วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ที่14

                                                  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย เวลา 49 ชั่วโมง
เรื่อง สมบัติของสารละลายกรด -เบส เวลา 5 ชั่วโมง
บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ...23-3....เดือน ....กันยายน.....พ.ศ. ....2554............... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1


สาระสำคัญ

สมบัติของสารละลายกรด – เบส

1. สมบัติของสารละลายกรด

2. สมบัติของสารละลายเบส


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง


สำรวจ ตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายสมบัติของสารละลายกรด – เบส


จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง


สรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารละลายกรด เบส ได้


จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง


1. บอกสมบัติของความเป็นสารละลายกรด เบสได้

2. อธิบายลักษณะและทำการทดลองสมบัติของสารละลายกรด – เบส ได้

3. ยกตัวอย่างกรด เบสที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้


เนื้อหาสาระ


สมบัติของสารละลายกรด – เบส

สารที่เป็นกรด

กรดมีสมบัติดังนี้

1. คือมีรสเปรี้ยว

2. เปลี่ยนสีกระดาษลิสมัตจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

3. กรดทำปฏิกิริยากับโลหะเกิดก๊าซไฮโดรเจน และทำให้โลหะผุกร่อน

4. กรดทำปฏิกิริยากับหินปูนเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้หินปูนผุกร่อน

5. กัดกร่อนพลาสติกและสารเคมีอื่น ๆ ในเนื้อพลาสติก

นักเคมีได้มีการกำหนดความเป็นกรดเบสของสารละลายโดยใช้ค่า pH

เป็นตัวกำหนด กล่าวคือ

ถ้าสารละลายใดมี pH น้อยกว่า 7 จะแสดงความเป็นกรด

ถ้าสารละลายใดมี pH เท่ากับ 7 จะแสดงความเป็นกลาง

ถ้าสารละลายใดมี pH มากกว่า 7 จะแสดงความเป็นเบส

เมื่อใช้แหล่งที่มาของกรดเป็นเกณฑ์ จะแบ่งกรดได้เป็น 2 ประเภท คือ

กรดจากแร่ธาตุ และกรดจากพืช

สารที่เป็นเบส

เบสมีสมบัติทั่วไป คือ


1. มีรสฝาด

2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

3. เมื่อสัมผัสมือจะรู้สึกลื่น และกัดผิวหนัง

4. ทำปฏิกิริยากับอะลูมิเนียมเกิดก๊าซไฮโดรเจน และทำให้อะลูมิเนียมผุกร่อน

5. ทำปฏิกิริยากับน้ำมันหรือไขมันจะได้สบู่

6. ทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียมไนเตรตได้ก๊าซแอมโมเนีย


จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง


1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสารที่ใช้ในบ้านบางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิด

มีสมบัติเป็นเบส นักเรียนทราบหรือไม่ว่าสารที่มีสมบัติเป็นกรด หรือเป็นเบส จะมีสมบัติอื่น ๆ อย่างไรอีกบ้าง และจะทดสอบสมบัติของกรดหรือเบสได้อย่างไร

2. นักเรียนแต่ละกลุ่ม ศึกษาใบกิจกรรม เรื่อง กรดมีสมบัติอย่างไร ใบกิจกรรม เรื่อง เบสมีสมบัติอย่างไร แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม วางแผน เตรียมอุปกรณ์ ปฏิบัติกิจกรรมตามรายละเอียดในใบกิจกรรม โดยครูคอยให้คำปรึกษาแนะนำ

3. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อ ร่วมอภิปรายกับกลุ่มอื่น ๆ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารที่เป็นกรด เบส

4. นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง สมบัติของกรด ใบความรู้ เรื่องสมบัติของเบส พร้อมช่วยกันตอบคำถาม

5. นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรม เรื่อง สมบัติของสารที่ใช้ในบ้านเพื่อบอกความเป็นกรด – เบส

6. นักเรียนร่วมกันสรุปถึงคุณสมบัติของสารละลายกรด – เบส

7. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต จัดทำแผนผังความคิดรวบยอดส่งครูในสัปดาห์ต่อไป


สื่อ/แหล่งเรียนรู้


1. ใบกิจกรรม เรื่อง สมบัติของสารที่ใช้ในบ้านเพื่อบอกความเป็นกรด - เบส

2. ใบกิจกรรม เรื่อง กรดมีสมบัติอย่างไร

3. ใบกิจกรรม เรื่อง เบสมีสมบัติอย่างไร

4. ใบความรู้ เรื่อง สมบัติของกรด

5. ใบความรู้ เรื่อง สมบัติของเบส

6. หนังสืออ่านเพิ่มเติม

7. Internet

8. Power point


การวัดผลประเมินผล



วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน
1.สังเกตพฤติกรรม
2.ตรวจผลการปฏิบัติงาน
3.ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4. ตรวจผลงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรม
แบบบันทึกการตรวจ
ผลการปฏิบัติงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60


กิจกรรมเสนอแนะ

ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน




บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

1 ผลการจัดการเรียนรู้

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................

นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............


2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน

................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. .........................


3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .................................

4 การปรับปรุงและพัฒนา

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. .............................


ลงชื่อ ............................................ผู้สอน

(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)

ครูอัตราจ้าง









ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ ...................................................

(นางทิพวดี อัครฮาด)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์



ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ ......................................................

(นายสุชาติ อาจศัตรู)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ










ใบกิจกรรม

เรื่อง สมบัติของสารที่ใช้ในบ้านเพื่อบอกความเป็นกรด - เบส

----------------------------------------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์ ปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถดังนี้

1. จำแนกสารที่ใช้ในบ้านโดยใช้สมบัติความเป็นกรด เบสได้

2. ทดลองและสรุปสมบัติของสารเมื่อทำปฏิกิริยากับกระดาษลิตมัสได้

กิจกรรมกลุ่ม

1. ใส่สารตัวอย่างที่กำหนดให้ลงในหลอดทดลองขนาดเล็กชนิดละ 10 หลอด

2. นำแท่งแก้วที่สะอาดจุ่มลงในสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต(ผงฟู)

แล้วนำมาแตะกับกระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน และสีแดงที่วางบนกระดาษสีขาว

สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล

3. ล้างแท่งแก้วให้สะอาด ทำการทดลองข้อ 1 – 2 ซ้ำ กับสารชนิดต่าง ๆ ที่กำหนด

4. หยดสารละลายยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ลงไปในหลอดทดลอง หลอดละ 1 หยด

สังเกตสีของสารละลาย และประมาณค่า pH โดยเปรียบเทียบกับสีของ

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ในสารละลาย pH ต่าง ๆ บันทึกผล

ตัวอย่างตารางบันทึกผล


สารที่ใช้ทดสอบ
ผลการทดสอบ
ผลการทดสอบกับ
ยูนิเวิร์ซัล
สารละลาย
อินดิเคเตอร์
กระดาษลิตมัส

สีสารละลาย

PH สารละลาย
1. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
2. สารละลายโซเดียมคลอไรด์
3. สารละลายแคลเซียม
ไฮดรอกไซด์
4. น้ำอัดลม
5. น้ำยาล้างห้องน้ำ
6. น้ำมะนาว
7. น้ำส้มสายชู
8. น้ำประปา
9. น้ำสบู่
10. น้ำขี้เถ้า

คำถามหลังทำกิจกรรม

1. เมื่อนำสารแต่ละชนิดมาทดสอบกับกระดาษลิตมัสได้ผลอย่างไร

2. เมื่อนำสารแต่ละชนิดมาทดสอบกับสารละลายยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

ได้ผลอย่างไร

3. จากผลการทดลองนักเรียนจะจำแนกสารได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

4. นักเรียนใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสาร

5. จากข้อมูลทั้งหมดนักเรียนจะสรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร

















ใบกิจกรรม

เรื่อง กรดมีสมบัติอย่างไร

-----------------------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถดังนี้

1. ทดลองและสรุปสมบัติที่ทดสอบอย่างง่าย ๆ ของกรดได้

2. บอกได้ว่ากรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน และเนื้อเยื่อ

3. บอกได้ว่ากรดทำปฏิกิริยากับโลหะและหินปูนเกิดก๊าซ

กิจกรรมกลุ่ม ตอนที่ 1 กรดมีสมบัติอย่างไร


1. เติมสารละลายกรดอะซิติก(กรดน้ำส้ม) ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 2 หลอด

หลอดละ 5 cm3

2.ใช้แท่งแก้วจุ่มลงในสารละลายกรดแล้วนำมาแตะกับกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดงที่วางบนกระดาษขาว สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผลการทดลอง

3. เติมสังกะสีตามขนาด 1x 1 cm ลงในสารละลายกรดหลอดที่ 1 สังเกตและบันทึกผล

4. เติมหินปูน 3 – 4 ก้อนเล็ก ๆ ลงในสารละลายกรดหลอดที่ 2 สังเกตการเปลี่ยนแปลง

และบันทึกผล

5. ทำการทดลองซ้ำ จากข้อ 1-4 แต่ใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)

กรดซัลฟิวริก(กรดกำมะถัน) แทนกรดอะซิติก ตามลำดับ

ตัวอย่างตารางบันทึกผล


ผลการทดลอง

สาร

ผลการทดสอบ

กระดาษลิตมัส

ทำปฏิกิริยากับ
สังกะสี
ทำปฏิกิริยากับ
หินปูน
สีน้ำเงิน
สีแดง

กรดอะซิติก

กรดไฮโดรคลอริก

กรดซัลฟิวริก



คำถามหลังทำกิจกรรม

1. สารละลายกรดทั้งสามชนิดมีการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสอย่างไร

2. เมือ่เติมสังกะสีลงในสารละลายกรด จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร

3. เมื่อใส่หินปูนลงในสารละลายกรด จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร

4. นักเรียนจะสรุปผลการทดลองนี้ได้ว่าอย่างไร

กิจกรรมกลุ่มตอนที่ 2 ที่มาของกรด


1. นำสารละลายกรดอะซิติก 3 cm3 ใส่ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง จากนั้นหยดสารละลายเจนเชียนไวโอเลต 1 หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลง และบันทึกผล

2. ทำเหมือนข้อ 1 แต่ใช้สารละลายอื่น ๆ แทนกรดอะซิติก คือ น้ำมะนาว น้ำมะขามมะกรูด กรดซัลฟิวริก กรดเกลือ

ตัวอย่างตารางบันทึกผล



สารละลาย
ผลการทดลอง
1.กรดอะซิติก
2. น้ำมะนาว
3. น้ำมะขาม
4. น้ำมะกรูด
5. กรดซัลฟิวริก
6. กรดเกลือ


คำถามหลังทำกิจกรรม


1. จากผลการทดลองกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลต จะจำแนกกรดได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

2. แหล่งที่มาของกรดจากผลการทดลองมีแหล่งที่มาจากอะไร

3.
สรุปผลการทดลอง





ใบกิจกรรม

เรื่อง เบสมีสมบัติอย่างไร

-------------------------------------------------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถดังนี้

1. ทดลองและสรุปสมบัติของเบสได้

2. บอกผลการทดลองของสารแอมโมเนียมไนเตรต น้ำมันพืช และเศษอะลูมิเนียม เมื่อทำปฏิกิริยากับเบสได้

กิจกรรมกลุ่ม


1. เติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 3 หลอด

หลอดละ 3 cm3

2. ใช้แท่งแก้วจุ่มลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นนำมาแตะกับกระดาษ

ลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดงที่วางบนกระดาษขาว สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง

3. เติมแอมโมเนียมไนเตรต 1 ช้อน เบอร์ 2 ลงในสารละลายหลอดที่ 1 สังเกตบันทึกผล

การเปลี่ยนแปลง (ถ้าผลไม่ชัดเจนให้อุ่นหลอดทดลองให้ร้อน)

4. เติมชิ้นอะลูมิเนียมลงในสารละลายหลอดที่ 2 สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง

5. เติมน้ำมันหมูหรือน้ำมันพืช 3 หยด ลงในสารละลายหลอดที่ 3 จากนั้นอุ่นให้ร้อน

ประมาณ 60 องศาเซลเซียส สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง จากนั้นนำมาละลายกับน้ำเพื่อศึกษาการละลาย บันทึกผลการทดลอง

6. ทำการทดลองซ้ำตั้งแต่ข้อ 1 – 5 แต่ใช้กับสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์

(ด่างคลี)สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์(น้ำปูนใส) แทนสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์(โซดาแผดเผาหรือโซดาไฟ) ตามลำดับ

ตัวอย่างตารางบันทึกผล


การทดลอง
สารที่ใช้ทดสอบ

โซเดียมไฮดรอกไซด์

โพแทสเซียม
ไฮดรอกไซด์
แคลเซียม
ไฮดรอกไซด์
1. กระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน
2. กระดาษลิตมัสสีแดง
3. แอมโมเนียมไนเตรต
4. โลหะอะลูมิเนียม
5.น้ำมันหมู หรือน้ำมันพืช
ก่อนเติมน้ำ

คำถามหลังทำกิจกรรม

1. กระดาษลิตมัสสีน้ำเงินและสีแดง เมื่อถูกกับสารละลายเบสจะเป็นอย่างไร

2. แอมโมเนียมไนเตรตเมื่อเติมลงในสารละลายเบสจะเกิดอะไรขึ้น

3. โลหะอะลูมิเนียมเมื่อใส่ลงในสารละลายเบสจะเกิดอะไรขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับชิ้นของโลหะนั้น

4. น้ำมันหมูหรือน้ำมันพืช เมื่อนำมาใส่ลงในสารละลายเบส จะเกิดสิ่งใดขึ้น และเมื่อนำมาละลายน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นเหมือนกับการใช้สารใดมาละลายน้ำ ที่นักเรียนคุ้นเคย

5.
นักเรียนจะสรุปผลการทดลองได้อย่างไร


















ใบความรู้

เรื่อง สมบัติของกรด

---------------------------------------------------------------------------------

สารที่เป็นกรด

กรดมีสมบัติดังนี้

6. คือมีรสเปรี้ยว

7. เปลี่ยนสีกระดาษลิสมัตจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

8. กรดทำปฏิกิริยากับโลหะเกิดก๊าซไฮโดรเจน และทำให้โลหะผุกร่อน

9. กรดทำปฏิกิริยากับหินปูนเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้หินปูนผุกร่อน

10. กัดกร่อนพลาสติกและสารเคมีอื่น ๆ ในเนื้อพลาสติก

นักเคมีได้มีการกำหนดความเป็นกรดเบสของสารละลายโดยใช้ค่า pH

เป็นตัวกำหนด กล่าวคือ

ถ้าสารละลายใดมี pH น้อยกว่า 7 จะแสดงความเป็นกรด

ถ้าสารละลายใดมี pH เท่ากับ 7 จะแสดงความเป็นกลาง

ถ้าสารละลายใดมี pH มากกว่า 7 จะแสดงความเป็นเบส

เมื่อใช้แหล่งที่มาของกรดเป็นเกณฑ์ จะแบ่งกรดได้เป็น 2 ประเภท คือ

กรดจากแร่ธาตุ และกรดจากพืช

ตาราง เปรียบเทียบสมบัติระหว่างกรดจากแร่ธาตุและกรดจากพืช


รายการ
กรดจากแร่ธาตุ
กรดจากพืช
1.
ลักษณะการทำปฏิกิริยา
2. อันตรายจากการบริโภค
3. ผลการทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส
4. ตัวอย่างกรด
รุนแรง
มาก
เปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน
กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน)
กรดไฮโดรคลอริก(กรดเกลือ)
ไม่ค่อยรุนแรง
ไม่มาก
ไม่เปลี่ยนสี
กรดแอซิติก(กรดน้ำส้ม)
น้ำมะนาว น้ำมะกรูด
น้ำมะขาม

ใบความรู้

เรื่อง สมบัติของเบส

--------------------------------------------------------------------------------------

สารที่เป็นเบสมีสมบัติทั่วไป คือ


7. มีรสฝาด

8. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

9. เมื่อสัมผัสมือจะรู้สึกลื่น และกัดผิวหนัง

10. ทำปฏิกิริยากับอะลูมิเนียมเกิดก๊าซไฮโดรเจน และทำให้อะลูมิเนียมผุกร่อน

11. ทำปฏิกิริยากับน้ำมันหรือไขมันจะได้สบู่

12. ทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียมไนเตรตได้ก๊าซแอมโมเนีย


ผลของเบสที่มีต่อร่างกาย


1. กัดเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตและโลหะบางชนิด เมื่อร่างกายถูกเบสต้องรีบล้างออกทันที

2. เบสบางชนิดมีสมบัติกัดกร่อนรุนแรง ถ้าบริโภคจะเกิดอันตราย จึงควรหลีกเลี่ยง

3. การบริโภคเบสควรใช้เพียงเล็กน้อย เพราะถ้ามากจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ถ้าจำเป็นต้องใช้ปรุงแต่งอาหารควรเลือกใช้ชนิดที่ไม่มีฤทธิ์กัดรุนแรง

ตัวอย่างสารที่เป็นเบส เช่น ผงฟู น้ำปูนใส น้ำขี้เถ้า โซเดียมคาร์บอเนต(โซดาซักผ้า) โซเดียมไฮดรอกไซด์(โซดาแผดเผาหรือโซดาไฟ)








ใบความรู้

ความเข้มข้นของสารละลายกรด – เบส และการตรวจสอบ


การตรวจสอบความเป็นกรด – เบส ของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัสและการใช้ผลการตรวจสอบเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มสาร พบว่ากรดเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง ส่วนเบสเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน นอกจากการตรวจสอบสมบัติของกรดและเบสด้วยกระดาษลิตมัสแล้วยังมีสารชนิดใดอีกบ้างที่สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบสมบัติของกรดและเบสได้ เช่น บรอมไทมอลบลู พินอล์ฟทาลีน เมทิลเรจ เมทิลออเรนจ์ และยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ จึงจัดสารเหล่านี้เป็นอินดิเคเตอร์ สำหรับกรด – เบส ( acid – base indicator ) ผลการตรวจสอบสมบัติของสารหลายชนิดด้วยกระดาษลิตมัสและอินดิเคเตอร์ชนิดต่าง ๆ สามารถบอกได้เพียงว่าสารนั้นเป็นกรดหรือเบสเท่านั้น จึงไม่สามารถระบุได้ว่าสารชนิดเดียวกันที่มีความเข้มข้นต่างกัน เมื่อตรวจสอบสมบัติด้วย อินดิเคเตอร์ชนิดเดียวกัน อาจได้ผลแตกต่างกันด้วย

การระบุความเป็นกรด – เบสของสารละลาย จะใช้ความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน

ซึ่งเกิดจากไฮโดนเจนที่แตกตัวออกมาจากการรวมตัวกับน้ำ สารละลายที่เป็นกรดจะมีความเข้มข้นของไฮโดร เนียมไอออนมากกว่าสารละลายที่เป็นเบส แต่ยังมีวิธีการอื่นที่ใช้ระบุความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย เช่น ระบุเป็นค่า pH ( potential of hydrogen ion ) ค่านี้มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน สารละลายที่มี pH เท่ากับ 7 จะมีสมบัติเป็นกลาง สารละลายที่มี pH ต่ำกว่า 7 จะมีสมบัติเป็นกรด ส่วนสารละลายที่มี pH สูงกว่า 7 จะมีสมบัติเป็นเบส

อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดจะเปลี่ยนสีที่ pH แตกต่างกัน ข้อมูลแสดงช่วงการเปลี่ยนสีของ อินดิเคเตอร์บางชนิด แสดงในตาราง



ตาราง แสดงช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์บางชนิด


อินดิเคเตอร์
ช่วง pH ของการเปลี่ยนสี
สีที่เปลี่ยน
เมทิลออเรนจ์
เมทิลเรด
ลิตมัส
บรอมไทมอลบลู
ฟินอลเรด
ฟินอล์ฟทาลีน
3.2 – 4.4
4.2 – 6.3
5.0 – 8.0
6.0 – 7.6
6.8 – 8.4
8.3 – 10.0
แดง – เหลือง
แดง – เหลือง
แดง – น้ำเงิน
เหลือง – น้ำเงิน
เหลือง – แดง
ไม่มีสี – ชมพูเข้ม


จากตาราง จะพบว่า ช่วงการเปลี่ยนสีและสีที่เปลี่ยนสอดคล้องกับผลการศึกษาจากกิจกรรม เช่น สารละลายฟินอล์ฟทาลีนจะไม่เปลี่ยนสีในกรด แต่เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มในเบส อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดจะเปลี่ยนสีที่ pH ช่วงใดช่วงหนึ่งเท่านั้น และอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดจะเปลี่ยนสีที่ pH ต่าง ๆ กัน การใช้อินดิเคเตอร์เพียงชนิดเดียวตรวจสอบความเป็นกรด – เบส ของสารละลายจึงบอกค่าได้เป็นช่วงของ pH เท่านั้น ต่างจากยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ที่เปลี่ยนสีทุกช่วงค่าของ pH จึงใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์บอกค่า pH ตั้งแต่ 1 – 14 ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์เตรียมได้โดยนำอินดิเคเตอร์หลายชนิด เช่น เมทิลเรด เมทิลเยลโคว์ ไทมอลบลู บรอมไทมอลบลู มาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ที่เตรียมได้สามารถนำมาใช้ได้ทั้งในรูปของสารละลายและกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

นอกจากการสังเกตการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์แล้วยังสามารถใช้เครื่องมือวัด pH ที่เรียกว่า pH meter ตรวจสอบ pH ของสารละลายได้อีกด้วย









ใบงาน

เรื่อง สมบัติบางประการของสารละลายกรด



อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ ( สำหรับ 1 กลุ่ม )

1. กรดแอซีติก ( กรดน้ำส้ม )

2. กรดไฮโดรคลอริก ( กรดเกลือ )

3. น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำมะนาวและน้ำกลั่น

4. สารละลายฟินอล์ฟทาลีน

5. แผ่นสังกะสีชิ้นเล็ก ๆ

6. เปลือกไข่และเกล็ดหินปูน

7. หลอดทดลอง

8. กระดาษลิตมัส


คำถามก่อนการทดลอง

1. ใช้กระดาษลิตมัสตรวจสอบสิ่งใด................................................................................

2. เพราะเหตุใดจึงเติมสังกะสีชิ้นเล็ก ๆ ลงไปในสารละลายหลอดที่ 1 และเติมหินปูนก้อนเล็ก ๆ ลงไปในสารละลายหลอดที่ 2................................................................................................

3. นำสารละลายในหลอดทดลองมาทดสอบกับกระดาษลิตมัส ควรใช้นิ้วมือสัมผัสกับสารโดยตรงหรือไม่...................เพราะเหตุใด...........................................................................................


ขั้นตอนการทดลอง

1. ใส่สารละลายกรดกรดแอซีติก ( กรดน้ำส้ม ) ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก 4 หลอด หลอดละ 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. ใช้กระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงินตรวจสอบความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย ในหลอดที่ 1 บันทึกผล

3. หยดสารละลายฟินอล์ฟทาลีนลงในหลอดทดลองหลอดที่ 2 จำนวน 2 หยด สังเกตสี ของสารละลาย บันทึกผล

4. เติมเปลือกไข่หรือเกล็ดหินปูน 2 – 3 เกล็ด ลงในหลอดทดลองที่ 3 สังเกตและบันทึกผล

5. ใส่ชิ้นสังกะสี ขนาด 1 เซนติเมตร ´ 1 เซนติเมตร ลงในหลอดทดลองหลอดที่ 4 สังเกต การเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล

6. ทำการทดสอบซ้ำ ข้อ 1 – 5 แต่เปลี่ยนจากสารละลายกรดแอซีติก ( กรดน้ำส้ม )

เป็นสารละลายกรดกรดไฮโดรคลอริก ( กรดเกลือ ) เจือจาง น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำมะนาว และน้ำกลั่นแทน




การมอบงาน

1. นักเรียนศึกษาใบงาน เรื่อง สมบัติบางประการของสารละลายกรด

2. ปฏิบัติตามขั้นตอนในใบงาน

3. ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง

4. ช่วยกันวิเคราะห์ตอบคำถามหลังการทดลอง

5. ช่วยกันอภิปรายสรุปผลการทดลอง


คำถามหลังการทดลอง

1. สารละลายกรดทั้ง 3 ชนิด เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีอะไรเป็นสีอะไร................................กระดาษสีใดไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง.....................................................................

2. เมื่อเติมสังกะสีลงในกรดแต่ละชนิดแล้ว กรดชนิดใดที่มีการเปลี่ยนแปลง.................................และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร.................................................................................

3. เมื่อเติมหินปูนลงในกรดแต่ละชนิด กรดชนิดใดที่มีการเปลี่ยนแปลง........................................และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร..........................................................................

4. ในระหว่างการทำกิจกรรม ถ้ากรดรดร่างกาย ควรปฏิบัติอย่างไร.................................

...................................................................................................................................................................

เฉลยใบงาน

ชื่องาน สมบัติบางประการของสารละลายกรด


คำถามก่อนการทดลอง

1. ใช้กระดาษลิตมัสตรวจสอบสิ่งใด..........( ความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย )..........

2. เพราะเหตุใดจึงเติมสังกะสีชิ้นเล็ก ๆ ลงไปในสารละลายหลอดที่ 1 และเติมหินปูนก้อนเล็ก ๆ ลงไปในสารละลายหลอดที่ 2...........( เพื่อศึกษาสมบัติของกรด )..........................................

3. นำสารละลายในหลอดทดลองมาทดสอบกับกระดาษลิตมัส ควรใช้นิ้วมือสัมผัสกับสารโดยตรงหรือไม่.......( ไม่ควร )........เพราะเหตุใด.........( เพราะสารละลายอาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังหรือเนื้อเยื่อของร่างกายได้ )..........................................................................................................


คำถามหลังการทดลอง

1. สารละลายกรดทั้ง 3 ชนิด เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีอะไรเป็นสีอะไร..........( สีน้ำเงินเป็นสีแดง )..........กระดาษสีใดไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง.........( กระดาษลิตมัสสีแดง ).........................

2. เมื่อเติมสังกะสีลงในกรดแต่ละชนิดแล้ว กรดชนิดใดที่มีการเปลี่ยนแปลง....( กรดทั้ง 3 ชนิด เกิดการเปลี่ยนแปลง )...และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร..( มีฟองก๊าซเกิดขึ้น สังกะสีผุกร่อน )..

3. เมื่อเติมหินปูนลงในกรดแต่ละชนิด กรดชนิดใดที่มีการเปลี่ยนแปล..( กรดทั้ง 3 ชนิดเกิดการเปลี่ยนแปลง )..และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร..( มีฟองก๊าซเกิดขึ้นหินปูนหลุดเป็นชิ้นเล็ก ๆ )...

4. ในระหว่างการทำกิจกรรม ถ้ากรดรดร่างกาย ควรปฏิบัติอย่างไร.....( ให้รีบล้างออก และแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทราบทันที )................................................................................................











ใบงาน

ชื่องาน สมบัติบางประการของเบส


อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้

1. โซเดียมไฮดรอกไซด์ ( โซดาไฟ )

2. โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ( ด่างคลี )

3. แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ( น้ำปูนใส )

4. กระดาษลิตมัส

5. แอมโมเนียไนเตรต

6. เศษแมกนีเซียม

7. น้ำมันพืชหรือน้ำมันหมู

8. เศษอะลูมิเนียม

9. หลอดทดลอง

10. ขาตั้ง

11. ช้อนตวง


คำถามก่อนการทดลอง

1. เพราะเหตุใดจึงเติมแอมโมเนียไนเตรต น้ำมันพืชหรือน้ำมันหมู เศษอะลูมิเนียมลงในหลอดทดลอง.........................................................................................................................................

2. ถ้าเบสหกรดมือควรล้างออกทันที เนื่องจาก...................................................................


ขั้นตอนการทดลอง

1. เติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ( โซดาไฟ ) เจือจาง ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 5 หลอด หลอดละ 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. ใช้กระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงินตรวจสอบความเป็นกรด – เบส ของสารละลายในหลอด ที่ 1 บันทึกผล

3. เติมแอมโมเนียไนเตรตลงในหลอดทดลองหลอดที่ 2 จำนวน 1 ช้อนเบอร์ 2 สังเกต การเปลี่ยนแปลง บันทึกผล

4. เติมเศษแมกนีเซียมลงในหลอดทดลองที่ 3 สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล

5. เติมเศษอะลูมิเนียมลงในหลอดทดลองที่ 4 สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล

6. เติมน้ำมันพืชหรือน้ำมันหมู 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรลงไปในหลอดทดลองที่ 5 แล้วให้ ความร้อน 3 นาทีใช้ไฟขนาดกลาง เติมน้ำ 2 ลูกบาศก์เซนติเมตรเขย่าแรง ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล

7. ทำการทดลองข้อ 1 – 6 ซ้ำ แต่เปลี่ยนจากโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นสารละลายแคลเซียม ไฮดรอกไซด์ ( น้ำปูนใส ) เจือจาง และสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ( ด่างคลี ) เจือจางตามลำดับ


การมอบงาน

1. นักเรียนศึกษาใบงานที่ 13.3 เรื่อง สมบัติบางประการของสารละลายเบส

2. ปฏิบัติตามขั้นตอนในใบงาน

3. ออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง

4. ร่วมกันวิเคราะห์ตอบคำถามหลังการทดลอง

5. ร่วมกันอภิปรายสรุปผลการทดลอง


คำถามหลังการทดลอง

1. เมื่อทดสอบกับกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี กระลิตมัสสีอะไรที่มีการเปลี่ยนสี.................................สารชนิดใดที่ทำให้กระดาษลิตมัสเปลี่ยนสี...........................................และกระดาษลิตมัสเปลี่ยนแปลงอย่างไร..........................................................................................................

2. หลอดทดลองหลอดใดที่มีกลิ่นฉุน.................................................................................

3. หลอดทดลองหลอดใดที่ได้สารละลายขุ่นมีฟองคล้ายสบู่..............................................

4. หลอดที่เติมเศษอะลูมิเนียมลงใบทำปฏิกิริยากับสารละลายเบสจะเกิด............................

...................................................................................................................................................................










เฉลยใบงาน

ชื่องาน สมบัติบางประการของสารละลายเบส


คำถามก่อนการทดลอง

1. เพราะเหตุใดจึงเติมแอมโมเนียมไนเตรต น้ำมันพืชหรือน้ำมันหมู เศษอะลูมิเนียมลงในหลอดทดลอง..........( เพื่อศึกษาสมบัติโดยทั่วไปของเบส )...................................................................

2. ถ้าเบสหกรดมือควรล้างออกทันที เนื่องจาก........( เบสจะกัดเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ).....


คำถามหลังการทดลอง

1. เมื่อทดสอบกับกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี กระดาษลิตมัสสีอะไรที่มีการเปลี่ยนสี.( สีแดง )

.........สารชนิดใดที่ทำให้กระดาษลิตมัสเปลี่ยนสี...................( สารละลายเบส )...............และกระดาษลิตมัสเปลี่ยนแปลงอย่างไร..........( กระดาษลิตมัสสีแดงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน )........................................

2. หลอดทดลองหลอดใดที่มีกลิ่นฉุน...( หลอดทดลองที่บรรจุแอมโมเนียมไนเตรตกับเบส )..............................................................................................................ใ.......................................

3. หลอดทดลองหลอดใดที่ได้สารละลายขุ่นมีฟองคล้ายสบู่..........( หลอดที่ 5 ซึ่งบรรจุด้วยน้ำมันหมูหรือน้ำมันพืชกับเบส ).......................................................................................................

4. หลอดที่เติมเศษอะลูมิเนียมลงไปทำปฏิกิริยากับสารละลายเบสจะเกิด..........( ฟองก๊าซขึ้นและเศษอะลูมิเนียมถูกกัดกร่อน )........................................................................................................













ใบงาน

ชื่องาน การตรวจสอบความเป็นกรด – เบ


อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ ( สำหรับ 1 กลุ่ม )

1. น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว นมสด สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ำผงซักฟอก

2. สารละลายอินดิเคเตอร์ ได้แก่ บรอมไทมอลบลู ฟินอรล์ฟทาลีน เมทิลเรด เมทิลออเรนจ์

3. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์


คำถามก่อนการทดลอง

1. น้ำส้มสายชู เป็นสารละลายประเภท.......................................................................

2. อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการตรวจสอบความเป็นกรด– เบสครั้งนี้ได้แก่................................

...................................................................................................................................................................


ขั้นตอนการทดลอง

1. ใส่น้ำส้มสายชูลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก 5 หลอด หลอดละ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เติมสารละลายบรอมไทมอลบลู ฟินอล์ฟทาลีน เมทิลเรด เมทิลออเรนจ์ และยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ลงในหลอดทดลอง 1 – 5 ตามลำดับ หลอดละ 2 หยด สังเกตและบันทึกผล

2. ทำการทดลองซ้ำเช่นเดียวกับข้อ 1 แต่เปลี่ยนไปใช้น้ำส้มสายชูที่เจือจางให้มีความเข้มข้นลดลงเป็น 1 ใน 10 เท่า และ 1 ใน 100 เท่า

3. ทำการทดสอบเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 2 แต่เปลี่ยนน้ำส้มสายชูเป็นสารอื่น ๆ ที่สนใจ เช่น น้ำมะนาว นมสด สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ำผงซักฟอก


การมอบงาน

1. ให้นักเรียนเตรียมสาร น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว นมสด สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ำผงซักฟอก ( มอบหมายก่อนล่วงหน้า )

2. นักเรียนศึกษาใบงานที่ 13.2 เรื่อง การตรวจสอบความเป็นกรดและเบสของสารโดยใช้ อินดิเคเตอร์

3. ปฏิบัติตามขั้นตอนในใบงาน

4. ร่วมกันวิเคราะห์ตอบคำถามหลังการทดลอง

5. ร่วมกันอภิปรายสรุปผลการทดลอง

คำถามหลังการทดลอง

1. เมื่อเติมสารแต่ละชนิดลงในน้ำส้มสายชูได้ผลเป็นอย่างไร.............................................

2. สารแต่ละชนิดที่นำมาตรวจสอบ สามารถระบุได้หรือไม่ว่าน้ำส้มสายชูเป็นกรดหรือเบส............................................................................................................................................................
3. สารละลายชนิดเดียวกันที่มีความเข้มข้นต่างกันให้ผลการทดสอบกับสารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร...............................................................................................................................................

4. สารละลายแต่ละชนิดที่นำมาตรวจสอบมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการตรวจสอบด้วยสารใด..............................................................................................................................................................























เฉลยใบงาน

ชื่องาน การตรวจสอบความเป็นกรด – เบส ของสารโดยใช้อินดิเคเตอร์ต่าง ๆ


คำถามก่อนการทดลอง

1. น้ำส้มสายชู เป็นสารละลายประเภท...........( กรด )................................................

2. อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการตรวจสอบความเป็นกรด– เบสครั้งนี้ได้แก่....( บรอมไทมอลบลู ฟินอล์ฟทาลีน เมทิลเรด เมทิลออเรนจ์ )..............................................................................................


คำถามหลังการทดลอง

1. เมื่อเติมสารแต่ละชนิดลงในน้ำส้มสายชูได้ผลเป็นอย่างไร..........( เปลี่ยนสี )...............

2. สารแต่ละชนิดที่นำมาตรวจสอบ สามารถระบุได้หรือไม่ว่าน้ำส้มสายชูเป็นกรดหรือเบส........( บอกได้ เป็นกรด ).....................................................................................................................
3. สารละลายชนิดเดียวกันที่มีความเข้มข้นต่างกันให้ผลการทดสอบกับสารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร.........( ต่างกัน )............
.......................................................................................................

4. สารละลายแต่ละชนิดที่นำมาตรวจสอบมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการตรวจสอบด้วยสารใด....... ( กระดาษลิตมัส )........................................................................................................................















แผนภาพ

ตารางแสดงช่วงการเปลี่ยนของอินดิเคเตอร์บางชนิด



อินดิเคเตอร์
ช่วง pH ของการเปลี่ยนสาร
สีที่เปลี่ยน
เมทิลออเรนจ์
เมทิลเรด
ลิตมัส
บรอมไทมอลบลู
ฟินอลเรด
ฟินอล์ฟทาลีน
3.2 – 4.4
4.2 – 6.3
5.0 – 8.0
6.0 – 7.6
6.8 – 8.4
8.3 – 10.0
แดง – เหลือง
แดง – เหลือง
แดง – น้ำเงิน
เหลือง – น้ำเงิน
เหลือง – แดง
ไม่มีสี – ชมพูเข้ม























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น