วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้ที่3

                               แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่1/2554
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 11 ชั่วโมง
เรื่อง เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เวลา 2 ชั่วโมง
บันทึกแผนการจัดการเรียนรู้โดย นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง ครูอัตราจ้าง
ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เมื่อ วันที่ ..24-28..เดือน ....พฤษภาคม.....พ.ศ. ....2554............... โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภูเขต1


สาระสำคัญ

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)
เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สังเกต สำรวจตรวจสอบ อธิบายและวิเคราะห์เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์


จุดประสงค์ปลายทาง

สรุปเกี่ยวกับเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ได้


จุดประสงค์นำทาง

1. บอกและอธิบายเจตคติทางวิทยาศาสตร์ได้

2. บอกประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ได้


เนื้อหาสาระ

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)
เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
1.1
กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
1.2
การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม
2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
2.1
กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
2.2
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล

2.3
การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า

คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
1.
มีเหตุผล

2.
มีความอยากรู้อยากเห็น

3.
มีใจกว้าง

4.
มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง

5.
มีความเพียรพยายาม

6.
มีความละเอียดรอบคอบ

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
1.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม

2.
วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

3.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง

4.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์

5.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
6.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. แจ้งสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวปฏิบัติในการเรียนเกณฑ์การผ่านและวิธีการซ่อมเสริมเมื่อนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์

2. ครูและนักเรียนสนทนาและอภิปรายถึง เจตคติทางวิทยาศาสตร์

- เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์

แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
2.
เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก

3. ครูและนักเรียนสนทนาและอภิปรายถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

- วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ

4. นักเรียนศึกษาใบความรู้ พร้อมตอบคำถาม

5. นักเรียนร่วมกันสรุปถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์


สื่อ/แหล่งเรียนรู้


1. ใบความรู้เรื่อง เจตคติทางวิทยาศาสตร์

2. ใบความรู้เรื่อง ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

3. อินเตอร์เน็ต

4. Power Point


การวัดผลประเมินผล


วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์การผ่าน
1. สังเกตพฤติกรรม
2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน
3. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
4. ตรวจผลงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรม
แบบบันทึกการตรวจ
ผลการปฏิบัติงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
แบบบันทึกการตรวจผลงานกลุ่ม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60

กิจกรรมเสนอแนะ

ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำเสนอโดยจัดทำ เป็น แผนผังความคิดรวบยอดส่งครู ผู้สอนตรวจสอบให้คะแนน


บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

1 ผลการจัดการเรียนรู้

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี........คน คิดเป็นร้อยละ...........

นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปานกลาง.......คน คิดเป็นร้อยละ.................

นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับปรับปรุง........คน คิดเป็นร้อยละ.............

2 ผลการประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... .....................

3 ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. .........................

4 การปรับปรุงและพัฒนา

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. .........................


ชื่อ ............................................ผู้สอน

(นางสาวศิริรัตน์ จำปาเพ็ง)

ครูอัตราจ้าง








ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ ............................................

(นางทิพวดี อัครฮาด)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์



ความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………….…………………………………………………..……………………………………………………………………………….……………


ลงชื่อ ............................................

(นายสุชาติ อาจศัตรู)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ








ใบความรู้

เรื่อง เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------


เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์
ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ


1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
1.1
กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
1.2
การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม


2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
2.1
กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
2.2
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล

2.3
การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่า


คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
1.
มีเหตุผล

2.
มีความอยากรู้อยากเห็น

3.
มีใจกว้าง

4.
มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง

5.
มีความเพียรพยายาม

6.
มีความละเอียดรอบคอบ




ใบความรู้
เรื่อง ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

-------------------------------------------------------------------------------------------- วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
1.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม

2.
วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

3.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง

4.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์

5.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
6.
วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์

7. วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น