลิตมัส จะต้องใช้กระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี เพราะ.............
...................................................................................................................................................................
2. สารที่นำมาทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสมีสารใดบ้างที่สามารถเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมั ทั้ง 2 สีได้พร้อมกัน........................................................................................................................................
3. สารที่นำมาทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสมีสารใดบ้างที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส ทั้งสอง........................................................................................................................................
การประเมินผล
1. การวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางการทดลอง โดยใช้แบบประเมินการคิดวิเคราะห์
2. การตอบคำถามหลังการทดลอง โดยใช้แบบประเมินการคิดวิเคราะห์
เฉลยใบงาน
ชื่องาน การตรวจสอบสารโดยใช้กระดาษลิตมัส
คำถามก่อนการทดลอง
1. เพราะเหตุใดจึงต้องนำกระดาษลิตมัสมาวางบนกระดาษสีขาวหรือแผ่นกระจกที่แห้งและสะอาด…….( เพื่อไม่ให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน )...............................................................
2. การวางกระดาษลิตมัสควรวางแต่ละแผ่นให้อยู่ห่างกันพอสมควรเพื่อ.........( ป้องกันไม่ให้สารละลายแต่ละชนิดที่นำไปแตะไหลไปหากัน ซึ่งจะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้ ).........
3. เพราะเหตุใดจึงต้องใช้แท่งแก้วที่สะอาดจุ่มสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
( ผงฟู ) แล้วนำมาแตะกับกระดาษลิตมัสทั้งสีน้ำเงินและสีแดง....( เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี )............................................................................................................................
4. เพราะเหตุใดจึงต้องล้างแท่งแก้วและเช็ดให้สะอาดก่อนนำไปจุ่มในสารละลายอื่น..................... ( เพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนในการทดลอง )......................................................
คำถามหลังการทดลอง
1. ในการทดสอบโดยใช้กระดาษลิตมัส จะต้องใช้กระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี เพราะ............
( สารต่างชนิดกันมีสมบัติให้การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสได้ต่างกัน ).......................................................
2. สารที่นำมาทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสมีสารใดบ้างที่สามารถเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สีได้พร้อมกัน.............( ไม่มี )..............................................................................................
3. สารที่นำมาทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสมีสารใดบ้างที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส ทั้งสอง..............( น้ำเกลือ น้ำปูนใส )............................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น