วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7

                             แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานภาคเรียนที่1/2552
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สารและการจำแนก เวลา 49 ชั่วโมง
เรื่อง สารเนื้อเดียว เวลา 4 ชั่วโมง
บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ....28-2....เดือน .....กรกฎาคม......พ.ศ. ........2554.............
โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู1


สาระสำคัญ

สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มีสมบัติดังนี้

1. เป็นสารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอด มีองค์ประกอบทุกส่วนกลมกลืนกัน

2. มีสมบัติเหมือนกันทุกส่วน ถ้านำส่วนใดส่วนหนึ่งของสารนี้ไปทดสอบสมบัติจะแสดงสมบัติเหมือนกันทุกประการ

3. สารเนื้อเดียว อาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้

4. สารเนื้อเดียว สามารถจำแนกตามองค์ประกอบเป็น 2 ประเภทคือ สารบริสุทธิ์และ

สารละลาย


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง


สำรวจ ตรวจสอบสารเนื้อเดียว วิเคราะห์และจำแนกสารบริสุทธิ์และสารละลายได้


จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง


อธิบายเกี่ยวกับสมบัติของสารเนื้อเดียว รวมทั้งวิเคราะห์และจำแนกสารบริสุทธิ์ และสารละลายได้


จุดประสงค์นำทาง


1. บอกความหมายของสารเนื้อเดียว สารบริสุทธิ์ สารละลายได้

2. อธิบายสมบัติและชนิดของสารเนื้อเดียว สารบริสุทธิ์และสารละลายได้


เนื้อหาสาระ


สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติเหมือนกันแบ่งเป็น

1. ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วย ธาตุหรือสารชนิดเดียว ไม่สามารถแยกหรือสลายออกเป็นสารอื่นได้ เช่น เงิน ทอง คาร์บอน ออกซิเจน เป็นต้น จำแนกออกเป็น 3 ชนิดดังนี้

1) โลหะ มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอทที่เป็นโลหะ แต่อยู่ใน

สถานะของเหลว โลหะจะมีผิวเป็นมันวาว มีจุดเดือดสูง และนำไฟฟ้าได้ดี โลหะบางชนิดเป็นสารแม่เหล็ก ตัวอย่างธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม เป็นต้น

2) อโลหะ เป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง เช่น กำมะถันเป็นของแข็งสีเหลือง

ธาตุโบรมีนเป็นของเหลวสีแดง และคลอรีนเป็นก๊าซสีเขียวอ่อน อโลหะส่วนใหญ่มีสมบัติตรงกันข้ามกับโลหะ เช่น กำมะถัน เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดต่ำ

3) ธาตุกึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติกึ่งโลหะและอโลหะ เช่น โบรอนเป็นของแข็งสีดำ

เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส ธาตุซิลิคอน เป็นของแข็งสีเงินวาว เปราะ นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย มีจุดเดือด 3,265 องศาเซลเซียส เป็นต้น

2. สารประกอบ คือ สารที่ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาทำปฏิกิริยาเคมี

กันด้วยสัดส่วนที่แน่นอน กลายเป็นสารชนิดใหม่ มีสมบัติแตกต่างไปจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบเดิม ตัวอย่างของสารประกอบ เช่น เกลือแกง น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ กรด เบส เป็นต้น

สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วย ตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย

สารละลายมีทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ

-สารละลายที่เป็นของแข็ง เช่น นาก

-สารละลายที่เป็นของเหลว เช่น น้ำโซดา

-สารละลายที่เป็นก๊าซ เช่น อากาศ

การบ่งชี้ว่า สารใดเป็นตัวทำละลายและสารใดเป็นตัวถูกละลาย สังเกตดังนี้

1. ตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย มีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณน้อยกว่าเรียกว่า ตัวถูกละลาย สารที่มีปริมาณมากกว่าเรียกว่า ตัวทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์เช็ดแผล (70%) แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย และน้ำเป็นตัวถูกละลาย

2. ตัวทำละลายและตัวถูกละลายมีสถานะต่าง กัน สารที่มีสถานะเหมือนกับ

สารละลายจัดว่าเป็น ตัวทำละลาย สารที่มีสถานะต่างไปจัดว่าเป็น ตัวถูกละลาย เช่น น้ำโซดา น้ำเป็นตัวทำละลาย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวถูกละลาย



กิจกรรมการเรียนการสอน


1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แนวปฏิบัติในการเรียน /การ

วัดผลประเมินผลเกณฑ์การผ่าน วิธีการซ่อมเสริมเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์

2. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เรื่อง ความหมาย สมบัติ และการบ่งชี้ชนิด

ของสารเนื้อเดียว

4. ครูแจกบัตรคำที่เขียนชื่อสารตัวอย่าง ให้นักเรียน สุ่มถามนักเรียนว่า สารที่เขียนมานั้นประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว หรือมากกว่าหนึ่งชนิด นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารเนื้อเดียว

5. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน ศึกษาใบความรู้ เรื่อง สารบริสุทธิ์ และใบความรู้ เรื่อง สารละลาย โดยให้สมาชิกในกลุ่มแบ่งหน้าที่ มอบหมายกันรับผิดชอบ ปฏิบัติการค้นคว้า บันทึกสรุปผล เตรียมนำเสนอ

6. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า หน้าชั้นเรียน โดยใช้แผ่นโปร่งใส แล้วร่วมกันอภิปรายสรุป จากนั้น ครูสุ่มถามนักเรียน ให้ตอบคำถามดังนี้

- สารเนื้อเดียวที่รู้จัก แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

- ให้นักเรียนบอกความหมาย สมบัติและชนิดของสารบริสุทธิ์และสารละลาย

7. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน เรื่อง สารบริสุทธิ์ และ ใบงาน เรื่อง สารละลาย

8. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปและยกตัวอย่าง เกี่ยวกับ สมบัติ ชนิดของสารบริสุทธิ์และ

สารละลาย

9. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสืออ่านประกอบ หรือจากอินเตอร์เน็ต และจัดทำแผนผังความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสารเนื้อเดียว สารบริสุทธิ์และสารละลาย ส่งครูผู้สอนตรวจสอบความถูกต้อง

10. ทดสอบหลังเรียน


สื่อ/แหล่งเรียนรู้


1. ใบความรู้ เรื่องสารบริสุทธิ์

2. ใบความรู้ เรื่องสารเนื้อเดียว

3. ใบความรู้ เรื่องสารละลาย

4. ใบงาน เรื่องสารบริสุทธิ์

5. ใบงาน เรื่องสารละลาย

6. แบบทดสอบ

7. Internet

การวัดผลประเมินผล



วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน
1. สังเกตพฤติกรรม
2.ตรวจผลการปฏิบัติงาน
3.ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4. ตรวจผลงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรม
แบบบันทึกการตรวจ
ผลการปฏิบัติงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60


กิจกรรมเสนอแนะ

ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน


บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

1 ผลการจัดการเรียนรู้

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................

นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............

2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................

3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................



4 การปรับปรุงและพัฒนา

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................


ลงชื่อ ............................................ผู้สอน

(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)

ครูอัตราจ้าง



ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ ............................................

(นางทิพวดี อัครฮาด)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์



ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ ............................................

(นายสุชาติ อาจศัตรู)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ


ใบความรู้

สารเนื้อเดียว


สารเนื้อเดียวหมายถึง สารที่อาจมีเพียงชนิดเดียว หรืออาจมีมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนมองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันตลอด อาจมีหลายสถานะและจะแสดงสมบัติเหมือนกันทุกประการ


1. สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติเหมือนกันแบ่งเป็น

1.1 ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วย ธาตุหรือสารชนิดเดียว ไม่สามารถแยกหรือสลายออกเป็นสารอื่นได้ เช่น เงิน ทอง คาร์บอน ออกซิเจน เป็นต้น ในปัจจุบันมีการค้นพบธาตุประมาณ 107 ธาตุ เป็นธาตุที่เกิดเองตามธรรมชาติ 92 ธาตุ ที่เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลองจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1.1.1 โลหะ มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอทที่เป็นโลหะแต่อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลว โลหะจะมีผิวมันวาว มีจุดเดือดสูง และนำไฟฟ้าได้ดี โลหะบางชนิดเป็นสารแม่เหล็ก ตัวอย่างของธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียมเป็นต้น

1.1.2 อโลหะ เป็นได้ทั้ง 3 สถานะคือของแข็ง เช่นกำมะถันเป็นของแข็ง สีเหลือง ธาตุโปรตีน เป็นของเหลวสีแดง และคลอรีนเป็นก๊าซสีเขียวอ่อน อโลหะส่วนใหญ่มีสมบัติตรงข้ามกับโลหะ เช่น กำมะถัน เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดต่ำ

1.1.3 ธาตุกึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติกึ่งโลหะและอโลหะ เช่น โบรอนเป็นของแข็ง สีดำ เปราะ ไม่นำไฟฟ้า จุดเดือด 4,000 0C ธาตุซิลิกอนเป็นของแข็งสีเงินวาว เปราะ นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย มีจุดเดือด 3,265 0C

1.2 สารประกอบ คือ สารประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาทำปฏิกิริยาเคมีกันด้วยสัดส่วนที่แน่นอนกลายเป็นสารชนิดใหม่ มีสมบัติแตกต่างไปจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบเดิม ตัวอย่างสารประกอบ เช่น เกลือแกง น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดและเบส เป็นต้น


โซเดียม + คลอรีน ¦ โซเดียมคลอไรด์ ( เกลือแกง )

ไฮโดรเจน + ออกซิเจน ¦ น้ำ

คาร์บอน + ออกซิเจน ¦ คาร์บอนไดออกไซด์


2. สารละลาย หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยธาตุหรือสารประกอบตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไปมารวมตัวกันโดยที่มีธาตุหรือสารประกอบตัวหนึ่งเป็นตัวทำละลาย ส่วนอีกตัวหนึ่งเป็นตัวถูกละลาย สารละลายอาจอยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้

เกณฑ์ที่จะกำหนดว่าสารใดเป็นตัวทำละลาย และสารใดเป็นตัวถูกละลายให้พิจารณาจากปริมาณและสถานะขององค์ประกอบ ดังนี้

2.1 ถ้าตัวทำละลายและตัวถูกละลายอยู่ในสถานะเดียวกัน เช่น ของแข็ง + ของแข็ง จะกำหนดให้สารที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย และสารที่มีปริมาณน้อยกว่าเป็นตัวถูกละลาย

2.2 ถ้าตัวทำละลายและตัวถูกละลายอยู่ในสถานะต่างกัน เช่น ของแข็ง + ของเหลว เมื่อผสมกันแล้วมีสถานะเหมือนกับสารใด ให้ถือว่าสารนั้นเป็นตัวทำละลาย สารอีกตัวหนึ่งเป็นตัวถูกละลาย เช่น เกลือ ( ของแข็ง ) + น้ำ ( ของเหลว ) เมื่อรวมกันแล้วเป็นของเหลว ดังนั้นน้ำจัดเป็นตัวทำละลาย ส่วนเกลือเป็นตัวถูกละลาย










สถานะ
สารละลาย
ส่วนประกอบ
ตัวทำละลาย
ตัวถูกละลาย
ของแข็ง
ทองเหลือง
ทองแดง 60 %
สังกะสี 40 %
ทองแดง
สังกะสี
นาค
ทองแดง 60 %
ทองคำ 35 %
เงิน 5 %
ทองแดง
ทองคำ
เงิน
เหล็กกล้าไร้สนิม
เหล็ก 74 %
โครเมียม 18 %
นิกเกิล 8 %
เหล็ก
โครเมียม
นิเกิล
ของเหลว
น้ำเกลือ
น้ำ
เกลือ
น้ำ
เกลือแกง
น้ำเชื่อม
น้ำ
น้ำตาล
น้ำ
น้ำตาล
น้ำส้มสายชู
กรดน้ำส้ม
น้ำ
น้ำ
กรดน้ำส้ม
แก๊ส
อากาศ
ไนโตรเจน
ออกซิเจน
แก๊สอื่น ๆ
ไนโตรเจน
ออกซิเจน
แก๊สอื่น ๆ












ใบงาน

ชื่องาน องค์ประกอบของสารเนื้อเดียว


อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ ( สำหรับ 1 กลุ่ม )

1. ตะเกียงแอลกอฮอล์ พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด

2. ตะแกรงลวด 1 อัน

3. จานหลุมโลหะ 1 อัน

4. หลอดหยด 3 อัน

5. บีกเกอร์ขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร 3 อัน

6. สารละลายโซเดียมคลอไรด์

7. น้ำกลั่น

8. สารละลายแอมโมเนีย


คำถามก่อนการทดลอง

1. สังเกตสมบัติของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือแกง ) น้ำกลั่นและสารละลายแอมโมเนีย แล้วบันทึกผลเพื่อ..................................................

2. การต้มสารให้ระเหยแห้งควรจะใช้วิธีใด จึงจะป้องกันสารไม่ให้ปะปนกัน.............................................................................................................................................

3. นักเรียนคิดว่าการแยกสารเนื้อเดียวจะใช้วิธีการเดียวกับการแยกสารเนื้อผสมได้หรือไม่...................................................................................................................................................................


ขั้นตอนการทดลอง

1. สังเกตลักษณะของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ น้ำกลั่น และสารละลายแอมโมเนีย

2. หยดสารละลายโซเดียมคลอไรด์ลงในจานหลุมโลหะ ต้มจนแห้ง แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง

3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 2 แต่เปลี่ยนจากสารละลายโซเดียมคลอไรด์เป็นน้ำกลั่น และสารละลายแอมโมเนียตามลำดับ



การมอบงาน

1. ให้นักเรียนศึกษาใบงานที่ 11.1 ให้เข้าใจ

2. ให้นักเรียนร่วมกันสำรวจตรวจสอบเพื่อหาคำตอบโดยร่วมกันวางแผนในประเด็นต่อไปนี้

2.1 จะบันทึกผลและออกแบบตารางการบันทึกผลอย่างไร

2.2 จะนำเสนอผลการทดลองอย่างไร

3. ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนในใบงาน

4. บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง

5. ตอบคำถามหลังการทดลอง

6. นำเสนอผลการทดลอง


คำถามหลังการทดลอง

1. สารทั้ง 3 ชนิดมีสารชนิดใดที่เป็นสารเนื้อเดียว.................................เพราะเหตุใด...................................................................................................................................................................

2. หลังจากต้มสารทั้ง 3 ชนิดจนแห้งแล้ว สารชนิดใดมีองค์ประกอบของสารเพียงชนิดเดียว..................................................และสารชนิดใดที่มีองค์ประกอบของสารมากกว่า 1 ชนิด

...................................................................................................................................................................

3. หลังจากต้มสารทั้ง 3 ชนิดจนแห้งแล้ว สารชนิดใดที่มีของแข็งเหลือที่ภาชนะ.........................และของแข็งที่เหลือคืออะไร.............................................................................................


การวัดและประเมินผล

1. การออกแบบตารางการทดลอง

2. การนำเสนอผลการทดลอง

3. การตอบคำถามหลังการทดลอง


เฉลยใบงาน

ชื่องาน องค์ประกอบของสารเนื้อเดียว


คำถามก่อนการทดลอง

1. สังเกตสมบัติของสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือแกง ) น้ำกลั่นและสารละลายแอมโมเนีย แล้วบันทึกผลเพื่อ......( เปรียบเทียบสมบัติของสารละลายทั้งสาม)........................................

2. การต้มสารให้ระเหยแห้งควรจะใช้วิธีใด จึงจะป้องกันสารไม่ให้ปะปนกัน.....( การต้มสา ให้ต้มทีละชนิดในถ้วยกระเบื้อง หรือจานหลุมโลหะจนสารระเหยแห้งแห้ง)....................................

3. นักเรียนคิดว่าการแยกสารเนื้อเดียวจะใช้วิธีการเดียวกับการแยกสารเนื้อผสมได้หรือไม่

.......( การแยกสารเนื้อเดียวจะใช้วิธีการระเหยแห้ง วิธีโครมาโทรกราฟี่ ส่วนการแยกสารเนื้อผสมจะใช้วิธีการกรอง การระเหยจนแห้ง การระเหิด การใช้อำนาจแม่เหล็ก การเขี่ย การหยิบออก การตกผลึก การกลั่น)..........................................................................................................................................


คำถามหลังการทดลอง

1. สารทั้ง 3 ชนิดมีสารชนิดใดที่เป็นสารเนื้อเดียว.....( ทั้งสามชนิด ).......เพราะเหตุใด......

.......( เพราะมองเห็นเป็นเนื้อเดียว )....................................................................................................

2. หลังจากต้มสารทั้ง 3 ชนิดจนแห้งแล้ว สารชนิดใดมีองค์ประกอบของสารเพียงชนิดเดียว.

.......( น้ำกลั่น )....และสารชนิดใดที่มีองค์ประกอบของสารมากกว่า 1 ชนิด......( สารละลายแอมโมเนีย สารละลายโซเดียมคลอไรด์ )....................................................................................

3. หลังจากต้มสารทั้ง 3 ชนิดจนแห้งแล้ว สารชนิดใดที่มีของแข็งเหลือที่ภาชนะ.....

( สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ).......และของแข็งที่เหลือคืออะไร....( โซเดียมคลอไรด์ ).................









ใบงาน

ชื่องาน การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร


อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ ( สำหรับ 1 กลุ่ม )

1. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 2 หลอด

2. ตะเกียงแอลกอฮอล์ พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด

3. ขาตั้ง พร้อมที่จับหลอดทดลอง 1 ชุด

4. จุกยางพร้อมหลอดนำก๊าซ 1 อัน

5. เทอร์โมมิเตอร์ชนิด 00C –1000 C 1 อัน

6. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก

7. น้ำกลั่น 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร

8. น้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 50 โดยมวล / ปริมาตร 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร


คำถามก่อนการทดลอง

1. จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้คืออะไร............................................................................

...................................................................................................................................................................

2. นักเรียนคาดคะเนว่าเมื่อต้มน้ำและเกลือแกงเป็นเวลา 10 นาที การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ของของเหลวทั้ง 2 ชนิดขณะต้มเหมือนหรือต่างกันอย่างไร.................................................

...................................................................................................................................................................


ขั้นตอนการทดลอง

1. ตวงน้ำกลั่น 20 ลูกบาศก์เซนติเมตรใส่ลงในหลอดทดลองขนาดใหญ่แล้วจัดอุปกรณ์ดังภาพ

2. วัดอุณหภูมิของน้ำกลั่นก่อนต้มแล้วจึงต้มน้ำกลั่นในข้อ 1 เป็นเวลา 10 นาที วัดอุณหภูมิของน้ำกลั่น ในข้อ 1 เป็นเวลา 10 นาที วัดอุณหภูมิของน้ำกลั่นทุก ๆ 1 นาที บันทึกผลลงในตาราง

3. ทำเช่นเดียวกับข้อ 1 และข้อ 2 แต่เปลี่ยนเป็นน้ำเกลือแทนน้ำกลั่น

4. นำข้อมูลที่ได้จากการต้มน้ำกลั่นและน้ำเกลือ มาทำเป็นกราฟเส้น โดยให้แกนตั้งแทนอุณหภูมิและแกนนอนแทนเวลา


5. การมอบงาน

1. ให้นักเรียนศึกษาใบงานให้เข้าใจ

2. ให้นักเรียนร่วมกันสำรวจตรวจสอบเพื่อหาคำตอบโดยร่วมกันวางแผนในประเด็นต่อไปนี้

2.1 จะบันทึกผลและออกแบบตารางการบันทึกผลอย่างไร

2.2 จะนำเสนอผลการทดลองอย่างไร

3. ให้นักเรียนปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนในใบงาน

4. บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง

5. ตอบคำถามหลังการทดลอง

6. นำเสนอผลการทดลอง


6. คำถามหลังการทดลอง

1. เมื่อต้มน้ำกลั่น และน้ำเกลือเป็นเวลา 10 นาที การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารทั้ง 2 ชนิดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร.....................................................................................................

................................................................................................................................................................... 2. ลักษณะกราฟที่ได้จากการต้มน้ำกลั่นและน้ำเกลือแตกต่างกันอย่างไร............................

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น........................................................................................................................

3. นักเรียนคาดคะเนว่าเมื่อต้มน้ำและน้ำเกลือต่อไปอีก 5 นาที ลักษณะกราฟจะเป็นเช่นไร............................................................................................................................................

4.จุดเดือดของน้ำและน้ำเกลือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น...............

...................................................................................................................................................................

5. ถ้านักเรียนนำน้ำเชื่อมมาต้มหาจุดเดือด จุดเดือดของน้ำเชื่อมจะคงที่หรือไม่..................เพราะเหตุใด...............................................................................................................................................

การประเมินผล

1. การออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง

2. นำเสนอผลการทดลอง

3. การตอบคำถามหลังการ

เฉลยใบงาน

ชื่องาน การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสาร


คำถามก่อนการทดลอง

1. จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้คืออะไร........( นักเรียนตอบได้หลากหลาย )....................

2. นักเรียนคาดคะเนว่าเมื่อต้มน้ำและเกลือแกงเป็นเวลา 10 นาที การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของของเหลวทั้ง 2 ชนิดขณะต้มเหมือนหรือต่างกันอย่างไร......( แตกต่างกันโดยอุณหภูมิของน้ำกลั่นขณะน้ำเดือดอุณหภูมิจะคงที่ส่วนอุณหภูมิของน้ำเกลืออุณหภูมิไม่คงที่ขณะน้ำเดือด ).............


6. คำถามหลังการทดลอง

1. เมื่อต้มน้ำกลั่น และน้ำเกลือเป็นเวลา 10 นาที การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารทั้ง 2 ชนิดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร......( แตกต่างกันโดยอุณหภูมิของน้ำกลั่นขณะน้ำเดือดอุณหภูมิจะคงที่ ส่วนอุณหภูมิของน้ำเกลืออุณหภูมิไม่คงที่ขณะน้ำเดือด )........................................... 2. ลักษณะกราฟที่ได้จากการต้มน้ำกลั่นและน้ำเกลือแตกต่างกันอย่างไร.....( อุณหภูมิของน้ำกลั่นจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอุณหภูมิคงที่ 100 0C แล้วอุณหภูมิน้ำกลั่นจะคงที่ กราฟจะชันสูงขึ้นถึง 100 0C และจะขนานกับแกนนอนเมื่อน้ำกลั่นเดือด ส่วนอุณหภูมิของน้ำเกลือจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และไม่คงที่ สังเกตได้จากเส้นกราฟจะไม่ขนานกับแกนนอน ).........................................................................

3. นักเรียนคาดคะเนว่าเมื่อต้มน้ำและน้ำเกลือต่อไปอีก 5 นาที ลักษณะกราฟจะเป็นเช่นไร...

......( เส้นกราฟของน้ำกลั่นจะขนานกับแกนนอน ส่วนเส้นกราฟของน้ำเกลือจะไม่ขนานกับแกนนอน )

4. จุดเดือดของน้ำและน้ำเกลือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น..................

...................................................................................................................................................................

5. ถ้านักเรียนนำน้ำเชื่อมมาต้มหาจุดเดือด จุดเดือดของน้ำเชื่อมจะคงที่หรือไม่.( ไม่คงที่).เพราะเหตุใด.....( เพราะน้ำเชื่อมเป็นสารละลาย ).......................................................................







ใบความรู้

เรื่อง สารบริสุทธิ์

-----------------------------------------------------------------

สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติเหมือนกันแบ่งเป็น

1. ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วย ธาตุหรือสารชนิดเดียว ไม่สามารถแยกหรือสลายออกเป็นสารอื่นได้ เช่น เงิน ทอง คาร์บอน ออกซิเจน เป็นต้น จำแนกออกเป็น 3 ชนิดดังนี้

1)โลหะ มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ ยกเว้นปรอทที่เป็นโลหะ แต่อยู่ในสถานะของเหลว โลหะจะมีผิวเป็นมันวาว มีจุดเดือดสูง และนำไฟฟ้าได้ดี โลหะบางชนิดเป็นสารแม่เหล็ก ตัวอย่างธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม เป็นต้น

2)อโลหะ เป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง เช่น กำมะถันเป็นของแข็งสีเหลือง ธาตุโบรมีนเป็นของเหลวสีแดง และคลอรีนเป็นก๊าซสีเขียวอ่อน อโลหะส่วนใหญ่มีสมบัติตรงกันข้ามกับโลหะ เช่น กำมะถัน เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดต่ำ

3)ธาตุกึ่งโลหะ เป็นธาตุที่มีสมบัติกึ่งโลหะและอโลหะ เช่น โบรอนเป็นของแข็งสีดำ เปราะ ไม่นำไฟฟ้า มีจุดเดือดสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส ธาตุซิลิคอน เป็นของแข็งสีเงินวาว เปราะ นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย มีจุดเดือด 3,265 องศาเซลเซียส เป็นต้น


2. สารประกอบ คือ สารที่ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาทำปฏิกิริยาเคมีกันด้วยสัดส่วนที่แน่นอน กลายเป็นสารชนิดใหม่ มีสมบัติแตกต่างไปจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบเดิม ตัวอย่างของสารประกอบ เช่น เกลือแกง น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ กรด เบส เป็นต้น




ใบงาน

เรื่อง สารบริสุทธิ์

----------------------------------------------------------------------------------------------

คำชี้แจง ให้นักเรียนทำกิจกรรมและตอบคำถามต่อไปนี้

1. สารบริสุทธิ์จำแนกตามสถานะได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบด้วย

……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………

2. จำแนกสารบริสุทธิ์ตามประเภทของสารได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………

3. ถ้านักเรียนมีสารบริสุทธิ์อยู่ชนิดหนึ่งจะบอกได้อย่างไรว่าเป็นธาตุหรือสารประกอบ

……………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………

4. ให้นักเรียนเติมข้อมูลลงในตารางให้สมบูรณ์

ตาราง แสดงการเปรียบเทียบสมบัติของโลหะและอโลหะ


โลหะ
อโลหะ

1………………………………………
2……………………………………….
3………………………………………
4………………………………………
5………………………………………
6………………………………………
1…………………………………………
2…………………………………………
3…………………………………………
4………………………………………….
5…………………………………………
6………………………………………….



ใบความรู้

เรื่อง สารละลาย

----------------------------------------------------------------------------------------

สารละลาย คือ สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย

สารละลายมีทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สารละลายที่เป็นของแข็ง เช่น นาก

สารละลายที่เป็นของเหลว เช่น น้ำโซดา และสารละลายที่เป็นก๊าซ เช่น อากาศ

การบ่งชี้ว่า สารใดเป็นตัวทำละลายและสารใดเป็นตัวถูกละลาย สังเกตดังนี้

1. ตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย มีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณน้อยกว่าเรียกว่า ตัวถูกละลาย สารที่มีปริมาณมากกว่าเรียกว่า ตัวทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์เช็ดแผล (70%) แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย และน้ำเป็นตัวถูกละลาย

2. ตัวทำละลายและตัวถูกละลายมีสถานะต่าง กัน สารที่มีสถานะเหมือนกับ

สารละลายจัดว่าเป็น ตัวทำละลาย สารที่มีสถานะต่างไปจัดว่าเป็น ตัวถูกละลาย เช่น น้ำโซดา น้ำเป็นตัวทำละลาย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวถูกละลาย

ตาราง องค์ประกอบของตัวถูกละลายและตัวทำละลายของสารละลายชนิดต่าง ๆ

สารละลาย
องค์ประกอบ
ตัวถูกละลาย
ตัวทำละลาย
1. น้ำเกลือ
น้ำ + เกลือแกง
เกลือแกง
น้ำ
2. น้ำเชื่อม
น้ำ + น้ำตาล
น้ำตาล
น้ำ
3. นาก
ทองคำ 35 % + ทองแดง 60 % +
เงิน 5 %
ทองคำ + เงิน
ทองแดง
4. ทองเหลือง
ทองแดง 60 % +สังกะสี 40 %
สังกะสี
ทองแดง
5. น้ำโซดา
น้ำ + คาร์บอนไดออกไซด์
คาร์บอนไดออกไซด์
น้ำ
6. อากาศ
ไนโตรเจน 78.09 %+
ออกซิเจน 20.93 % +
อาร์กอน 0.93 % +
คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ
รวม 0.03 %
ออกซิเจน , อาร์กอน
,คาร์บอนไดออกไซด์ , และก๊าซอื่น ๆ
ไนโตรเจน

สารละลายเข้มข้นและสารละลายเจือจาง


สารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกละลามากเมื่อเทียบกับ

ปริมาณตัวทำละลาย

สารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกละลายน้อยเมือเทียบกับ

ปริมาณตัวทำละลาย

สารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลาย อยู่เต็มที่จนไม่สามารถละลาย

ได้อีกที่อุณหภูมิขณะนั้น

ความเข้มข้นของสารละลาย หมายถึง การบอกปริมาณของตัวถูกละลายที่ละลาย

อยู่ในสารละลาย ความเข้มข้นของสารละลายมีหลายหน่วย ดังนี้

1. ร้อยละโดยมวล ใช้สำหรับสารละลายที่ตัวถูกละลายและตัวทำละลายเป็นของ

แข็งเป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวถูกละลาย (กรัม) จากสารละลาย 100 กรัม เช่น น้ำเชื่อมเข้มข้น 5 % โดยมวล หมายความว่า น้ำเชื่อม 100 กรัม มีน้ำตาลละลายอยู่ 5 กรัม

2. ร้อยละโดยมวล/ปริมาตร ใช้สำหรับสารละลายที่มีตัวถูกละลายเป็นของแข็ง และ

ตัวทำละลายเป็นของเหลว เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวถูกละลาย (กรัม) ในสารละลาย 100

ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น น้ำเกลือเข้มข้น 8 % โดยมวล/ปริมาตร หมายความว่า น้ำเกลือ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีเกลือละลายอยู่ 8 กรัม เป็นต้น

3. ร้อยละโดยปริมาตร ใช้สำหรับสารละลายที่ตัวถูกละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลวเป็นหน่วยที่บอกปริมาตรของตัวถูกละลาย ในสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น น้ำส้มสายชู 3 % โดยปริมาตร หมายความว่า น้ำส้มสายชู 100 ลูกบาศก์เซนติมตร มีกรดแอซิติกละลายอยู่ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตัวอย่างการคำนวณความเข้มข้นของสารละลาย


ตัวอย่างที่ 1 น้ำเชื่อม 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีน้ำตาลละลายอยู่ 5 กรัม น้ำเชื่อม

มีความเข้มข้นร้อยละเท่าใด

วิธีทำ น้ำเชื่อม 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีน้ำตาลละลายอยู่ = 5 กรัม

น้ำเชื่อม 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีน้ำตาลละลายอยู่ = 5 X 100 = 1 กรัม

500


น้ำเชื่อมเข้มข้นร้อยละ 1

ใบงาน

เรื่อง สารละลาย

----------------------------------------------------------------------------

คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำตอบลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

1. ในชีวิตประจำวันของนักเรียนใช้สารละลายอะไรบ้าง และสารละลายนั้น

มีสารใดเป็นตัวถูกละลายและตัวทำละลาย………………………………………………………….………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. จงเติมข้อมูลในตารางให้สมบูรณ์

ตาราง องค์ประกอบของตัวถูกละลายและตัวทำละลายของสารละลายชนิดต่าง

สารละลาย
องค์ประกอบ
ตัวถูกละลาย
ตัวทำละลาย
1. น้ำเชื่อม
2. ทองเหลือง
3. น้ำยาล้างตา
4. น้ำโซดา
5. อากาศ


3. สารที่สามารถละลายได้ในตัวทำละลาย เรียกสารนี้ว่า…………………………….

……………………………………………ส่วนสารผสมที่เกิดจากสารและตัวทำละลายเรียกว่า……

……………………………………………………………………………………………………….

4. สารต่างชนิดกันจะละลายในตัวทำละลายต่างกัน เช่น น้ำมันจะไม่ละลายในน้ำ

แต่จะละลายใน………………………………………………………………………………………

5. สารละลายอิ่มตัว คืออะไร

……………………………………………………………………………………….


………………………………………………………………………………………………………

ใบงาน

ชื่องาน การวิเคราะห์ประเภทของสาร


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

4.4 จำแนกสารโดยใช้สถานะและลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์ได้


คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนพิจารณาสารที่กำหนดให้ในตาราง

2. นักเรียนวิเคราะห์สารและแยกสารโดยลักษณะเนื้อสารและใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์

3. นักเรียนกาเครื่องหมาย (P) ลงในช่องให้ตรงกับเกณฑ์ในการจำแนก


สิ่งที่กำหนดให้
ใช้ลักษณะเนื้อสารในการจำแนก
ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนก
สารเนื้อเดียว
สารเนื้อผสม
ของแข็ง
ของเหลว
ก๊าซ
ทองคำ
ดิน
ออกซิเจน
น้ำอัดลม
น้ำอบไทย
น้ำตาลทราย
แกงจืด
ส้มตำ
น้ำหวาน
น้ำกลั่น
อากาศ
แกงเลียง
น้ำ





เฉลยใบงาน

ชื่องาน การวิเคราะห์ประเภทของสาร


คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนพิจารณาสารที่กำหนดให้ในตาราง

2. นักเรียนวิเคราะห์สารและแยกสารโดยลักษณะเนื้อสารและใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์

3. นักเรียนกาเครื่องหมาย ( P) ลงในช่องให้ตรงกับเกณฑ์ในการจำแนก


สิ่งที่กำหนดให้
ใช้ลักษณะเนื้อสารในการจำแนก
ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนก
สารเนื้อเดียว
สารเนื้อผสม
ของแข็ง
ของเหลว
ก๊าซ
ทองคำ
ดิน
นาก
ออกซิเจน
น้ำอัดลม
น้ำอบไทย
น้ำตาลทราย
แกงจืด
ส้มตำ
น้ำหวาน
น้ำกลั่น
อากาศ
แกงเลียง
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P





แบบทดสอบ


คำชี้แจง จงกาเครื่องหมายกากบาท ( ´ ) ลงในกระดาษคำตอบที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว


1. สารในข้อใดที่มีสารปนกันมากกว่าหนึ่งชนิด

ก. น้ำกลั่น

ข. น้ำหวาน

ค. กลูโคส

ง. น้ำตาลทราย

2. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารเนื้อเดียว

ก. มองเห็นเนื้อสารแยกกันเป็นบางส่วน

ข. สารที่เป็นส่วนประกอบมีได้ทั้ง 3 สถานะ

ค. ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดก็ได้

ง. มีสารมากกว่าหนึ่งชนิดผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

3. ข้อใดจัดเป็นสารเนื้อเดียวทุกชนิด

ก. ดิน นำตาลทราย

ข. คอนกรีต น้ำประปา

ค. ส้มตำ ออกซิเจน

ง. อากาศ ผงชูรส

4. สารในข้อใดจัดเป็นสารบริสุทธิ์ทุกสาร

ก. นาก เงิน ทองคำ

ข. เกลือแกง นำตาลทราย กำมะถัน

ค. น้ำกลั่น น้ำส้มสายชู อากาศ

ง. ฟิวส์ ซูโคส เหล็ก

5. สาร X รวมตัวกันด้วยปฏิกิริยาเคมีกับสาร Y ด้วยสัดส่วนคงที่ เกิดเป็นสาร Z นักเรียนคิดว่าสาร Z ควรเป็นสารประเภทใด

ก. ธาตุ

ข. สารประกอบ

ค. สารเนื้อผสม

ง. สารละลาย



6. ถ้าสารละลายชนิดหนึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยสาร A 30 % B 30 % C 40 %

สารใดเป็นตัวละลาย

ก. A

ข. C

ค. B

ง. A , B

7. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์

ก. สารละลายจัดว่าเป็นสารบริสุทธิ์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก

ข. สารบริสุทธิ์เป็นสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว

ค. ธาตุจัดว่าเป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่าอะตอม

ง. สารประกอบจัดว่าเป็นสารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมของธาตุต่างชนิดกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป

8. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์

ก. เกลือแกง น้ำตาลทราย กำมะถัน เป็นสารบริสุทธิ์

ข. นากเป็นสารบริสุทธิ์เพราะมองเห็นเป็นเนื้อเดียว

ค. สารบริสุทธิ์ทุกชนิดเป็นสารเนื้อเดียว

ง. ธาตุ และสารประกอบเป็นสารบริสุทธิ์

9. เมื่อเผาสาร A เกิดสาร B กับแก๊ส C และแก๊ส C ช่วยให้ไฟติด ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก. สาร A เป็นธาตุ

ข. สาร A เป็นสารเนื้อผสม

ค. สาร A เป็นสารประกอบ

ง. สาร A เป็นสารไม่บริสุทธิ์

10. สารในข้อใดที่มีความสำคัญต่อสิ่งที่มีชีวิตมากที่สุด

ก. ไนโตรเจน

ข. คาร์บอน

ค. ออกซิเจน

ง. เหล็ก





เฉลยแบบทดสอบ

เรื่อง สารเนื้อเดียว

คำชี้แจง จงกาเครื่องหมายกากบาท ( ´ ) ลงในกระดาษคำตอบที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. สารในข้อใดที่มีสารปนกันมากกว่าหนึ่งชนิด

ก. น้ำกลั่น

ข. น้ำหวาน

ค. กลูโคส

ง. น้ำตาลทราย

2. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารเนื้อเดียว

ก. มองเห็นเนื้อสารแยกกันเป็นบางส่วน

ข. สารที่เป็นส่วนประกอบมีได้ทั้ง 3 สถานะ

ค. ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดก็ได้

ง. มีสารมากกว่าหนึ่งชนิดผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

3. ข้อใดจัดเป็นสารเนื้อเดียวทุกชนิด

ก. ดิน นำตาลทราย

ข. คอนกรีต น้ำประปา

ค. ส้มตำ ออกซิเจน

ง. อากาศ ผงชูรส

4. สารในข้อใดจัดเป็นสารบริสุทธิ์ทุกสาร

ก. นาก เงิน ทองคำ

ข. เกลือแกง นำตาลทราย กำมะถัน

ค. น้ำกลั่น น้ำส้มสายชู อากาศ

ง. ฟิวส์ ซูโคส เหล็ก

5. สาร X รวมตัวกันด้วยปฏิกิริยาเคมีกับสาร Y ด้วยสัดส่วนคงที่ เกิดเป็นสาร Z นักเรียนคิดว่าสาร Z ควรเป็นสารประเภทใด

ก. ธาตุ

ข. สารประกอบ

ค. สารเนื้อผสม

ง. สารละลาย



6. ถ้าสารละลายชนิดหนึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยสาร A 30 % B 30 % C 40 %

สารใดเป็นตัวละลาย

ก. A

ข. C

ค. B

ง. A , B

7. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์

ก. สารละลายจัดว่าเป็นสารบริสุทธิ์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก

ข. สารบริสุทธิ์เป็นสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว

ค. ธาตุจัดว่าเป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่าอะตอม

ง. สารประกอบจัดว่าเป็นสารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมของธาตุต่างชนิดกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป

8. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์

ก. เกลือแกง น้ำตาลทราย กำมะถัน เป็นสารบริสุทธิ์

ข. นากเป็นสารบริสุทธิ์เพราะมองเห็นเป็นเนื้อเดียว

ค. สารบริสุทธิ์ทุกชนิดเป็นสารเนื้อเดียว

ง. ธาตุ และสารประกอบเป็นสารบริสุทธิ์

9. เมื่อเผาสาร A เกิดสาร B กับแก๊ส C และแก๊ส C ช่วยให้ไฟติด ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก. สาร A เป็นธาตุ

ข. สาร A เป็นสารเนื้อผสม

ค. สาร A เป็นสารประกอบ

ง. สาร A เป็นสารไม่บริสุทธิ์

10. สารในข้อใดที่มีความสำคัญต่อสิ่งที่มีชีวิตมากที่สุด

ก. ไนโตรเจน

ข. คาร์บอน

ค. ออกซิเจน

ง. เหล็ก


























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น