วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

                                   แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานภาคเรียนที่1/2552
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สารและการจำแนก เวลา 49 ชั่วโมง
เรื่อง การจำแนกประเภทของสาร เวลา 5 ชั่วโมง
บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ...14-25...เดือน .....มิถุนายน.........พ.ศ. ........2554...........
โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู1


สาระสำคัญ

การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่ง หรือเรียงลำดับวัตถุหรือเหตุการณ์เป็นพวกๆ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง

การจำแนกประเภทของสาร

เกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจำแนกสาร

1. สถานะ

2. การนำไฟฟ้า

3. ความเป็นโลหะ

4. การใช้สารละลาย

5. การใช้เนื้อสาร


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง


สังเกต สำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์อภิปราย การจำแนกประเภทของสารโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น การใช้สถานะ ความเป็นโลหะ การนำไฟฟ้า การใช้สารละลาย การใช้เนื้อสาร


จุดประสงค์ปลายทาง

จำแนกประเภทของสารโดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ได้


จุดประสงค์นำทาง


1. บอกความหมายของการจำแนกประเภทของสารได้

2. บอกเกณฑ์ในการใช้จำแนกประเภทของสารได้

3. อธิบายเกณฑ์บอกประเภทของไฟฟ้าและวิธีการทำให้เกิดไฟฟ้าแต่ละประเภทได้

เนื้อหาสาระ


การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการจัดแบ่ง หรือเรียงลำดับวัตถุหรือเหตุการณ์เป็นพวกๆ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง

การจำแนกประเภทของสาร สามารถจำแนกได้หลายแบบขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนก โดยจะจัดสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน

เกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจำแนกสาร

1. สถานะ

2. การนำไฟฟ้า

3. ความเป็นโลหะ

4. การใช้สารละลาย

5. การใช้เนื้อสาร


กิจกรรมการเรียนการสอน


1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การวัดผลประเมินผล เกณฑ์

การผ่าน/วิธีการซ่อมเสริมเมื่อไม่ผ่านเกณฑ์

2. ทดสอบก่อนเรียน

3. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเรื่อง สสารและสาร และนักเรียนร่วมกันอภิปราย

เกี่ยวกับสารต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยพบเห็นในชีวิตประจำวัน โดยให้นักเรียนช่วยกันยอตัวอย่างสารที่นักเรียนรู้จัก

4. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 – 5 คน ศึกษากิจกรรมเรื่อง จะจำแนกสารได้อย่างไร วางแผน แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม เตรียมอุปกรณ์ ปฏิบัติกิจกรรมตามรายละเอียดในใบกิจกรรม

5. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อร่วมอภิปรายกับกลุ่มอื่น ๆ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับการจำแนกสาร ได้ว่า

การจำแนกสารต้องกำหนดเกณฑ์ในการจำแนกประเภทสาร แล้วจัดเป็นหมวดหมู่โดยสารที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันเราก็จัดเป็นพวกเดียวกัน เราสามารถใช้เกณฑ์ได้หลายแบบ ถ้าเปลี่ยนเกณฑ์การจัดจำแนกประเภทของสาร อาจจัดสารนั้นเป็นคนละกลุ่มก็ได้

6. ครูสนทนากับนักเรียน เกี่ยวกับการจำแนกสารได้หลายเกณฑ์ เกณฑ์หนึ่งที่เราสามารถใช้จำแนกสารได้ คือ สถานะของสาร นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า สถานะของสารเป็นอย่างไร เหตุใดสารจึงต้องมีสถานะต่าง กัน

7. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 – 4 คน ศึกษากิจกรรม เรื่อง เกาะกันไว้ วางแผน แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม ปฏิบัติกิจกรรมตามรายละเอียดในใบกิจกรรม

8. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อร่วมอภิปรายกับกลุ่มอื่น ๆ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม

9. นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง การใช้สถานะเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสาร


คาบที่ 3 – 5

10. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการจัดสารต่าง ๆ ที่นักเรียนเคยพบเห็น

ในชีวิตประจำวัน โดยครูใช้คำถามนำดังนี้

- นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า อากาศที่เราหายใจมีก๊าซอะไรปนอยู่บ้าง

- ขนมสาคูถั่วดำที่แสนอร่อย มีสารอะไรผสมอยู่บ้าง

นักเรียนจะเห็นว่า สารบางชนิดเราสามารถบอกได้ทันทีว่า มีสารปนกันอยู่มากกว่าหนึ่งอย่าง แต่สารบางชนิด เราไม่สามารถบอกได้

- มีสารอะไรบ้างที่นักเรียนบอกได้ว่า มีสารปนกันมากกว่าหนึ่งอย่าง และ

สารที่ปนกันนั้นคืออะไร

- มีสารอะไรบ้างที่นักเรียนบอกไม่ได้ทันทีว่า มีสารปนกันอยู่มากกว่า

หนึ่งอย่าง

11. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษากิจกรรม เรื่อง การจำแนกสารตามลักษณะเนื้อสาร บันทึกผลการทดลอง วางแผน แบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม เตรียมอุปกรณ์ ปฏิบัติกิจกรรมตามรายละเอียดในใบกิจกรรม

12.. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อร่วมอภิปรายกับกลุ่มอื่น ๆ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับการจำแนกสารตามลักษณะเนื้อสาร

13. นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม

14. นักเรียนแต่ละคนจัดทำแผนผังความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจำแนกสารโดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ


สื่อ/แหล่งเรียนรู้


1. ใบความรู้ เรื่อง การจำแนกสารโดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์

2. ใบความรู้เรื่อง สารเนื้อเดียว และสารเนื้อผสม

3. ใบกิจกรรม เรื่อง จะจำแนกสารได้อย่างไร

4. ใบกิจกรรม เรื่อง การจำแนกสารตามลักษณะเนื้อสาร

5. ใบกิจกรรมเรื่อง เกาะกันไว้

6. Power point

7. Internet

8. หนังสืออ่านเพิ่มเติม

การวัดผลประเมินผล


วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน
1. สังเกตพฤติกรรม
2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน
3. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4. ตรวจผลงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรม
แบบบันทึกการตรวจ
ผลการปฏิบัติงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60


กิจกรรมเสนอแนะ

ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน


บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

1 ผลการจัดการเรียนรู้

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................

นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............

2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................

3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ....................


4 การปรับปรุงและพัฒนา

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .......................


ลงชื่อ ............................................ผู้สอน

(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)

ครูอัตราจ้าง


ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ ............................................

(นางทิพวดี อัครฮาด)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์



ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………


ลงชื่อ ............................................

(นายสุชาติ อาจศัตรู)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ


ใบความรู้

เรื่อง การใช้สถานะเป็นเกณฑ์จำแนกสาร

----------------------------------------------------------------------------------

ถ้าใช้สถานะเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสาร จะแบ่งสารออกได้ 3 สถานะคือ

1.
สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง หมายถึง สารที่มีรูปร่างและปริมาตรคงที่ โมเลกุลของสารจะอยู่ชิดกันและยึดกันแน่น เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หิน เหล็ก ทองแดง กำมะถัน ด่างทับทิม เป็นต้น



ของแข็งจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงมาก ทำให้โมเลกุลแต่ละโมเลกุลอยู่ใกล้ชิดกันมาก ดังนั้นจึงมีรูปร่างแน่นอนและมีปริมาตรคงที่พลังงานในการเคลื่อนที่ของโมเลกุลมีค่าน้อยโมเลกุลจึงเพียงแค่สั่นเท่านั้น เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เป็นต้น







ภาพแสดงการจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง

2.
สารที่มีสถานะเป็นของเหลว หมายถึง สารที่มีรูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ สามารถไหลได้ แต่ปริมาตรคงที่ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของแข็ง เนื่องจากโมเลกุลของสารจะอยู่ห่างกัน และมีช่องว่างมากกว่าของแข็งเช่น น้ำ น้ำส้มสายชู เป็นต้น


ของเหลว (liquid) คือ สารที่มีปริมาตรแน่นอน แต่มีรูปร่างไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงตามภาชนะ
ที่บรรจุ อนุภาคอยู่ใกล้เคียงกันแต่ไม่เป็นระเบียบ มีการชนกันตลอดเวลา จึงมีความหนาแน่นสูงกว่าก๊าซ
จะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของแข็ง ทำให้โมเลกุลอยู่ห่างกันมากขึ้น ทำให้โมเลกุลมีการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้นหรือสามารถเคลื่อนที่ได้ ดังนั้นของเหลวจึงไหลได้เช่น น้ำ ปรอท น้ำเชื่อมเป็นต้น











ภาพแสดงการจัดเรียงอนุภาคของของเหลว



3.
สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ หมายถึง สารที่มีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ ฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของก๊าซจะอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็งและของเหลว และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างโมเลกุลมากกว่าของแข็งและของเหลว

ก๊าซ (gas) คือ สารที่มีรูปร่างและปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุเพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก จึงฟุ้งกระจายได้เต็มภาชนะและมีความหนาแน่นต่ำ แก๊ส มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยมาก โมเลกุลเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ทำให้ เกิดการฟุ้งกระจายได้ เช่นอากาศแก๊สหุงต้ม เป็นต้น








ภาพแสดงการจัดเรียงอนุภาคของก๊าซ















แบบฝึกหัด



คำชี้แจง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามคำแนะนำ


1. ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย ü ลงในช่องว่างตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด

สาร

คุณสมบัติ
ของแข็ง
ของเหลว
แก๊ส
1.อนุภาคของสารเคลื่อนที่ได้อิสระ
2.สารที่มีรูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ
3.โมเลกุลของสารอยู่ชิดและอัดกันแน่น
4.มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยที่สุด
5.สารที่มีความหนาแน่นมากที่สุด












เฉลยแบบฝึกหัด



คำชี้แจง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามคำแนะนำ


1. ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย ü ลงในช่องว่างตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด

สาร

คุณสมบัติ
ของแข็ง
ของเหลว
แก๊ส
1.อนุภาคของสารเคลื่อนที่ได้อิสระ
ü
2.สารที่มีรูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ
ü
3.โมเลกุลของสารอยู่ชิดและอัดกันแน่น
ü
4.มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยที่สุด
ü
5.สารที่มีความหนาแน่นมากที่สุด
ü









ใบกิจกรรม

เรื่อง จะจำแนกสารได้อย่างไร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์


1. เพื่อศึกษาวิธีการจัดสารต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่


กิจกรรมที่ 1 จะจำแนกสารได้อย่างไร

นักเรียนลองช่วยกันจัด สารต่าง ๆ ที่ครูนำมานี้ นักเรียนจะจัดจำแนกสารต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร

1. ดิน 6. ก้อนหิน

2. กรรไกร 7. ไม้บรรทัด

3. น้ำหวาน 8. น้ำหอม

4. ดินน้ำมัน 9. น้ำเกลือ

5. จานกระเบื้อง 10. อากาศ

นักเรียนจะมีวิธีการจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างไร ลองคิดดูสิ









ใบความรู้

เรื่อง สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม

--------------------------------------------------------------------------

การจำแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสารได้มากกว่าวิธีอื่น ๆ โดยตามเกณฑ์นี้จะจำแนกสารออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ สารเนื้อเดียว และ สารเนื้อผสม

สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่สังเกตเห็นเนื้อสารกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัทั้งหมด อาจมีองค์ประกอบเป็นสารชนิดเดียว หรือมากกว่า 1 ชนิดก็ได้ และแสดงสมบัติเหมือนกันตลอดทุกส่วนของสารอาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซก็ได้

-สารเนื้อเดียวที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น นาก เกลือแกง ทองคำ ดีบุก ทองเหลือง

-สารเนื้อเดียวที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำ น้ำเชื่อม น้ำเกลือ ปรอท ทิงเจอร์ไอโอดีน

-สารเนื้อเดียวที่มีสถานะเป็นก๊าซ เช่น อากาศ ก๊าซออกซิเจน ไอน้ำ ก๊าซไฮโดรเจน

สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่สังเกตเห็นเนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน มีองค์ประกอบเป็นสารมากกว่า 1 ชนิด และแสดงสมบัติของสารไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วนของสาร

ชนิดของสารเนื้อผสมมีดังนี้

1. สารเนื้อผสมระหว่างของแข็งกับของแข็ง เช่น พริกกับเกลือ , คอนกรีต ข้าวสารปนข้าวเปลือก

1. สารเนื้อผสมระหว่างของแข็งกับของเหลว เช่น ลูกเหม็นลอยน้ำ ตะกอนในน้ำ ทับทิมกรอบน้ำกะทิ

2. สารเนื้อผสมระหว่างของแข็งกับก๊าซ เช่น เขม่าในอากาศ ควันไฟ ฝุ่นละอองในอากาศ

3. สารเนื้อผสมระหว่างของเหลวกับของเหลว เช่น น้ำกับน้ำมัน






ใบกิจกรรม

เรื่อง เกาะกันไว้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์


เพื่อศึกษาวิธีการจัดจำแนกสารโดยใช้ลักษณะการจัดเรียงตัวของอนุภาคของสาร

ในสถานะต่าง ๆ

กิจกรรมกลุ่ม

1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 – 4 คน

2. ให้นักเรียนแต่ละคนใช้แขนทั้งสองข้างของตนเอง โอบไหล่เพื่อนอีก 2 คน ไว้ให้แน่นที่สุดเท่าที่จะแน่นได้ แล้วให้แต่ละกลุ่มเคลื่อนที่

3.
ทำซ้ำข้อ 2 แต่เปลี่ยนจากการโอบไหล่เป็นจับมือกันไว้ให้แน่นและปล่อยมือ

จากการทำกิจกรรมร่วมกันตอบคำถาม

1. การโอบไหล่ การจับมือและการปล่อยมือ วิธีใดที่นักเรียนเคลื่อนที่ตัวเองได้ง่ายกว่า

2. การโอบไหล่ การจับมือและการปล่อยมือ วิธีใดที่กลุ่มจะถูกทำให้เปลี่ยนรูปร่างได้ง่ายกว่า

3. ถ้านักเรียนแต่ละคนเปรียบเสมือนแต่ละอนุภาคของสาร จะเห็นว่า

- การโอบไหล่ เปรียบเหมือนอนุภาคของสารที่อยู่กันอย่างหนาแน่น อนุภาคจะเคลื่อนตัวเองยาก แทนอนุภาคในสถานะ……………….

- การจับมือกัน เปรียบเหมือนอนุภาคของสารที่อยู่กันอย่างหลวม ๆ อนุภาคก็จะเคลื่อนตัวเองได้ง่ายขึ้น แทนอนุภาคในสถานะ……………

-
การปล่อยมือ เปรียบเหมือนอนุภาคที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ แทนอนุภาคในสถานะ…………….



ใบกิจกรรม

เรื่อง การจำแนกสารตามลักษณะเนื้อสาร

----------------------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาการจัดจำแนกสารโดยใช้ลักษณะเนื้อสารและสถานะของสาร

เป็นเกณฑ์ในการจำแนก


กิจกรรมกลุ่ม


1. ให้นักเรียนสังเกตสารแต่ละชนิด แล้วจำแนกสารเป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์จำแนก

2 เกณฑ์ ได้แก่ สถานะของสาร และลักษณะเนื้อสาร แล้วเขียนเครื่องหมาย / เพื่อแสดงผลที่สังเกตได้ในตารางบันทึกผล


ตัวอย่างตารางบันทึกผล

สาร
เกณฑ์การ
สาร/ลักษณะเนื้อสาร
สถานะ
เป็นเนื้อเดียว
ไม่เป็นเนื้อเดียว
1. เมล็ดข้าวสุก
2. แป้งมัน
3. เกลือแกง
4. น้ำตาลทราย
5. น้ำพริก
6. ถ่าน
7. น้ำเกลือ
8. น้ำหวาน
9. น้ำส้มสายชู
10. ดิน
11. ลอดช่องน้ำกะทิ
12. ส้มตำ


จากกิจกรรมร่วมกันคิดตอบคำถาม

1. สารต่าง ๆ มีสถานะอะไรบ้าง และสารเหล่านั้นมีลักษณะเนื้อสารเป็นอย่างไร

2. สารที่เป็นเนื้อเดียวมีสถานะอะไรบ้าง

3. สารที่ไม่เป็นเนื้อเดียวมีสถานะอะไรบ้าง

4. นักเรียนจะสรุปผลการสังเกตได้ว่าอย่างไร

























ใบงาน

ชื่องาน การจำแนกประเภทของสาร


คำชี้แจง

1. ให้นักเรียนพิจารณาสารที่กำหนดให้

2. ให้นักเรียนจำแนกประเภทสาร เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

3. ให้นักเรียนบอกเกณฑ์ในการจำแนกดังกล่าว


สารที่กำหนดให้


พริกกับเกลือแกง ดิน ส้มตำ
ลูกเหม็น พริกไท
ถุงพลาสติก ลอดช่องน้ำกะทิ
น้ำเกลือ เมล็ดข้าวเปลือก
แอลกอฮอล์ ถ่าน
ลอดช่องน้ำกะทิ
ลอดช่องน้ำกะทิ













คำถาม

1. นักเรียนจำแนกสารออกเป็น............................ประเภท ได้แก่.......................................

2. นักเรียนใช้เกณฑ์ใดในการจำแนก....................................................................






เฉลยใบงาน

ชื่องาน การจำแนกประเภทของสาร


คำชี้แจง

1. ให้นักเรียนพิจารณาสารที่กำหนดให้

2. ให้นักเรียนจำแนกประเภทสาร เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

3. ให้นักเรียนบอกเกณฑ์ในการจำแนกดังกล่าว


สารที่กำหนดให้


พริกกับเกลือแกง ดิน ส้มตำ
ลูกเหม็น พริกไท
ถุงพลาสติก ลอดช่องน้ำกะทิ
น้ำเกลือ เมล็ดข้าวเปลือก
แอลกอฮอล์ ถ่าน
ลอดช่องน้ำกะทิ
ลอดช่องน้ำกะทิ













คำถาม ( ตัวอย่างคำตอบ )

1. นักเรียนจำแนกสารออกเป็น...(.2.).....ประเภท ได้แก่......................................................

1.1 ประเภทสารเนื้อเดียว ได้แก่ ถ่าน แอลกอฮอล์ น้ำเกลือ เมล็ดข้าวเปลือก แป้งข้าวจ้าว ถุงพลาสติก น้ำหวาน ลูกเหม็น

1.2 ประเภทสารเนื้อผสม ได้แก่ ดิน ลอดช่องน้ำกะทิ ผัดไทย ส้มตำ พริกกับเกลือ

2. นักเรียนใช้เกณฑ์ใดในการจำแนก.......( ลักษณะเนื้อของสารที่มองเห็น )........................









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น