วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ที่12

                                            แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สารละลาย เวลา 49 ชั่วโมง
เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร เวลา 4 ชั่วโมง
บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ...9-13...เดือน ....สิหาคม.....พ.ศ. ....2554............... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1


สาระสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงของสาร

ปฏิกิริยาเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงของสารเบื้องต้นที่ให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารชนิดใหม่

ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะ


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง


สำรวจ ตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายปฏิกิริยาเคมี และความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะ


จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทาง


สรุปเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี และความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะ

ได้


จุดประสงค์การเรียนรู้นำทาง


1. บอกความหมายของปฏิกิริยาเคมีได้

2. อธิบายการขั้นตอน พร้อมทำการทดลองเกิดปฏิกิริยาเคมีได้

3. อธิบายพร้อมยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงได้


เนื้อหาสาระ


การเปลี่ยนแปลงสาร

1. ปฏิกิริยาเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงของสารเบื้องต้นที่ให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารชนิดใหม่

2. ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการเปลี่ยนสถานะของสาร

สารโดยทั่วไปในภาวะอุณหภูมิปกติจะดำรงสถานะโดยอาจจะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าช คืออยู่ในสถานะหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปจนถึงระดับหนึ่งเฉพาะตัวของสารนั้นๆ ซึ่งก็คือเป็นความสัมพันธ์ของพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะ พลังงานความร้อนที่เกี่ยวในการเปลี่ยนแปลงของสถานะ จะเป็นพลังงานดูดความร้อน หรือพลังงานคายความร้อน

ดังภาพ


การดูดพลังงานความร้อน

----------------------------------------------------------------------

น้ำแข็ง 0 CO น้ำ 0 CO น้ำ 100 CO ไอน้ำ 100 CO

----------------------------------------------------------------------------------

การคายพลังงานความร้อน


การเปลี่ยนสถานะของสาร
การเปลี่ยนสถานะของสาร จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.
คายความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากระบบสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2.
ดูดความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมสู่ระบบ ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนสถานะของสารจะเป็นไปได้ยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1. สมบัติเกี่ยวกับจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสาร

2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสาร

3. ประเภทของสถานะของสารนั้นๆ


กิจกรรมการเรียนการสอน

1. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวปฏิบัติในการเรียนเกณฑ์การผ่านและวิธีการซ่อมเสริมเมื่อนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์

2. ครูและนักเรียนสนทนาถึงการเปลี่ยนแปลงของสาร พร้อมช่วยกันบอกความหมายของปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงของสารเบื้องต้นที่ให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารชนิดใหม่

3. นักเรียนร่วมกันศึกษาใบความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร พร้อมตอบคำถาม

-การเปลี่ยนสถานะของสาร

การเปลี่ยนสถานะของสาร จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.
คายความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากระบบสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2.
ดูดความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมสู่ระบบ ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง

4. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึง ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับศึกษาใบความรู้

5. นักเรียนทำกิจกรรม เรื่อง เรื่องอุณหภูมิกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

6. นักเรียนร่วมกันสรุปถึงการเปลี่ยนแปลงของสาร


สื่อ/แหล่งเรียนรู้


1. ใบความรู้ เรื่องการเปลี่ยนสถานะของสาร

2. ใบความรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

3. ใบกิจกรรม เรื่องอุณหภูมิกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

4. Power point

5. หนังสืออ่านเพิ่มเติม


การวัดผลประเมินผล



วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน
1. สังเกตพฤติกรรม
2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน
3. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4. ตรวจผลงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรม
แบบบันทึกการตรวจ
ผลการปฏิบัติงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60


กิจกรรมเสนอแนะ

ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน




บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

1 ผลการจัดการเรียนรู้

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................

นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............

2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................

3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................

4 การปรับปรุงและพัฒนา

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................


ลงชื่อ ............................................ผู้สอน

(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)

ครูอัตราจ้าง











ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………….


ลงชื่อ ...................................................

(นางทิพวดี อัครฮาด)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...…..…………


ลงชื่อ ......................................................

(นายสุชาติ อาจศัตรู)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ




.










ใบความรู้

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเปลี่ยนแปลงสาร

ปฏิกิริยาเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงของสารเบื้องต้นที่ให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารชนิดใหม่

ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการเปลี่ยนสถานะของสาร

สารโดยทั่วไปในภาวะอุณหภูมิปกติจะดำรงสถานะโดยอาจจะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าช คืออยู่ในสถานะหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปจนถึงระดับหนึ่งเฉพาะตัวของสารนั้นๆ ซึ่งก็คือเป็นความสัมพันธ์ของพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะ พลังงานความร้อนที่เกี่ยวในการเปลี่ยนแปลงของสถานะ จะเป็นพลังงานดูดความร้อน หรือพลังงานคายความร้อน

ดังภาพ

การดูดพลังงานความร้อน

----------------------------------------------------------------------

น้ำแข็ง 0 CO น้ำ 0 CO น้ำ 100 CO ไอน้ำ 100 CO

----------------------------------------------------------------------------------

การคายพลังงานความร้อน















ใบความรู้

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเปลี่ยนสถานะของสาร
การเปลี่ยนสถานะของสาร จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.
คายความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากระบบสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2.
ดูดความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมสู่ระบบ ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง

การเปลี่ยนแปลงสถานะของสารจะมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้

การหลอมเหลว (melting) สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว โดยต้องให้ความร้อน ทำให้อนุภาคเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวได้ ณ อุณหภูมิที่เรียกว่า จุดหลอมเหลว (melting point) เป็นค่าคงที่ของสารหนึ่งๆ เท่านั้น
การกลายเป็นไอ (evaporation) สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นแก๊ส เมื่ออนุภาคของของเหลวมีพลังงานมาก จนทำให้อนุภาคแยกออกจากกัน เรียกอุณหภูมิที่ทำให้อนุภาคชนะแรงยึดเหนี่ยวของของเหลวได้ว่า จุดเดือด (boiling point)
การแข็งตัว (freezing) สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง หรือแก๊สเป็นของแข็ง โดยจะมีการคายพลังงานออกมา ทำให้อนุภาคมีพลังงานในการสั่นน้อย อนุภาคจึงเรียงตัวแบบชิดกันมากขึ้น

การควบแน่น (condensation) สารเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว เช่น กระบวนการเกิดฝน (ไอน้ำ ระบบความเย็น จะกลั่นตัวเป็น น้ำ)
การระเหิด (sublimation) สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส เช่น การระเหิดของลูกเหม็น

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนสถานะของสารจะเป็นไปได้ยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1. สมบัติเกี่ยวกับจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสาร

2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสาร

3. ประเภทของสถานะของสารนั้นๆ

ประโยชน์จากการเปลี่ยนสถานะของสาร

1. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นของเหลว เช่น การหล่อเทียน การหล่อพระพุทธรูป การหล่อเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยนำสารที่จะหล่อมาหลอมเหลวแล้วใส่ในแม่พิมพ์ เป็นต้น
2.
การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งเป็นแก๊ส เช่น การระเหิดของลูกเหม็น เป็นต้น
3.
การเปลี่ยนสถานะของสารจากแก๊สไปเป็นของเหลว เช่น การทำฝนเทียมโดยใช้สารเคมีเพื่อทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศกลายเป็นฝน ในกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ต้องอาศัยหลักการควบแน่นของสาร เป็นต้น
4.
การเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวไปเป็นแก๊ส เช่น การทำน้ำให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากแรงดันไอของน้ำเดือด เป็นต้น
5.
การเปลี่ยนสถานะของสารจากของเหลวไปเป็นของแข็ง เช่น การทำน้ำแข็ง การทำไอศกรีม เป็นต้น














ใบกิจกรรม

เรื่อง อุณหภูมิกับการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จุดประสงค์

1. หาจุดหลอมเหลวของน้ำแข็ง และจุดเดือดของน้ำ

2. วัดอุณหภูมิของน้ำแข็ง น้ำขณะเปลี่ยนสถานะ

3. เปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิของจุดหลอมเหลว และจุดเดือด


วัสดุอุปกรณ์


รายการ
ปริมาณ
1. น้ำแข็งทุบละเอียด
100 g
2. บิกเกอร์ ขนาด 100 cm3
10 ใบ
3. หลอดทดลองขนาดใหญ่
10 หลอด
4. จุกยางเบอร์ 4 เจาะรู 2 รู
10 อัน
5. หลอดนำแก๊สรูปตัว v
10 อัน
6. เทอร์มอมิเตอร์
10 อัน
7. แท่งแก้วคนสาร
10 อัน
8. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์
10 ชุด
9. ที่กั้นลม
10 ชุด
10.ขาตั้ง และที่จับหลอดทดลอง
10 อัน
11.เศษกระเบื้อง
30 ชิ้น


ตอบคำถาม

1. ขณะที่น้ำเปลี่ยนสถานะ อุณหภูมิจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง

2. ความแตกต่างของอุณหภูมิขณะหลอมเหลว กับขณะเดือดแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

3. อธิบายกานเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำขณะหลอมเหลว และขณะเดือด









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น