กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 11 ชั่วโมง เรื่อง กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เวลา 3 ชั่วโมง บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ .31 - 4..เดือน ...มิถุนายน....พ.ศ. ....2554............... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1 |
สาระสำคัญ
1. กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)
2. ขั้นตอนกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สังเกต สำรวจตรวจสอบ อธิบายและวิเคราะห์กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และขั้นตอนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
จุดประสงค์ปลายทาง
สรุปเกี่ยวกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และขั้นตอนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้
จุดประสงค์นำทาง
1. บอกและอธิบายกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้
2. บอกขั้นตอนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้
เนื้อหาสาระ
1. กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้นักเรียนได้สืบค้นหรือค้นหาคำตอบ เน้นให้นักเรียนรู้จักรับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยที่ครูมีบทบาทในการให้ความกระจ่างและเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถค้นพบข้อมูลและจัดระบบความหมายของข้อมูลของตนเอง
2. ขั้นตอนกระบวนการสืบเสาะหาความรู้มีดังนี้
1) สร้างความสนใจ 4) ขยายความรู้
2) สำรวจและค้นหา 5) ประเมิน
3) อธิบายและลงข้อสรุป
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวปฏิบัติในการเรียนเกณฑ์การผ่านและวิธีการซ่อมเสริมเมื่อนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์
2. ครูและนักเรียนสนทนาถึงกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และขั้นตอนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
1. กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)
- กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้นักเรียนได้สืบค้นหรือค้นหาคำตอบ เน้นให้นักเรียนรู้จักรับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยที่ครูมีบทบาทในการให้ความกระจ่างและเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถค้นพบข้อมูลและจัดระบบความหมายของข้อมูลของตนเอง
2. ขั้นตอนกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีดังนี้
1) สร้างความสนใจ
2) สำรวจและค้นหา
3) อธิบายและลงข้อสรุป
4) ขยายความรู้
5) ประเมิน
3. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และขั้นตอนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พร้อมช่วยกันอภิปรายถึงกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และขั้นตอนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ร่วมกัน
4. นักเรียนศึกษาตอบคำถามจากใบความรู้
5. นักเรียนร่วมกันสรุปถึงกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และขั้นตอนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. ใบความรู้เรื่อง ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
2. อินเตอร์เน็ต
3. ใบกิจกรรม
4. Power Point
การวัดผลประเมินผล
กิจกรรมเสนอแนะ
ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
1 ผลการจัดการเรียนรู้
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................
นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............
2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................
4 การปรับปรุงและพัฒนา
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................
ชื่อ ............................................ผู้สอน
(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)
ครูอัตราจ้าง
ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ ............................................
(นางทิพวดี อัครฮาด)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ ............................................
(นายสุชาติ อาจศัตรู)
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ใบความรู้
เรื่อง กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Process)
วิธีนี้เน้นให้นักเรียนฝึกการคิดแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน มีเหตุผล ซึ่งเป็นแนวทางในการนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยอาศัยแนวคิดแก้ปัญหาด้วยการนำวิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive)คือ การสอนจากกฎเกณฑ์ไปหาความจริงย่อย ไปผสมผสานกับวิธีการสอนแบบอุปนัย (Inductive)คือ การสอนจากตัวอย่างย่อยมาหาเกณฑ์ กระบวนการคิดทั้งสองอย่างนี้รวมกันทำให้เกิดรูปแบบการสอนแบบแก้ปัญหา
ขั้นตอนกระบวนการแก้ปัญหามีดังนี้
1) ทำความเข้าใจปัญหา
ครูเน้นให้นักเรียนทำความเข้าใจถึงสภาพของปัญหาว่า ปัญหาเกิดจากอะไร มีข้อมูลใดแล้วบ้าง และมีเงื่อนไขหรือต้องการข้อมูลใดเพิ่ม
2) วางแผนแก้ปัญหา
เป็นการนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 และข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นมาใช้ประกอบการวางแผนแก้ปัญหา ถ้าปัญหานั้นต้องตรวจสอบโดยการทดลอง ในขั้นวางแผนก็จะประกอบด้วยการตั้งสมมติฐาน กำหนดวิธีการทดลอง และกำหนดแนวทางในการประเมินผลการแก้ปัญหา
3) ดำเนินการแก้ปัญหาและประเมินผล
นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน และประเมินว่าวิธีการแก้ปัญหาหรือผลการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
4) ตรวจสอบการแก้ปัญหา
ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหา และผลจากการแก้ปัญหาว่ามีผลกระทบต่อสิ่งอื่นหรือไม่ รวมไปถึงการนำวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น