สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้น 3
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น และสาระการเรียนรู้ช่วงชั้น
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สำรวจตรวจสอบและอธิบาย ลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์พืช และเซลล์สัตว์ รวมทั้งกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ 2. สำรวจตรวจสอบ และอธิบายปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้และผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3. สำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต (พืช สัตว์ และมนุษย์) การทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่าง ๆ และนำความรู้ไปใช้ | 1.1 การสังเกต และการอภิปรายลักษณะรูปร่างของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ 1.2 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายหน้าที่ของส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 1.3 การทดลองและการอภิปรายการเกิดกระบวนการแพร่ และการออสโมซิส 2.1 การทดลอง และการอภิปรายปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้และผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 2.2 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3.1 การสำรวจโครงสร้างที่ใช้ในการลำเลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช 3.2 การสำรวจ การทดลอง และการอภิปรายโครงสร้างและการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของพืช 3.3 การอภิปรายความสัมพันธ์ของการทำงานของระบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพืช 3.4 การสืบค้นข้อมูล การทดลอง และการอภิปรายโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้ม-กัน ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อของมนุษย์ และสัตว์บางชนิด |
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
4. สังเกต สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์ และอธิบายพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส) 5. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ เพิ่มผลผลิตของพืชและสัตว์ รวมทั้งผลของการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมอาหาร และการแพทย์ 6. สำรวจตรวจสอบสารอาหารต่าง ๆ ที่รับประทาน ในชีวิตประจำวัน และนำความรู้มาใช้ในการเลือก รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ได้สัดส่วนเหมาะสมกับเพศและวัย 7. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับสารเสพติด ผลของสารเสพติดต่อการทำงานของระบบต่างของร่างกาย และนำเสนอแนวทางในการป้องกันและต่อต้านสารเสพติด | 3.5 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่าง ๆ ของมนุษย์และสัตว์ 4.1 การสังเกต การสำรวจ และการวิเคราะห์การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า (แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส) 4.2 การสังเกต การสำรวจ และการวิเคราะห์การตอบสนองของสัตว์ต่อสิ่งเร้า (แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส) 5.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และการเพิ่มผลผลิตของพืช รวมทั้งผลของการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาห –กรรมอาหาร และการแพทย์ 5.2 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และการเพิ่มผลผลิตของสัตว์ รวมทั้งผลของการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาห -กรรมอาหาร และการแพทย์ 6.1 การทดสอบสารอาหารบางประเภทในอาหาร 6.2 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายความสำคัญของสารอาหารที่มีต่อร่างกาย 6.3 การนำความรู้ไปใช้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วน เหมาะสมกับเพศและวัย 7.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายเกี่ยวกับสารเสพติด ผลของสารเสพติดต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของ ร่างกาย และการนำเสนอแนวทางในการป้องกันและ ต่อต้านสารเสพติด |
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 : เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับสารพันธุกรรมในนิวเคลียสที่ควบคุมลักษณะและกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ สารพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน และรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ความรู้ด้านพันธุกรรม 2. สำรวจ สืบค้นข้อมูล และอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล และผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ โดยเฉพาะโรคที่มีผลต่อสังคม | 1.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย และการอธิบายเกี่ยวกับสารพันธุกรรมในนิวเคลียสที่ควบคุมลักษณะและกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์ 1.2 การสืบค้นข้อมูล การสำรวจ และการอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลาน 1.3 การนำความรู้ด้านพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ 2.1 การสำรวจ การสืบค้นข้อมูล และการอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล 2.2 การอภิปรายผลของความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่มีต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์ และโทษ โดยเฉพาะโรคที่มีผลต่อสังคม |
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สำรวจตรวจสอบระบบนิเวศต่าง ๆ ในท้องถิ่น อธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน วัฏจักรของสาร และการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร | 1.1 การสำรวจ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน วัฏจักรของสาร และการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร |
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เสนอแนวคิดในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลรักษาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม | 1.1 การสำรวจ การอภิปราย และการวิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น 1.2 การอภิปรายแนวคิดในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งลงมือปฏิบัติในการดูแลรักษาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม |
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สังเกต สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์ อภิปรายสมบัติ ต่าง ๆ ของสาร จำแนกสารออกเป็นกลุ่มตามเนื้อสาร หรือขนาดของอนุภาค 2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแบบจำลอง (model) การจัดเรียงอนุภาคและการเคลื่อนไหวอนุภาคของสารในสถานะต่าง ๆ และใช้แบบจำลอง อธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสาร 3. สำรวจตรวจสอบสารเนื้อเดียว อภิปราย และอธิบายสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลาย ค่า pH ของสารละลาย และการนำความรู้เกี่ยวกับกรด-เบสไปใช้ประโยชน์ 4. สำรวจตรวจสอบและเปรียบเทียบสมบัติของสาร อธิบายองค์ประกอบและ สมบัติของธาตุ และสารประกอบ สามารถจำแนกและอธิบายสมบัติของธาตุกัมมันตรังสีโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และการนำไปใช้ประโยชน์ | 1.1 การสังเกต และการอภิปรายสมบัติต่างๆ ของสาร 1.2 การทดลอง การอภิปราย และการจำแนกความแตกต่างระหว่างสมบัติ และลักษณะเนื้อสารของสารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม สารแขวนลอย และสารละลาย 2.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายความแตกต่างของสมบัติของสารทั้งสามสถานะ จากการจัดเรียงและการเคลื่อนไหวของอนุภาคของสาร 2.2 การอธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจำลอง ( model ) หรือสถานการณ์จำลอง 3.1 การทดสอบความเป็นกรด – เบส ของสารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์ 3.2 การอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างค่า pH กับระดับความเป็นกรด – เบสของสารละลาย 3.3 การทดลองและการอภิปราย สมบัติของสารละลายกรด – เบส และการนำความรู้เกี่ยวกับกรด – เบส ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 4.1 การอภิปราย และการเปรียบเทียบองค์ประกอบ และสมบัติของธาตุ และสารประกอบ 4.2 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย สมบัติของธาตุ -กัมมันตรังสี ธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ และธาตุกึ่งโลหะ การอภิปรายประโยชน์ของการนำธาตุต่าง ๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน |
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
5. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การกลั่น การตกผลึก การสกัด และโครมาโทกราฟี่ และนำวิธีการแยกสารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม | 5.1 การอภิปรายหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การ กลั่น การตกผลึก การสกัด และโครมาโทกราฟี่ 5.2 การทดลอง แยกสารบางชนิดด้วยวิธีการที่เหมาะสม 5.3 การอภิปราย การนำวิธีการแยกสารไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม |
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย
การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สังเกต สำรวจตรวจสอบ อภิปราย อธิบายการเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานของสาร เมื่อสารเกิดการละลาย เปลี่ยนสถานะ และเกิดปฏิกิริยาเคมี รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร 2. สำรวจตรวจสอบ เปรียบเทียบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับหน่วยที่ใช้แสดงปริมาณของตัวละลายในตัวทำละลาย วิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นตามหน่วยที่กำหนด และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ 3. สังเกต สำรวจ ตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี และสมการเคมีของปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับออกซิเจน โลหะกับน้ำ โลหะกับกรด กรดกับเบส กรดกับคาร์บอเนต และนำความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของสารเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับผลของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง คุ้มค่า ปลอดภัย รู้วิธีป้องกันและแก้ไขอย่างถูกวิธี | 1.1 การทดลอง และการอภิปราย การเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานของสาร เมื่อสารเกิดการละลาย การเปลี่ยนสถานะ และเกิดปฏิกิริยาเคมี 1.2 การอภิปราย และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสาร 2.1 การอภิปรายองค์ประกอบของสารละลาย 2.2 การทดลอง และการอภิปรายความเข้มข้นของสารละลาย วิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นตามหน่วยที่กำหนด และการนำความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารละลายไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3.1 การทดลอง และการอภิปรายการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของสาร 3.2 การอภิปราย และการอธิบายสมการเคมีของปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับออกซิเจน โลหะกับน้ำ โลหะกับกรด กรดกับเบส กรดกับคาร์บอเนต 3.3 การนำความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีของสารไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน 4.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายผลของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม 4.2 การอภิปรายและการเสนอแนะวิธีการใช้สารเคมีอย่าง ถูกต้อง คุ้มค่า ปลอดภัย รู้วิธีป้องกัน และแก้ไขอย่าง ถูกวิธี |
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. อภิปราย และอธิบายได้ว่าแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ทำการทดลองหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกัน 2. สำรวจตรวจสอบ และอธิบายว่าแรงลัพธ์มีผลทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์นั้น | 1.1 การอธิบายความหมายของปริมาณทางฟิสิกส์ 1.2 การทดลอง และการอภิปรายหาแรงลัพธ์ของแรง หลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในระนาบเดียวกัน 2.1 การทดลอง และการอภิปรายผลของแรงลัพธ์ที่ทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์นั้น |
สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.2 : เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สำรวจตรวจสอบ และอธิบายแรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในเชิงคุณภาพ และเสนอแนะวิธีการเพิ่ม หรือลดแรงเสียดทานเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม 2. ทดลอง และอธิบายหลักการของโมเมนต์ และวิเคราะห์โมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งคำนวณและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 3. สังเกตการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และอธิบายผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุและลักษณะการเคลื่อนที่ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ | 1.1 การทดลอง และการอภิปรายเกี่ยวกับแรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในเชิงคุณภาพ 1.2 การอภิปรายวิธีการเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม 2.1 การทดลอง และการอภิปรายหลักการของโมเมนต์ 2.2 การวิเคราะห์โมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ 2.3 การคำนวณโมเมนต์ และนำความรู้เรื่องโมเมนต์ไปใช้ประโยชน์ 3.1 การสังเกตการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน 3.2 การอธิบายผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุและลักษณะการเคลื่อนที่ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ |
สาระที่ 5 : พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สำรวจ ตรวจสอบ และอธิบายความหมายของงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ กฎการอนุรักษ์พลังงาน และการนำไปใช้ประโยชน์ 2. สังเกต และวัดอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ บอกได้ว่าอุณหภูมิเป็นปริมาณที่บอกถึงระดับหรือสภาพความร้อนในวัตถุ 3. สำรวจตรวจสอบ และอธิบายการถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยการนำ การพา การแผ่รังสี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 4. ทดลอง และอธิบายการดูดกลืนแสง และการคายความร้อนของวัตถุต่าง ๆ สืบค้นข้อมูลรวมทั้งนำความรู้ไปออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ 5. ทดลอง และอธิบายสมดุลความร้อน ผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ | 1.1 การอธิบายความหมายของงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ และกฎการอนุรักษ์พลังงาน 1.2 การอภิปรายประโยชน์ของพลังงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน 2.1 การสังเกต และการวัดอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ 2.2 การอธิบายความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกับระดับความร้อนหรือสภาพความร้อนในวัตถุ 3.1 การทดลองและการอภิปรายการถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยการนำ การพา และการแผ่รังสี 3.2 การนำความรู้เรื่องการถ่ายโอนพลังงานความร้อน ไปใช้ประโยชน์ 4.1 การทดลอง และการอภิปรายการดูดกลืนแสงและการคายความร้อนของวัตถุต่าง ๆ 4.2 การสืบค้นข้อมูล และการนำความรู้เรื่องการดูดกลืนแสงและการคายความร้อนไปออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ 5.1 การทดลอง และการอธิบายสมดุลความร้อน ผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ |
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
6. ทดลอง และอธิบายสมบัติการสะท้อน การหักเหของแสง รวมทั้งการคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้อง และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 7. อภิปรายและอธิบายได้ว่าความเข้มของแสงมีผลต่อนัยน์ตามนุษย์ และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ 8. ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้อง 9. สืบค้นข้อมูล และคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เปรียบเทียบ และเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม 10. สืบค้นข้อมูล และอธิบายหลักการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน การออกแบบและติดตั้งอย่างถูกต้องปลอดภัยและเหมาะสม รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ 11. สำรวจ ตรวจสอบ บอกสมบัติเบื้องต้นของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ไอซี ทรานซิสเตอร์ สามารถประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นและนำไปใช้ประโยชน์ | 6.1 การทดลองและการอภิปรายสมบัติการสะท้อน และการหักเหของแสง 6.2 การอธิบาย และการคำนวณการเกิดภาพของวัตถุ และการนำความรู้เรื่องการเกิดภาพไปใช้ประโยชน์ 7.1 การอภิปรายผลความเข้มของแสงต่อนัยน์ตามนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ 8.1 การทดลอง และการอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานและการคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้อง 9.1 การคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 9.2 การสืบค้นข้อมูล การอภิปรายเปรียบเทียบ และการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม 10.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายหลักการต่อวงจร ไฟฟ้าในบ้าน การออกแบบและติดตั้งอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และการนำไปใช้ประโยชน์ 11.1 การทดลองและการอภิปรายสมบัติเบื้องต้นของชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์บางชนิด เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ไอซี และทรานซิสเตอร์ 11.2 การประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นและการนำ ไปใช้ประโยชน์ |
สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วง ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ แปลความหมายจากการพยากรณ์อากาศ อธิบายผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของโลก และกิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3. สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของโลก และทรัพยากรธรณีในโลก 4. สืบค้นข้อมูล สำรวจตรวจสอบ และอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการยกตัว การยุบตัว และการคดโค้งโก่งงอ การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา การทับถม และผลของกระบวนการดังกล่าวที่ทำให้เกิดภูมิประเทศแตกต่างกัน | 1.1 การสืบค้นข้อมูล และการอภิปรายปรากฏการณ์ ทางลมฟ้าอากาศ 1.2 การวิเคราะห์ และการแปลความหมายจากการพยากรณ์อากาศ 1.3 การอภิปรายผลของลมฟ้าอากาศต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2.1 การวิเคราะห์ และการอภิปรายผลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของโลก และกิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์ ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย และการอธิบาย ส่วนประกอบของโลก และทรัพยากรธรณีในโลก 4.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย และการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการยกตัว การยุบตัว การคดโค้งโก่งงอ การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การพัดพา และการทับถม 4.2 การอภิปราย และการอธิบาย ผลของกระบวนการทางธรณีดังกล่าวที่ทำให้เกิดภูมิประเทศแตกต่างกัน |
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
5. สำรวจตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับชั้นหน้าตัดของดิน สมบัติของดิน การปรับปรุงคุณภาพของดิน และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 6. สำรวจตรวจสอบ อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับแหล่งน้ำบนพื้นโลก แหล่งน้ำใต้ดิน และการนำมาใช้ประโยชน์ 7. สำรวจตรวจสอบ สังเกต และอธิบายกระบวนการเกิด ลักษณะขององค์ประกอบ สมบัติของหินและแร่ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ | 5.1 การสำรวจ การทดลอง และการอธิบายเกี่ยวกับ ชั้นหน้าตัดของดิน สมบัติของดิน และการปรับปรุงคุณภาพของดิน 5.2 การอภิปราย และการนำความรู้เรื่องการปรับปรุงคุณภาพดินไปใช้ประโยชน์ 6.1 การสำรวจ การอภิปราย และการอธิบายเกี่ยวกับแหล่งน้ำบนพื้นโลก และแหล่งน้ำใต้ดิน 6.2 การอภิปราย และการนำความรู้เรื่องแหล่งน้ำมาใช้ประโยชน์ 7.1 การทดลอง และการอภิปรายกระบวนการเกิด ลักษณะขององค์ประกอบ สมบัติของหินและแร่ 7.2 การอภิปรายการใช้ประโยชน์จากหินและแร่ |
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแลกซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม. 3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับปฎิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก 2. สังเกต อภิปราย และอธิบายกลุ่มดาวฤกษ์ และการใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น | 1.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปรายและการอธิบายปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ 1.2 การอภิปรายและอธิบายผลของปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลก 2.1 การสังเกต การอภิปราย และการอธิบายลักษณะกลุ่มดาวฤกษ์ และการนำความรู้เรื่องกลุ่มดาวฤกษ์ไปใช้ประโยชน์ |
สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.2 : เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ ทรัพยากรธรรมชาติด้านการเกษตร และการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม. 3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศที่ใช้สำรวจอวกาศ วัตถุท้องฟ้า สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ในการสื่อสาร | 1.1 การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย และการอธิบายความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศที่ใช้สำรวจอวกาศ วัตถุท้องฟ้า สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ในการสื่อสาร |
สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 : ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
1. ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็น หรือตัวแปรที่สำคัญใน การสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ ได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้ 2. สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลายๆวิธี 3. เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม 4. เก็บข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ 5. วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ทั้งที่สนับสนุนและขัดแย้งกับสมมติฐาน และความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ 6. สร้างแบบจำลอง ( modeling) หรือรูปแบบ (pattern representation) ที่อธิบายผลหรือแสดงผลการสำรวจตรวจสอบ | 1.1 การตั้งคำถามที่กำหนดประเด็น หรือตัวแปรที่สำคัญ ในการตรวจสอบจากเรื่องที่ศึกษาหรือ ที่สนใจได้อย่างครอบคลุม 2.1 การสร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ 2.2 การวางแผนเพื่อการสำรวจตรวจสอบหลายๆ วิธี 3.1 การเลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม 4.1 การเก็บข้อมูล และการจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ 5.1 การวิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ทั้งที่สนับสนุนและขัดแย้งกับสมมติฐาน 6.1 การสร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบที่อธิบายผลหรือแสดงผลการสำรวจตรวจสอบ |
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ม.1 – ม.3 | สาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 |
7. สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่ เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ 8. บันทึกและอธิบายผลการสังเกต การสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้น หรือโต้แย้งจากเดิม 9. จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ | 7.1 การสร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง 7.2 การนำความรู้ที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์ใหม่ ๆ 8.1 การบันทึก และการอธิบายผลการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ 8.2 การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการนำเสนอข้อมูล 8.3 การยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม 9.1 การจัดแสดงผลงาน การเขียนรายงาน และ/หรือการอธิบาย เกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของชิ้นงานให้ผู้ อื่นเข้าใจ |
กำหนดการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น