ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ( ม. 1 – 3 )
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สำรวจตรวจสอบ และอธิบายลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ รวมทั้งกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ 2. สำรวจตรวจสอบและอธิบายปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้และผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม | 1. เตรียมสได์สดเพื่อศึกษาลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (ว 1.1 – 1 ) 2. อธิบายและเขียนแผนภาพแสดงส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ จากการสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (ว1.1 – 1 ) 3. สืบค้นข้อมูลและอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 4. ทดลองและอธิบายการเกิด กระบวนการแพร่และออสโมซิส(ว1.1 – 1 ) | 1. ทดลองและ อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และการทำงานของโครงกระดูกกับกล้ามเนื้อของมนุษย์ และสัตว์บางชนิด ( ว 1.1-3 ) 2. สืบค้นข้อมูลวิเคราะห์และอธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์และสัตว์ดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ( ว 1.1 – 3 ) | 1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธ์และปรับปรุงพันธ์ เพิ่มผลผลิตของพืชและสัตว์ ( ว1.1-5 ) 2. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์และผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ( ว1.1 – 5 ) |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือรายภาค | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
3. สำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต (พืช สัตว์ และมนุษย์) การทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่าง ๆ และนำความรู้ไปใช้ 4. สังเกต สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์ และอธิบายพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส) 5. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและนำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ เพิ่มผลผลิตของพืชและสัตว์ รวมทั้งผลของการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมอาหาร และการแพทย์ | 5. ออกแบบและทำการทดลองเกี่ยวกับการแพร่ และออสโมซีสของเซลล์เมื่ออยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างกัน (ว1.1 – 1 ) 6. ทดลอง สืบค้นข้อมูลและอธิบายปัจจัยบางประการที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ แสง คลอโรฟิลล์ คาร์บอนไดออกไซด์ และผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง (ว1.1- 2 ) 7. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม( ว1.1 – 2 ) 8. ทดลอง สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างการทำงานของระบบลำเลียงของพืช ( ว1.1- 3 ) | 3. ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์ สัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ได้แก่แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ( ว1.1 – 4 ) 4. สืบค้นข้อมูลและอธิบายเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธ์ ปรับปรุงพันธ์ เพิ่มผลผลิตของสัตว์ในท้องถิ่น ( ว1.1 – 5 ) 5. สืบค้นข้อมูลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ( ว1.1 – 5 ) 6. ทดสอบและอธิบายเกี่ยวกับสมบัติของสารอาหารหลักในอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน (ว 1.1 – 6 ) | -- |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
6. สำรวจตรวจสอบสารอาหารต่าง ๆ ที่รับประทานในชีวิตประจำวัน และนำความรู้มาใช้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วนเหมาะสมกับเพศและวัย 7. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับสารเสพติด ผลของสารเสพติดต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายและนำเสนอแนวทางในการป้องกันและต่อต้านสารเสพติด | 9. สืบค้นข้อมูล ทดลองและอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ในระบบสืบพันธ์ของพืช ( ว1.1 – 3 ) 10. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และอธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่างๆ ในพืช ( ว1.1 – 3 ) 11. ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า ได้แก่แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ( ว1.1 – 4 ) 12. สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธ์ ปรับปรุงพันธ์เพิ่มผลผลิตของพืชในท้องถิ่น ( ว1.1 – 5 ) 13. สืบค้นข้อมูลอภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ( ว1.1 – 5 ) | 7. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสำคัญของสารอาหารที่มีต่อร่างกาย( ว 1.1 – 6 ) 8. เลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ได้สัดส่วน เหมาะสมกับเพศและวัย ( ว1.1 – 6 ) 9. สืบค้นข้อมูลและอธิบายผลของสารเสพติดต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายเสนอแนะรณรงค์การป้องกันและต่อต้านสารเสพติด ( ว. 1.1 – 7 ) | -- |
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 : เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับสารพันธุกรรมในนิวเคลียสที่ควบคุมลักษณะและกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ สารพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานและรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ความรู้ด้านพันธุกรรม 2. สำรวจ สืบค้นข้อมูล และอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล และผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ โดยเฉพาะโรคที่มีผลต่อสังคม | -- | -- | 1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายได้ว่าในนิวเคลียสมีโครโมโซม บนโครโมโซมมีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ (ว1.2 – 1 ) 2. สืบค้นข้อมูลและอธิบายลักษณะของโครโมโซม ของสิ่งมีชีวิต ยีนที่อยู่บนโครโมโซม และจำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต ( ว1.2 – 1 ) |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือรายภาค | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
| -- | -- | 3. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และเขียนแผนภาพแสดงกระบวนการถ่วยทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ( ว 1.2 – 1 ) 4. สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำความรู้ด้านพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ( ว1.2 – 1 ) 5. สำรวจ สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น ( ว1.2 – 2 ) 6. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชัวภาพที่มีผลต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ( ว1.2 – 2 ) |
สาระที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สำรวจตรวจสอบระบบนิเวศต่างๆ ในท้องถิ่น อธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน วัฏจักรของสารและการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชาการ | -- | -- | 1. สำรวจ อธิบาย และเขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศในท้องถิ่น และการถ่ายทอดพลังงาน ( ว2.1 – 1 ) 2. สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับวัฏจักรของคาร์บอน ไนโตรเจน และน้ำ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ภายในระบบนิเวศ ( ว2.1 – 1 ) 3. สำรวจ ทดลอง และอธิบายการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ( ว 2.1 – 1 ) |
สาระที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี หรือรายภาค | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เสนอแนวคิดในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การใช้ทรัพยากรธรรม- ชาติอย่างยั่งยืนโดยใช้ความรู้ทางวิทยา-ศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลรักษาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม | -- | -- | 1. สำรวจ วิเคราะห์ และอธิบายเกี่ยวกับสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ( ว2.2 – 1 ) 2. เสนอแนวคิดในการดูแลรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ( ว2.2 – 1 ) 3. อาสาสมัครเป็นกลุ่มร่วมป้องกันและเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ( ว2.2 – 1 ) |
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สังเกต สำรวจตรวจสอบวิเคราะห์อภิปรายสมบัติต่าง ๆ ของสารจำแนกสารออกเป็นกลุ่มตามเนื้อสารหรือขนาดของอนุภาค 2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแบบจำลอง (model) การจัดเรียงอนุภาคและการเคลื่อนไหวอนุภาคของสารในสถานะต่าง ๆ และใช้แบบจำลอง อธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสาร 3. สำรวจตรวจสอบสารเนื้อเดียว อภิปราย และอธิบายสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลายค่า pHของสารละลาย และการนำความรู้เกี่ยวกับกรด-เบสไปใช้ประโยชน์ | 1. สำรวจตรวจสอบวิเคราะห์อภิปรายสมบัติทางกายภาพของสาร (ว 3.1 – 1) 2. จำแนกสารเป็นกลุ่มตามลักษณะของเนื้อสารและขนาดอนุภาคของสาร (ว3.1 – 1) 3. สำรวจ ทดลอง และอธิบายความแตกต่างระหว่างสมบัติ ลักษณะเนื้อสาร ของสารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม ขนาดอนุภาคของสารแขวนลอย คอลลอยด์ สารละลาย ( ว3.1-1 ) 4. ตรวจสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์ ( ว3.1- 3 ) | 1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายแบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคและการเคลื่อนไหวของอนุภาคในสถานะต่าง ๆ (ว 3.1 – 2 ) 2. สืบค้นข้อมูล และอธิบายสมบัติของสารและการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจำลองการจัดเรียงอนุภาค (ว3.1 – 2 ) 3. สืบค้นข้อมูลและตรวจสอบสมบัติของธาตุ สารประกอบและธาตุกัมมันตรังสี (ว 3.1 – 4 ) | -- |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
4. สำรวจตรวจสอบและเปรียบเทียบสมบัติของสาร อธิบายองค์ประกอบสมบัติของธาตุและสารประกอบ สามารถจำแนกและอธิบายสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และการนำไปใช้ประโยชน์ 5. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การกลั่น การตกผลึก การสกัด และโครมาโทรกราฟี่ และนำวิธีการแยกสารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม | 5. ทดสอบ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่า pH กับสมบัติความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย (ว3.1 – 3 ) 6. สำรวจและอธิบายสมบัติของสารละลายกรด – เบส ที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และผลที่มีต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม (ว3.1 – 3 ) 7. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการแยกสารโดยวิธีการกลั่น กรอง ตกผลึก สกัดและโครมาโทกราฟี่ (ว3.1 – 5 ) 8. อธิบายและยกตัวอย่างการนำหลักการแยกสารไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ( 3.1 – 5 ) | 4. ทดลอง จำแนก และอธิบายสมบัติของธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ (ว 3.1 – 4 ) 5. อธิบายและยกตัวอย่างการนำธาตุ สารประกอบ และธาตุกัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันรวมทั้งการป้องกันอันตรายจากกัมมันตรังสี ( ว3.1 – 4 ) | -- |
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สังเกต สำรวจ ตรวจสอบอภิปราย อธิบายการเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานของสารเมื่อสารเกิดการละลายเปลี่ยนสถานะและเกิดปฏิกิริยาเคมี รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร 2. สำรวจตรวจสอบ เปรียบเทียบ อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับหน่วยที่ใช้แสดงปริมาณของตัวละลายในตัวทำละลาย วิธีเตรียมสารละลายที่มีความข้มข้นตามหน่วยที่กำหนดและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน | 1. สำรวจและอธิบายองค์ประกอบของสารละลาย ความเข้มข้นของสารละลาย (ว 3.2 – 2 ) 2. เตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นตามหน่วยที่กำหนด ( ว3.2 – 2 ) 3. ทดลองและอธิบายการตกผลึกของสารบริสุทธิ์ รวมทั้งเตรียมผลึกของสารบริสุทธิ์บางชนิด (ว 3.2 – 2 ) 4. ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสารละลายและความรู้เรื่องสารละลานไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ( ว3.2 – 2 ) | 1. ทดลอง และอธิบายสมบัติของสารเกี่ยวกับจุดเดือด จุดหลอมเหลว และการละลายในตัวทำละลายต่าง ๆ ( ว3.2 – 1 ) 2. ทดลองและอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี และยกตัวอย่างผลของปฏิกิริยาเคมี ( ว3.2 – 1 ) 3. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน อุณหภูมิกับการเปลี่ยนสถานะของสาร การละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ (ว 3.2 – 1 ) 4. ทดลองและอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร | -- |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
3. สังเกต สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี และสมการเคมีของปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับออกซิเจน โลหะกับน้ำ โลหะกับกรด กรดกับเบส กรดกับคาร์บอเนต และนำความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของสารเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 4. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับผลของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง คุ้มค่า ปลอดภัย รู้วิธีป้องกันและแก้ไขอย่างถูกวิธี | -- | 5. ทดลอง อธิบาย และเขียนสมการเคมีแสดงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับออกซิเจน โลหะกับน้ำ โลหะกับกรด กรดกับเบส และกรดกับคาร์บอเนต( ว3.2 – 3) 6. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี ( ว3.2- 3 ) 7. สำรวจและอธิบายการป้องกันการสึกกร่อนของโลหะกับวัสดุคาร์บอเนต(ว 3.2- 3 ) 8. สำรวจ สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ( ว3.2 – 4 ) 9. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และยกตัวอย่างการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องปลอดภัยและคุ้มค่า และผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันแก้ไข ( ว3.2 – 4 ) | -- |
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. อภิปรายและอธิบายได้ว่าแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ทำการทดลองหาแรง-ลัพธ์ของแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกัน 2. สำรวจ ตรวจสอบ และอธิบายว่าแรงลัพธ์มีผลทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์นั้น | 1. ทดลองและอธิบายว่าแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ( ว4.1 – 1 ) 2. ทดลองและอธิบายแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกัน (ว4.1 – 1 ) 3. ทดลองและอธิบายความหมายของความเร่ง ( ว4.1 – 2 ) 4. ทดลองและอธิบายว่าผลของแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุนั้นมีความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ ( ว4.2 – 2 ) | -- | -- |
มาตรฐาน ว 4.2 : เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สำรวจ ตรวจสอบ และอธิบายแสงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในเชิงคุณภาพและเสนอแนะวิธีการเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม 2. ทดลองและอธิบายหลักการของโมเมนต์และวิเคราะห์โมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งคำนวณ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 3. สังเกตการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และอธิบายผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุและลักษณะการเคลื่อนที่ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ | 1. ทดลองและอธิบายหลักการของแรงเสียดทาน ( ว4.2 – 1 ) 2. วิเคราะห์แรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเสนอแนวคิดที่จะเพิ่มหรือลดแรงเสีดทานเพื่อให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ( ว 4.2 – 1 ) 3. ทดลองและอธิบายหลักการของโมเมนต์ของแรงในเชิงปริมาณ ( ว 4.2 – 2 ) 4. วิเคราะห์ คำนวณโมเมนต์ของแรงในสถานการณ์ต่าง ๆ ( ว 4.2 – 2 ) 5. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และยกตัวอย่างการนำหลักการของโมเมนต์ไปใช้ประโยชน์( ว 4.2 – 2 ) | -- | -- |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
-- | 6. สำรวจ อธิบาย และระบุการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ( ว 4.2 – 3 ) 7. ทดลองและอธิบายผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ ( ว 4.2 – 3 ) 8. สืบค้นข้อมูลและอธิบายประโยชน์ของการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ( ว 4.2 – 3) | -- | -- |
สาระที่ 5 : พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สำรวจตรวจสอบ และอธิบายความหมายของงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ กฎการอนุรักษ์พลังงาน และการนำไปใช้ประโยชน์2. สังเกต และวัดอุณหภูมิของสิ่งต่างๆ บอกได้ว่าอุณหภูมิเป็นปริมาณที่บอกถึงระดับหรือสภาพความร้อนในวัตถุ 3. สำรวจ ตรวจสอบ และอธิบายการถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยการนำ การพา การแผ่รังสี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ | 1. ทดลองและ อธิบายเกี่ยวกับงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ กฎการอนุรักษ์พลังงานและการนำไปใช้ประโยชน์ ( ว 5.1- 1 ) 2. สังเกตและวัดอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ และอธิบายความหมายของอุณหภูมิ ( ว 5.1 – 2 ) 3. ทดลองและอธิบายการถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยการนำ การพา การแผ่รังสี และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ ( ว 5.1 – 3 ) | 1. ทดลองและอธิบายการสะท้อนของแสง การหักเหของแสง การเกิดภาพจากกระจกเงาและเลนส์ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ เช่น เส้นใยนำแสง เลเซอร์ ( ว 5.1 – 6 ) 2. สังเกตการตอบสนองของนัยน์ตาต่อความเข้มแสง และอธิบายผลของความเข้มของแสงต่อนัยน์ตามนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ( ว 5.1 – 7 ) | 1. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทาน และคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้อง ( ว 5.1 – 8 ) 2. สืบค้นข้อมูล และคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าและค่าไฟฟ้า ( ว 5.1 – 9 ) 3. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง ประหยัด และคุ้มค่า ( ว 5.1 – 9 ) |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
4. ทดลอง และอธิบายการดูดกลืนแสงและการคายความร้อนของวัตถุต่างๆ สืบค้นข้อมูลรวมทั้งนำความรู้ไปออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ 5. ทดลองและอธิบายสมดุลความร้อน ผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ 6. ทดลองและอธิบายสมบัติการสะท้อน การหักเหของแสงรวมทั้งการคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้อง และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 7. อภิปรายและอธิบายได้ว่า ความเข้มของแสงมีผลต่อนัยน์ตามนุษย์ และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ | 4. ทดลอง และอธิบายเกี่ยวกับการดูดกลืนแสง และการคายความร้อนของวัตถุต่างๆ ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ ( ว 5.1 – 4 ) 5. ออกแบบ สร้างแบบจำลองที่แสดงการใช้ประโยชน์ของหลักการเรื่องการดูดกลืน-แสง และการคายความร้อน( ว 5.1 – 4 ) 6. ทดลองและอธิบายสมดุลความร้อนผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ ( ว 5.1 – 5 ) | -- | 4. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายหลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน และสร้างแบบจำลองติดตั้งวงจรไฟฟ้าในบ้านอย่างถูกต้อง ปลอดภัยและประหยัด ( ว 5.1 – 10 ) 5. ทดลองและอธิบายสมบัติเบื้องต้นของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางชนิดเช่น ตัวต้านทานไดโอด ไอซี ทรานซิสเตอร์ ( ว 5.1 – 11 ) 6. ประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นสำหรับใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ( ว 5.1 – 11 ) |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
8. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้อง 9. สืบค้นข้อมูล และคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เปรียบเทียบ และเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม 10. สืบค้นข้อมูล และอธิบายหลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน การออกแบบและติดตั้งอย่างถูกต้อง ปลอดภัยและเหมาะสม รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ 11. สำรวจตรวจสอบ บอกสมบัติเบื้องต้นของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ไอซี ทรานซิสเตอร์ สามารถประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นและนำไปใช้ประโยชน์ | -- | -- | -- |
สารที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิงโลก และภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ แปลความหมายจากการพยากรณ์อากาศอธิบายผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม2. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของโลกและกิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3. สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของโลกและทรัพยากรธรณีในโลก | 1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายองค์ประกอบและการแบ่งชั้นของบรรยากาศ ( ว 6.1 – 1 ) 2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศในท้องถิ่น ( ว 6.1 – 1 ) 3. สังเกตสืบค้นข้อมูล อธิบายและเขียนสรุปการเกิดเมฆ ชนิดของเมฆ และการเกิดฝน ( ว 6.1 – 1 ) 4. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝนในท้องถิ่น วัดปริมาณน้ำฝนและอธิบายผลของน้ำฝนต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ( ว 6.1 – 1 ) | 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเขียนแผนภาพส่วนประกอบของโลก ( ว 6.1 – 3 ) 2. สืบค้นข้อมูล สำรวจ และระบุ ทรัพยากรธรณีในท้องถิ่นในประเทศไทยและของโลก( ว 6.1 – 3 )3. อธิบายและเสนอแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีในท้องถิ่น ( ว 6.1 – 3 ) 4. สืบค้นข้อมูล ทดลอง และใช้สถานการณ์จำลองอธิบายหลักการเกิดกระบวนการยกตัว การยุบตัว การคดโค้งโก่งงอ การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม ( ว 6.1 – 4 ) | -- |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
4 สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบและอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการยกตัว การยุบตัว และการคดโค้งโก่งงอ การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม และผลของกระบวนการดังกล่าวที่ทำให้เกิดภูมิประเทศแตกต่างกัน 5. สำรวจตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับชั้นหน้าตัดของดิน สมบัติของดิน การปรับปรุงคุณภาพของดินและการนำไปใช้ประโยชน์ 6. สำรวจตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับแหล่งน้ำบนพื้นโลก แหล่งน้ำใต้ดิน และการนำมาใช้ประโยชน์ | 5. สืบค้นข้อมูล เขียนรายงาน และอธิบายการเกิดลม และผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ( ว 6.1 – 1 ) 6. อธิบายและเสนอแนะวิธีป้องกันภัยที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ( ว 6.1 – 1 ) 7. สืบค้นข้อมูล แลความหมายของสัญลักษณ์และข้อความในพยากรณ์อากาศ และอธิบายความสำคัญของการพยากรณ์อากาศ ( ว 6.1 – 1 ) 8. วิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลียนแปลงอุณหภูมิของโลก ( ว 6.1 – 2 ) 9. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และยกตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม ( ว 6. 1 – 2 ) | 5. สำรวจและอธิบายลักษณะภูมิประเทศทึ่แตกต่างกันในท้องถิ่นและในประเทศไทย และอธิบายผลของกระบวนการทางธรณีต่อการเกิดภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ( ว 6.1 – 4 ) 6. ทดลองและอธิบายสมบัติบางประการของดิน ( ว 6.1 – 5 ) 7. สืบค้นข้อมูล อธิบายและเขียนแผนภาพชั้นหน้าตัดของดิน การกำเนิดดิน ( ว 6.1 – 5 ) 8. อภิปรายและเสนอแนะการปรับปรุงคุณภาพ ของดินให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ ( ว 6.1 – 5 ) 9. ทดลองและอธิบาย ลักษณะ สมบัติ และคุณภาพของแหล่งน้ำบนพื้นโลก และแหล่งน้ำใต้ดิน ( ว 6.1 – 6 ) | -- |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
7. สำรวจ ตรวจสอบ สังเกต และอธิบายกระบวนการเกิดลักษณะขององค์ประกอบสมบัติของหินและแร่ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ | -- | 10. สำรวจ อธิบาย และยกตัวอย่าง การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในท้องถิ่น ( ว 6.1 – 6 ) 11. ทดลองและอธิบายกระบวนการเกิด ลักษณะของหินและแร่ในท้องถิ่น ( ว 6.1 – 7 )12. สืบค้นข้อมูลนำเสนอและจำแนกประเภทของหินในท้องถิ่น การใช้ประโยชน์จากหินและแร่ในท้องถิ่น ( ว 6.1 – 7 ) | -- |
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์ และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับปฎิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก 2. สังเกต อภิปราย และอธิบายกลุ่มดาวฤกษ์และการใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น | -- | -- | 1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายส่วนประกอบของระบบสุริยะ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก( ว 7.1 – 1 ) 2. ระบุตำแหน่งและอธิบายลักษณะของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ( ว 7.1 – 1 ) 3. สืบค้นข้อมูลและอธิบายส่วนประกอบของกาแลกซีและเอกภพ ( ว 7.1 – 2 ) 4. อ่านแผนที่ดาว สังเกตและอธิบายกลุ่มดาวฤกษ์และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากตำแหน่งของกลุ่มดาวฤกษ์( ว 7.1 – 2 ) |
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์ และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 2 : เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร และการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าขอเทคโนโลยีอวกาศ ที่ใช้สำรวจอวกาศ วัตถุท้องฟ้า สภาวะอากาศทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ในการสื่อสาร | -- | -- | 1. สืบค้นข้อมูล อธิบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศที่ใช้สำรวจอวกาศ วัตถุท้องฟ้า สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ในการสื่อสาร ( ว 7.2 – 1 ) |
สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 : ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
1. ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้ 2. สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลายๆวิธี 3. เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม 4. เก็บข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ | 1. ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปร ที่สำคัญ ในการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้ 2. สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และวางแผนเพื่อสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี 3. สำรวจตรวจสอบเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 4. เก็บข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณ 5. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการสำรวจตรวจสอบที่สอดคล้องกับสมมติฐาน 6. อธิบายและแสดงผลการสำรวจตรวจสอบ | 1. ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปร ที่สำคัญ ในการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้ 2. สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และวางแผนเพื่อสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี 3. สำรวจตรวจสอบเชิงปริมาณและคุณภาพโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 4. เก็บข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ 5. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการสำรวจตรวจสอบที่สอดคล้องกับสมมติฐาน 6. อธิบายและแสดงผลการสำรวจตรวจสอบ | 1. ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปร ที่สำคัญ ในการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้ 2. สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และวางแผนเพื่อสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี 3. เลือกเทคนิคสิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้วัสดุเครื่องมือที่เหมาะสม 4. เก็บข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ 5. วิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ |
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) | ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี | ||
ชั้น ม.1 | ชั้น ม.2 | ชั้น ม.3 | |
5 วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐาน และความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ 6 สร้างแบบจำลอง ( modeling) หรือรูปแบบ (pattern representation) ที่ อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจ ตรวจสอบ 7 สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ 8 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต การสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้น หรือโต้แย้งจากเดิม 9 จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ | 7. สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบต่อไป 8. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากการสำรวจตรวจสอบเพื่ออ้างอิง 9. จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน อธิบายโครงการหรือชิ้นงานที่แสดง กระบวนการ และผลงาน | 7. สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบและนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ 8. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากการสำรวจตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ 9. จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และอธิบาย กระบวนการ และผลของโครงงาน หรือชิ้นงาน | 6. สร้างแบบจำลองหรือรูปแบบที่อธิบายผลของการสำรวจตรวจสอบ 7. สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ 8. อธิบายผลการสังเกต การสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่พบเมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มเติมขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม 9. จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงาน หรือชิ้นงาน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น